Mind Mapping

scan0004การเผยแผ่ และ การนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปต่างๆ

ในช่วงพุทธศตวรรษต้นๆพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายเข้าไปในยุโรป
เมื่อประชาชนประเทศต่างๆ ในเอเชียที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น
อินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาวเขมรและบางส่วนของประเทศจีนซึ่งตกอยู่
ภายใต้การยึดครองของชาติยุโรปได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ด้วย
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศต่างๆ
พระพุทธศาสนามีแหล่งกำเนิดในชมพูทวีป
หรือประเทศอินเดีย ได้วางรากฐานความเจริญรุ่งเรือง
และแผ่ขยายไปยัง ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย
พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในอินเดียมาเป็นระยะเวลานาน

Scan00022

วัยรุ่นกับการเปลี่ยนแปลง

ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นหญิงหรือชายย่อมมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป้นด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านสติปัญญา

xpfrl1n_New-Sheet

อินเทอร์เน็ต

ในปัจจุบันมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก แต่ละคนก็ใช้ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตไปในหลายด้านต่างๆมากมายในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งด้านการศึกษา เชิงพาณิชย์ ธุรกรรม ความบันเทิง และอื่นๆ วันนี้เราจะมากล่าวถึงประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตในแต่ละด้าน ดังต่อไปนี้

 ด้านการศึกษา

ด้านธุรกิจและเชิงพาณิชย์

ด้านความบันเทิง

สรุปเนื้อหารายวิชาที่เรียน

วิชา คณิตศาตร์เรื่องลิมิตของฟังก์ชัน (ครูปรียนุช  ขันโท)

ลิมิตของลำดับ หมายถึง การพิจารณาลำดับที่ n ของลำดับอนันต์ เมื่อ n มีค่ามากขึ้นโดยไม่มีที่สิ้นสุด

ซึ่งลำดับที่จะนำมาพิจารณาต้องเป็นลำดับอนันต์เท่านั้น เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
5.1

โดยเรียก L ว่า ลิมิตของลำดับ (Limit of sequence)

การพิจารณาลิมิตของลำดับ
1. ถ้า n → ∞ แล้วทำให้ an เข้าใกล้หรือเท่ากับจำนวนจริง L เพียงจำนวนเดียว

จะเรียกลำดับนั้นว่า ลำดับคอนเวอร์เจนต์ (convergent sequence)

และมีลิมิตเท่ากับค่า L หรือเรียกว่า ลำดับนั้นลู่เข้าสู่ค่า L

2. ถ้า n → ∞ แล้ว an ไม่เข้าใกล้หรือไม่เท่ากับจำนวนจริงใดๆ

จะเรียกลำดับนั้นว่า ลำดับไดเวอร์เจนต์ (divergent sequence)

และเป็นลำดับที่ไม่มีลิมิต หรือเรียกว่า ลำดับนั้นลู่ออก
ลำดับคอนเวอร์เจนต์ (Convergent Sequence)

ข้อสังเกตในการพิจารณาการลู่เข้าของลำดับ จะพิจารณาจากกราฟ ดังนี้

1. ลำดับอนันต์ที่มีค่า an = L เช่น

5.2

2. ลำดับอนันต์ที่จุด n → ∞ แล้ว an = L โค้งเข้าสู่เส้นตรงค่าหนึ่ง

2.1 n → ∞ แล้วทำให้ an มีค่าน้อยลง
5.3

2.2 n → ∞ แล้วทำให้ an มีค่ามากขึ้น

5.4

3. ลำดับอนันต์ที่จุด n → ∞ แล้ว an = L มีค่าแกว่งไปมาแต่ลู่เข้าสู่เส้นตรงค่าหนึ่ง

5.5
ลำดับไดเวอร์เจนต์ (Divergent Sequence)

ลำดับไดเวอร์เจนต์ เป็นลำดับที่ไม่มีมิลิต ฉะนั้น ลักษณะของกราฟจะไม่วิ่งเข้าหาเส้นตรง

ที่เป็นจำนวนจริงใดๆ ได้แก่
1. ลำดับอนันต์ที่จุด n → ∞ แล้ว an พุ่งขึ้นหรือพุ่งลงอย่างไม่มีขอบเขต

5.6
2. ลำดับอนันต์ที่จุด n → ∞ แล้ว an มีค่าแกว่งไปมาระหว่างจำนวนจริงมากกว่า 1 ค่า

5.7

ตัวอย่างที่ 1 จงพิจารณาว่า ลำดับ an = (-1)3n เป็นลำดับที่มีลิมิตหรือไม่

วิธีทำ

หาลำดับนี้ออกมาก่อน นั่นคือ -1, -1, -1, -1, …

เขียนกราฟออกมา จะได้กราฟที่มีลักษณะ ดังนี้
5.8
เราจะเห็นว่า เมื่อ n มีค่ามากขึ้น พจน์ที่ n ยังมีค่าเท่าเดิม

ฉะนั้น ลำดับนี้ เป็นลำดับคอนเวอร์เจนต์ที่ลู่เข้าสู่ -1
ตัวอย่างที่ 2 ลำดับ an = 3n-2 เป็นลำดับคอนเวอร์เจนต์หรือไดเวอร์เจนต์

วิธีทำ

ลำดับนี้ คือ 1, 4, 7, 10, 13, 16, 19, 22, …

5.9
จากกราฟเราจะเห็นว่า พจน์ที่ n จะม่ค่าที่พุ่งขึ้นอย่างไม่มีขอบเขต

ฉะนั้น ลำดับนี้เป็นลำดับที่ไม่มีลิมิต หรือ ลำดับไดเวอร์เจนต์
การกระทำของพจน์

ซึ่งการกระทำของพจน์ใดๆ นั้น จะแบ่งออกเป็นการบวก ลบ คูณ และหารกันแบบพจน์ต่อพจน์

ดังนี้

1. การบวก ลบ

การบวกลบลำดับคอนเวอร์เจนต์ 2 ลำดับ จะได้ลำดับใหม่ที่เป็นลำดับคอนเวอร์เจนต์

และมีค่าลิมิตเท่ากับลิมิตของแต่ละลำดับมาบวกลบกัน

การบวกลบ ที่มีลำดับไดเวอร์เจนต์ร่วมด้วย อาจจะได้ลำดับที่เป็นคอนเวอร์เจนต์ หรือ ไดเวอร์เจนต์ก็ได้

2. การคูณ หาร

การคูณ หาร ลำดับคอนเวอร์เจนต์ 2 ลำดับ จะได้ลำดับใหม่ที่เป็นลำดับ คอนเวอร์เจนต์

การคูณ หาร ที่มีลำดับไดเวอร์เจนต์ร่วมด้วย อาจจะได้ลำดับใหม่ที่เป้นคอนเวอร์เจนต์หรือไดเวอร์เจนต์
ตัวอย่างที่ 3 ลำดับที่เกิดจากการบวกและลบ ลำดับต่อไปนี้

เป็นลำดับคอนเวอร์เจนต์หรือไดเวอร์เจนต์

1, 3, 5, 7, 9, … และ 3, 5, 7, 9, 11, …

วิธีทำ

จากการพิจารณาลำดับทั้งสอง จะพบว่า

1, 3, 5, 7, 9, … เป็นลำดับไดเวอร์เจนต์

3, 5, 7, 9, 11, … เป็นลำดับไดเวอร์เจนต์

เมื่อนำมาบวกกัน จะได้ 4, 8, 12, 16, … เป็นลำดับไดเวอร์เจนต์

เมื่อนำมาลบกัน จะได้ -2, -2, -2, -2, … เป็นลำดับคอนเวอร์เจนต์
ตัวอย่างที่ 4 ลำดับที่เกิดจากการคูณลำดับต่อไปนี้

เป็นลำดับคอนเวอร์เจนต์หรือไดเวอร์เจนต์

1. 1, 3, 5, 7, 9, … และ 3, 5, 7, 9, 11, …
2. 1, -1, 1, -1, … และ -2, 2, -2, 2, -2, …
3. 1, 2, 3 ,4, … และ 1, 1, 1, 1, …

วิธีทำ

พิจารณาลำดับแต่ละลำดับก่อน

1. 1, 3, 5, 7, 9, … ลำดับไดเวอร์เจนต์

และ 3, 5, 7, 9, 11, … ลำดับไดเวอร์เจนต์

2. 1, -1, 1, -1, … ลำดับไดเวอร์เจนต์

และ -2, 2, -2, 2, -2, … ลำดับไดเวอร์เจนต์

3. 1, 2, 3 ,4, … ลำดับไดเวอร์เจนต์

และ 1, 1, 1, 1, … ลำดับคอนเวอร์เจนต์

เมื่อนำมาคูณกันพจน์ต่อพจน์ จะได้ลำดับใหม่ ดังนี้

1. 3, 15, 35, 63, 99, … ลำดับไดเวอร์เจนต์

2. -2, -2, -2, -2, -2, … ลำดับคอนเวอร์เจนต์

3. 1, 2, 3 ,4, … ลำดับไดเวอร์เจนต์

ข้อสอบเรื่องลิมิตของฟังก์ชัน

Screen Shot 2558-06-19 at 9.15.46 AM

อธิบายข้อสอบ

Screen Shot 2558-06-19 at 9.17.07 AM

วิชา ภาษาอังกฤษ เรื่อง หลักการใช้Tense ทั้ง 12 Tense (ครูแอน)

Tense

Tense คือรูปแบบ(หรือโครงสร้าง)ของกริยา ที่แสดงให้เราทราบว่า การกระทำหรือเหตุการ นั้นๆเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งเรื่อง tense นี้เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราใช้ tense ไม่ถูก เราก็จะสื่อภาษากับเขา ไม่ได้ เพราะในประโยคภาษาอังกฤษนั้นจะอยู่ในรูปของ tense เสมอ ซึ่งต่างกับภาษาไทยที่เราจะมีข้อความบอกว่าาเกิดขึ้นเมื่อใดมาช่วยเสมอ แต่ภาษาอังกฤษจะใช้รูป tense นี้มาเป็นตัวบอก ดังนี้การศึกษาเรื่อง tense จึงเป็นเรื่องจำ เป็น.

Tense ในภาษาอังกฤษนี้จะแบ่ง ออกเป็น 3 tense ใหญ่ๆคือ

1. Present tense ปัจจุบัน

2. Past tense อดีตกาล

3. Future tense อนาคตกาล

ในแต่ละ tense ยังแยกย่อยได้ tense ละ 4 คือ

1 . Simple tense ธรรมดา(ง่ายๆตรงๆไม่ซับซ้อน).

2. Continuous tense กำลังกระทำอยู่(กำลังเกิดอยู่)

3. Perfect tense สมบูรณ์(ทำเรียบร้อยแล้ว).

4. Perfect continuous tense สมบูรณ์กำลังกระทำ(ทำเรียบร้อยแล้วและกำลัง ดำเนินอยู่ด้วย).

โครงสร้างของ Tense ทั้ง 12 มีดังนี้

Present Tense

[1.1] S + Verb 1 + ……(บอกความจริงที่เกิดขึ้นง่ายๆ ตรงๆไม่ซับซ้อน).

[Present] [1.2] S + is, am, are + Verb 1 ing + …(บอกว่าเดี๋ยวนี้กำลังเกิดอะไร อยู่).

[1.3] S + has, have + Verb 3 + ….(บอกว่าได้ทำมาแล้วจนถึง ปัจจุบัน).

[1.4] S + has, have + been + Verb 1 ing + …(บอกว่าได้ทำมาแล้วและกำลังทำ ต่อไปอีก).

Past Tense

[2.1] S + Verb 2 + …..(บอกเรื่องที่เคยเกิดมาแล้วใน อดีต).

[Past] [2.2] S + was, were + Verb 1 +…(บอกเรื่องที่กำลังทำอยู่ในอดีต).

[2.3] S + had + verb 3 + …(บอกเรื่อที่ทำมาแล้วในอดีตใน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).

[2.4] S + had + been + verb 1 ing + …(บอกเรื่องที่ทำมาแล้วอย่างต่อ เนื่องไม่หยุด).

Future Tense

[3.1] S + will, shall + verb 1 +….(บอก เรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต).

[Feature] [3.2] S + will, shall + be + Verb 1 ing + ….(บอกว่าอนาคตนั้นๆกำลังทำอะไร อยู่).

[3.3] S + will,s hall + have + Verb 3 +…(บอกเรื่องที่จะเกิดหรือสำเร็จ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).

[3.4] S + will,shall + have + been + verb 1 ing +.. ..(บอกเรื่องที่จะทำอย่างต่อเนื่องในเวลาใด – เวลาหนึ่งในอนาคตและ จะทำต่อไปเรื่อยข้างหน้า).

หลักการใช้แต่ละ tense มีดังนี้

[1.1] Present simple tense เช่น He walks. เขาเดิน,

1. ใช้กับ เหตุการที่เกิดขึ้นตามความจริงของธรรมชาติ และคำสุภาษิตคำ พังเพย.

2. ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในขณะที่พูด (ก่อนหรือหลังจะไม่จริงก็ตาม).

3. ใช้กับกริยาที่ทำนานไม่ได้ เช่น รัก, เข้าใจ, รู้ เป็นต้น.

4. ใช้กับการกระทำที่คิดว่าจะเกหิดขึ้นในอนาคตอันใกล้(จะมีคำวิเศษณ์บอกอนาคตร่วมด้วย).

5. ใช้ในการเล่าสรุปเรื่องต่างๆในอดีต เช่นนิยาย นิทาน.

6. ใช้ในประโยคเงื่อนไขในอนาคต ที่ต้นประโยคจะขึ้นต้น ด้วยคำว่า If (ถ้า), unless (เว้นเสียแต่ว่า), as soon as (เมื่อ,ขณะที่), till (จนกระทั่ง) , whenever (เมื่อไรก็ ตาม), while (ขณะที่) เป็นต้น.

7. ใช้กับเรื่องที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ และมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่สม่ำเสมอร่วมอยู่ด้วย เช่น always (เสมอๆ), often (บ่อยๆ), every day (ทุกๆวัน) เป็นต้น.

8. ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น [1.1] ประโยคตามต้องใช้ [1.1] ด้วยเสมอ.

[1.2] Present continuous tense เช่น He is walking. เขากำลังเดิน.

1. ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด(ใช้ now ร่วมด้วยก็ได้ โดยใส่ไว้ต้น ประโยค, หลังกริยา หรือสุดประโยคก็ ได้).

2. ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในระยะเวลาอันยาวนาน เช่น ในวันนี้ ,ในปีนี้ .

3. ใช้กับเหตุการณ์ที่ผู้พูดมั่นใจว่าจะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น เร็วๆนี้, พรุ่งนี้.

*หมายเหตุ กริยาที่ทำนานไม่ได้ เช่น รัก ,เข้าใจ, รู้, ชอบ จะนำมาแต่งใน Tense นี้ไม่ได้.

[1.3] Present perfect tense เช่น He has walk เขาได้เดินแล้ว.

1. ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน และจะมีคำว่า Since (ตั้งแต่) และ for (เป็นเวลา) มาใช้ร่วมด้วยเสมอ.

2. ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยทำมาแล้วในอดีต (จะกี่ครั้งก็ได้ หรือจะทำอีกใน ปัจจุบัน หรือจะทำในอนาคต ก็ได้)และจะมีคำ ว่า ever (เคย) , never (ไม่เคย) มาใช้ร่วมด้วย.

3. ใช้กับเหตุการณ์ที่จบลงแล้วแต่ผู้พูดยังประทับใจอยู่ (ถ้าไม่ประทับใจก็ใช้ Tense

4. ใช้กับ เหตุการที่เพิ่งจบไปแล้วไม่นาน(ไม่ได้ประทับใจอยู่) ซึ่งจะมีคำเหล่านี้มาใช้ร่วมด้วยเสมอ คือ Just (เพิ่งจะ), already (เรียบร้อยแล้ว), yet (ยัง), finally (ในที่สุด) เป็นต้น.

[1.4] Present perfect continuous tense เช่น He has been walking . เขาได้กำลังเดินแล้ว.

* มีหลักการใช้เหมือน [1.3] ทุกประการ เพียงแต่ว่าเน้นว่าจะทำต่อไปในอนาคตด้วย ซึ่ง [1.3] นั้นไม่เน้นว่าได้กระทำอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ส่วน [1.4] นี้เน้นว่ากระทำมาอย่างต่อเนื่องและจะกระทำต่อไปในอนาคตอีกด้วย.

[2.1] Past simple tense เช่น He walked. เขาเดิน แล้ว.

1. ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงแล้วในอดีต มิได้ต่อเนื่องมาถึงขณะ ที่พูด และมักมีคำต่อไปนี้มาร่วมด้วยเสมอในประโยค เช่น Yesterday, year เป็นต้น.

2. ใช้กับเหตุการณ์ที่ทำเป็นประจำในอดีตที่ผ่านมาในครั้งนั้นๆ ซึ่งต้องมีคำวิเศษณ์บอกความถี่ (เช่น Always, every day ) กับคำวิเศษณ์ บอกเวลา (เช่น yesterday, last month ) 2 อย่างมาร่วมอยู่ด้วยเสมอ.

3. ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต แต่ปัจจุบันไม่ได้เกิด อยู่ หรือไม่ได้เป็นดั่งในอดีตนั้นแล้ว ซึ่งจะมีคำว่า ago นี้ร่วมอยู่ด้วย.

4. ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น [2.1] ประโยคคล้อยตามก็ต้อง เป็น [2.1] ด้วย.

[2.2] Past continuous tense เช่น He was walking . เขากำลังเดินแล้ว

1. ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน { 2.2 นี้ไม่นิยมใช้ตามลำพัง – ถ้าเกิดก่อนใช้ 2.2 – ถ้าเกิดทีหลังใช้ 2.1}.

2. ใช้กับเหตุการณ์ที่ ไดกระทำติดต่อกันตลอดเวลาที่ได้ระบุไว้ในประโยค ซึ่งจะมีคำบอกเวลาร่วมอยู่ด้วยในประโยค เช่น all day yesterday etc.

3. ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่กำลังทำในเวลาเดียวกัน(ใช้เฉพาะกริยาที่ทำได้นานเท่านั้น หากเป็นกริยาที่ทำนานไม่ได้ก็ใช้หลักข้อ 1 ) ถ้าแต่งด้วย 2.1 กับ 2.2 จะดูจืดชืดเช่น He was cleaning the house while I was cooking breakfast.

[2.3] Past perfect tense เช่น He had walk. เขาได้เดินแล้ว.

1. ใช้กับ เหตุการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต มีหลักการใช้ดังนี้.

เกิดก่อนใช้ 2.3 เกิดทีหลังใช้ 2.1.

2. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำอันเดียวก็ได้ในอดีต แต่ต้องระบุชั่วโมงและวันให้แน่ชัดไว้ในทุกประโยคด้วยทุกครั้ง เช่น She had breakfast at eight o’ clock yesterday.

[2.4] past perfect continuous tense เช่น He had been walking.

มีหลักการใช้เหมือนกับ 2.3 ทุกกรณี เพียงแต่ tense นี้ ต้องการย้ำถึงความต่อเนื่องของการกระทำที่ 1 ว่าได้กระทำต่อเนื่องไปจนถึงการกระทำที่ 2 โดยมิได้หยุด เช่น When we arrive at the meeting , the lecturer had been speaking for an hour . เมื่อพวกเราไปถึงที่ ประชุม ผู้บรรยายได้พูดมาแล้ว เป็นเวลา 1 ชั่วโมง.

[3.1] Future simple tense เช่น He will walk. เขาจะเดิน.

ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะมีคำว่า tomorrow, to night, next week, next month เป็นต้น มาร่วมอยู่ด้วย.

* Shall ใช้กับ I we.

Will ใช้กับบุรุษที่ 2 และนามทั่วๆไป.

Will, shall จะใช้สลับกันในกรณีที่จะให้คำมั่นสัญญา, ข่มขู่บังคับ, ตกลงใจแน่วแน่.

Will, shall ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือจงใจก็ได้.

Be going to (จะ) ใช้กับความจงใจของมนุษย์ เท่านั้น ห้ามใช้กับเหตุการณ์ของธรรมชาติและนิยมใช้ใน ประโยคเงื่อนไข.

[3.2] Future continuous tense เช่น He will be walking. เขากำลังจะ เดิน.

1. ใช้ในการบอกกล่าวว่าในอนาคตนั้นกำลังทำอะไรอยู่ (ต้องกำหนดเวลาแน่นอน ด้วยเสมอ).

2. ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต มีกลักการใช้ดังนี้.

– เกิดก่อนใช้ 3.2 S + will be, shall be + Verb 1 ing.

– เกิดทีหลังใช้ 1.1 S + Verb 1 .

[3.3] Future prefect tens เช่น He will walked. เขาจะได้เดินแล้ว.

1. ใช้กับเหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นหรือสำเร็จลงในเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต โดยจะมีคำว่า by นำหน้ากลุ่มคำที่บอกเวลา ด้วย เช่น by tomorrow , by next week เป็น ต้น.

2. ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต มีหลักดังนี้.

– เกิดก่อนใช้ 3.3 S + will, shall + have + Verb 3.

– เกิด ที่หลังใช้ 1.1 S + Verb 1 .

[3.4] Future prefect continuous tense เช่น He will have been walking. เขาจะได้กำลัง เดินแล้ว.

ใช้เหมือน 3.3 ต่างกันเพียงแต่ว่า 3.4 นี้เน้นถึงการกระทำที่ 1 ได้ทำต่อเนื่องมาจนถึงการกระทำที่ 2 และจะกระทำต่อไปในอนาคต อีกด้วย.

* Tense นี้ไม่ค่อยนิยมใช้บ่อย นัก โดยเฉพาะกริยาที่ทำนาน ไม่ได้ อย่านำมาแต่งใน Tense นี้เด็ดขาด.

ข้อสอบเรื่องTense

Screen Shot 2558-06-19 at 9.25.00 AM

Screen Shot 2558-06-19 at 9.26.03 AM

 วิชา ฟิสิกส์ เรื่องของไหล (ครูบุ๋ม)

ความหนาแน่น

ความหนาแน่นของวัตถุ(ใช้สัญลักษณ์โรห์อ่านว่า โรห์ rho) ที่มีสสารองค์ประกอบแบบสม่ำเสมอ คือ อัตราส่วนระหว่างค่ามวลต่อหน่วยปริมาตร
สูตรความสัมพันธ์
เมื่อ m คือมวลของสาร (กิโลกรัม), V คือปริมาตรของสาร (ลูกบาศก์เมตร)

ความหนาแน่นสัมพัทธ์(ความถ่วงจำเพาะ) คือ อัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของสารนั้นกับความหนาแน่นของน้ำที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ซึ่งมีค่าเป็น 1000
ความดันในของเหลว

ความดันของของไหล คือ อัตราส่วนของแรงที่กระทำต่อวัตถุต่อหน่วยพื้นที่ที่สัมผัสกับของไหล

สูตรความสัมพันธ์
เมื่อ P คือ ความดัน มีหน่วยเป็น หรือพาสคัล (pascal:Pa)
F คือ แรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุ (นิวตัน)
A คือ พื้นที่(ตารางเมตร) และเป็นพื้นที่ราบ (Flat area)

–> ความดันในของเหลวจะแปรผันตรงกับความลึกและความหนาแน่นของของเหลว
หากพิจารณาของเหลวที่มีความหนาแน่นโรห์อยู่นิ่งในภาชนะเปิดสู่บรรยากาศ

W เป็นน้ำหนักของของเหลวบนพื้นที่ A (หน้าตัดของทรงกระบอก) ดังนั้น
ให้ความดันบรรยากาศ คือ เนื่องจากของเหลวอยู่ในสมดุล หรือ

ดังนั้นที่ก้นแก้ว
จะได้
สูตรความดันสัมบูรณ์
คือ ผลรวมของความดันบรรยากาศกับความดันเกจ เรียกว่า ความดันสัมบูรณ์ (Absolute pressure)
คือ ความดันที่ผิวของเหลวเท่ากับความดันบรรยากาศ
เป็นความดันเนื่องจากน้ำหนักของของเหลวที่ระดับความลึก h เรียกว่า ความดันเกจ


จากสูตร สรุปได้ว่า ความดันในของเหลวชนิดเดียวกันที่ระดับความลึกเดียวกันมีค่าเท่ากัน โดยรูปทรงของภาชนะไม่มีผลต่อความดัน

–> แรงดันน้ำเหนือเขื่อน
จากรูป แรงดันของน้ำเหนือเขื่อน คำนวณได้จาก
F คือ แรงดันเฉลี่ยของน้ำที่กระทำกับเขื่อน
โรห์คือ ความหนาแน่นของน้ำ
l คือ ความยาวของตัวเขื่อน
h คือ ความสูงของระดับน้ำ

–>หลอดแก้วรูปตัวยู

ของเหลวสองชนิดมีความหนาแน่น และ ไม่ผสมกันและไม่ทำปฏิกิริยากัน ใส่เข้าไปในหลอดแก้วรูปตัวยู ดังรูป

ขาทั้งสองข้างจะเท่ากันหรือไม่ก็ตาม แต่ปลายทั้งสองต้องเปิดสู่อากาศเดียวกัน จะได้
–> เครื่องมือวัดความดันของของไหล

แมนอมิเตอร์

แมนอมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดความดันของของไหลที่มีลักษณะดังรูป ส่วนสำคัญคือ หลอดรูปตัวยูมีของเหลวซึ่งมีความหนาแน่น โรห์ บรรจุอยู่ คำนวณความดันได้จาก
P คือ ความดันแก๊สในถัง
คือ ความดันบรรยากาศ
คือ ความดันเกจของของเหลวสูง d

บารอมิเตอร์

บารอมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดความดันประเภทหนึ่งที่ใช้หลอดยาวปลายข้างหนึ่งปิด และปลายข้างที่เปิดคว่ำลงในอ่างปรอท
ความดัน 1 บรรยากาศ เป็นความดันเนื่องจากน้ำหนักของลำปรอทที่สูง 760 มิลลิเมตร

คำนวณความดันบรรยากาศได้จาก
กฎของพาสคัลและเครื่องอัดไฮดรอลิก

พาสคัล ได้ค้นพบว่า การเปลี่ยนแปลงความดันที่กระทำต่อของไหลในภาชนะปิดจะมีการส่งผ่านแรงทั้งหมดไปยังทุกจุดของของไหลและผนังของภาชนะ
ด้วยหลักการนี้ทำให้เกิดการประยุกต์ใช้เครื่องผ่อนแรงที่เรียกว่า “เครื่องอัดไฮดรอลิก” ซึ่งประกอบด้วยกระบอกสูบและลูกสูบสองชุดที่มีขนาดต่างกัน ดังรูป

กฏของพาสคัล
จากสูตรเมื่อ A2 > A1 จะทำให้ F2 > F1 เครื่องมือที่ทำงานโดยอาศัยหลักการเดียวกันนี้ ได้แก่ แม่แรงรถยนต์ รถแทรกเตอร์ เก้าอี้ทำฟัน และระบบเบรครถยนต์ เป็นต้น

เครื่องมือเหล่านี้จะมีการได้เปรียบเชิงกลดังสมการ
การได้เปรียบเชิงกล
แรงลอยตัวและหลักของอาร์คิมีดิส

หลักเกี่ยวกับแรงลอยตัวของวัตถุซึ่งอยู่ในของเหลวกล่าวว่า “แรงลอยตัวจะมีค่าเท่ากับน้ำหนักของของเหลวซึ่งมีปริมาตรเท่าวัตถุส่วนที่จม” มีค่าดังสมการ

B คือ แรงลอยตัว( buoyant force )
โรห์ คือ ความหนาแน่นของของเหลว
V คือ ปริมาตรของวัตถุส่วนที่จม

ความตึงผิว

แรงระหว่างโมเลกุลของของเหลวที่ดึงกันไว้ทำให้ผิวของเหลวราบเรียบและตึงเรียกว่า “แรงดึงผิว” แรงดึงผิวนี้จะมีทิศขนานกับผิวของเหลวและตั้งฉากกับขอบที่ของเหลวสัมผัส ดังรูป
ความตึงผิว (surface tension:อ่านว่า แกมมา) เป็นสมบัติเฉพาะตัวของของเหลว คำนวณได้จาก

เมื่อ F คือขนาดของแรงดึงผิว (นิวตัน) , L คือความยาวของผิวสัมผัส(เมตร)
เมื่อพิจารณาแรง F ที่ดึงให้เกิดระยะเคลื่อนที่ทำให้ผิวของเหลวมีพื้นที่มากขึ้น งานที่ใช้ในการเพิ่มพื้นที่ผิวหาได้ดังนี้

นั่นคือ
เมื่อ เป็นพื้นที่ผิวที่เพิ่มขึ้น
ความตึงผิวของของเหลวแต่ละชนิดที่อุณหภูมิเดียวกันมีค่าไม่เท่ากัน สำหรับของเหลวชนิดหนึ่งความตึงผิวจะเปลี่ยนไปเมื่อของเหลวมีสารเจือ เช่น น้ำเกลือหรือน้ำสบู่จะมีความตึงผิวน้อยกว่าน้ำ และความตึงผิวจะลดลงเมื่ออุณหภูมิของของเหลวเพิ่มขึ้น

–>ความโค้งของผิวของเหลว ของเหลวในภาชนะจะมีผิวลักษณะโค้งนูนหรือโค้งเว้า ขึ้นกับแรงระหว่างแรงเชื่อมแน่น(cohesive force)ที่เกิดขึ้นระหว่างโมลุกุลชนิดเดียวกัน กับแรงยึดติด(adhesive)ที่เกิดขึ้นระหว่างโมเลกุลต่างชนิดกัน ดังรูป
ความหนืด

ของไหลที่มีความหนืดมากจะมีแรงต้านการเคลื่อนที่อันเนื่องมาจากความหนืดของของไหล เรียกว่า “แรงหนืด”
แรงหนืดที่กระทำต่อวัตถุขึ้นอยู่กับขนาดความเร็วของวัตถุและแรงนี้มีทิศตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ

จอร์จ กาเบรียล สโตกส์์ ได้ทดลองหาแรงหนืดและพบว่า แรงหนืดแปรผันตรงกับความเร็วของวัตถุทรงกลมตัน ตามสมการ
F คือ แรงหนืดของของไหล (นิวตัน)
r คือ รัศมีของวัตถุทรงกลม (เมตร)
v คือ ความเร็วของวัตถุทรงกลม
(อ่านว่า ETA) คือ ความหนืดของของไหล (นิวตันวินาที/ตารางเมตร หรือ พาสคัลวินาที)
พลศาสตร์ของของไหล

–> ของไหลในอุดมคติ มีสมบัติดังนี้
มีการไหลอย่างสม่ำเสมอ หมายถึงความเร็วของทุกอนุภาค ณ ตำแหน่งต่างๆของของไหลมีค่าคงตัว
มีการไหลโดยไม่หมุน คืออนุภาคจะไม่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุม
มีการไหลโดยไม่มีแรงต้านเนื่องจากความหนืด หมายถึงไม่มีแรงต้านใดๆในเนื้อของของไหล
ไม่สามารถอัดได้ หมายความว่าของไหลมีปริมมาตรคงตัวมีความหนาแน่นเท่าเดิมตลอด
–> สมการความต่อเนื่อง
ให้ คือ พื้นที่หน้าตัดของท่อที่ของไหลไหลเข้า
คือ พื้นที่หน้าตัดของท่อที่ของไหลไหลออก
จากรูป เมื่อของไหลอุดมคติไหลอย่างสม่ำเสมอผ่านหลอดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เท่ากัน
ปริมาตรที่ไหลผ่านพื้นที่ตัดขวาง ในเวลาจะเท่ากับปริมาตรของของไหลที่ผ่านพื้นที่หน้าตัด ในเวลา ที่เท่ากัน

มวลของไหลที่ผ่านพื้นที่ คือ
มวลของไหลที่ผ่านพื้นที่ คือ

มวลที่ไหลผ่านแต่ละส่วนมีค่าเท่ากัน จะได้

จะพบว่า Av = ค่าคงตัว

เราเรียกสมการนี้ว่า สมการความต่อเนื่อง ซึ่งสรุปได้ว่าผลคูณระหว่างพื้นที่หน้าตัดกับอัตราเร็วของของไหลอุดมคติ ไม่ว่าจะอยู่ที่ตำแหน่งใดในหลอดจะมีค่าคงตัวเสมอ

–>สมการของแบร์นูลลี
พิจารณาที่ท่อส่วนล่าง
งานที่กระทำโดยแรง
พลังงานศักย์
พลังงานจลน์ คือ

พิจารณาที่ท่อส่วนบน
งานที่กระทำโดยแรง (ทิศตรงข้าม)
พลังงานศักย์
พลังงานจลน์ คือ

งานจากแรงดัน = การเปลี่ยนพลังงานกล

จาก แทนค่าได้

นั่นคือ = ค่าคงตัว

สมการนี้เรียกว่า สมการของแบร์นูลลี ซึ่งกล่าวว่า
ผลรวมของความดันพลังงานจลน์ต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร และพลังงานศักย์โน้มถ่วงต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ณ ตำแหน่งใดๆภายในท่อที่ของไหลผ่าน มีค่าคงตัวด้วยหลักการนี้จึงเกิดการประยุกต์ใช้ในการทำงานของเครื่องพ่นสี และการออกแบบปีกเครื่องบิน เป็นต้น

ข้อสอบฟิสิกส์เรื่องของไหล

Screen Shot 2558-06-19 at 9.27.45 AM

อธิบายข้อสอบ

Screen Shot 2558-06-19 at 9.29.58 AM

วิชา ชีววิทยา เรื่องพันธุศาสตร์ (ครูโฟม)

พันธุศาสตร์
พันธุศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของยีน (Gene) ซึ่งเป็นหน่วยควบคุมการถ่ายทอดลักษณะ
ต่างๆ จากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน และความแปรผันของลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
พันธุกรรม
พันธุกรรม คือ ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ โดยมี
ก ระบวนการสืบพันธุ์เป็นสื่อกลาง
ความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
1. เซลล์สืบพันธุ์ (Gamete) หมายถึง อสุจิ (Sperm) เซลล์ไข่ (Egg Cell) และรวมถึงโครงสร้างอื่นๆ ที่ทำ
หน้าที่เช่นเดียวกันซึ่งจะพบในพืช
2. ยีน (Gene) หมายถึง หน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอยู่เป็นคู่และจะ
ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก โดยในทางพันธุศาสตร์ได้มีการกำหนดสัญลักษณ์แทนยีนไว้หลายแบบ แต่ที่นิยมใช้คือ
การใช้อักษรภาษาอังกฤษเป็นสัญลักษณ์แทนยีน เช่น อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่แทน ยีนเด่น และตัวพิมพ์
เล็กแทน ยีนด้อย
3. แอลลีล (Allele) หมายถึง ยีนต่างชนิดกันที่เข้าคู่กันได้โดยจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันของโครโมโซมที่เป็น
คู่เหมือน (Homologous Chromosome) ซึ่งเป็นยีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ลักษณะต้นสูงของต้นถั่ว
ถูกควบคุมโดยยีน 2 แอลลีล คือ ยีนที่ควบคุมลักษณะเด่น (T) และยีนที่ควบคุมลักษณะด้อย (t) ดังนั้น ยีน T
จึงเป็นแอลลีลกับยีน t
4. โฮโมไซกัสยีน (Homozygous Gene) หมายถึง คู่ของยีนที่เหมือนกันอยู่ด้วยกันเพื่อควบคุมลักษณะ
ของสิ่งมีชีวิต เช่น TT, tt, IAIA เป็นต้น โฮโมไซกัสยีน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พันธุ์แท้
โฮโมไซกัสยีน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
4.1 Homozygous Dominance หมายถึง คู่ของยีนเด่นที่เหมือนกันอยู่ด้วยกัน หรือเรียกว่าเป็น
พันธุ์แท้ของลักษณะเด่น
4.2 Homozygous Recessive หมายถึง คู่ของยีนด้อยที่เหมือนกันอยู่ด้วยกัน หรือเรียกว่าเป็น
พันธุ์แท้ของลักษณะด้อย
5. เฮเทอโรไซกัสยีน (Heterozygous Gene) หมายถึง คู่ของยีนที่ต่างกันอยู่ด้วยกันเพื่อควบคุมลักษณะ
ของสิ่งมีชีวิต เช่น Tt, Rr, IAi IAIB เป็นต้น เฮเทอโรไซกัสยีน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พันธุ์ทาง
6. ลักษณะเด่น (Dominance หรือ Dominant Trait) หมายถึง ลักษณะที่มีโอกาสปรากฏออกมาใน
รุ่นลูกและรุ่นต่อๆ ไปได้เสมอ ตัวอย่างเช่น ถ้านำสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะตรงข้ามกัน และเป็นพันธุ์แท้ทั้ง 2 ฝ่าย
มาผสมพันธุ์กัน เป็นต้นว่า นำถั่วต้นสูงพันธุ์แท้ผสมพันธุ์กับถั่วต้นเตี้ยพันธุ์แท้ ลูกที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะต้นสูงทั้งหมด
(แต่เป็นพันธุ์ทาง) และถ้านำรุ่นลูกมาผสมพันธุ์กันเอง รุ่นหลานที่เกิดขึ้นก็ยังมีต้นสูงปรากฏอยู่อีก กรณีดังกล่าวจะถือว่า ถั่วต้นสูงเป็นลักษณะเด่น
7. ลักษณะด้อย (Recessive Trait) หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏออกมาเฉพาะบางรุ่น และมีโอกาสปรากฏ
ออกมาได้น้อยกว่า (ลักษณะเด่น)
8. ฟีโนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏออกมาให้เห็นได้ด้วยตา เช่น สีของดอกถั่ว สีผิวของคน จำนวนชั้นของหนังตา ลักษณะของเส้นผม หมู่เลือด เป็นต้น
9. จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง รูปแบบของยีนที่ควบคุมฟีโนไทป์ต่างๆ เช่น จีโนไทป์ที่ควบคุมความยาวของลำต้นถั่วมีได้ 3 แบบ ได้แก่ TT, Tt และ tt__
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนออโตโซม (Autosome)
และโครโมโซมเพศ (Sex Chromosome)
ตัวอย่าง ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนออโตโซม
1. อาการผิวเผือก (Albino)
2. โรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia)
3. โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ (Sickle Cell Anemia)
ตัวอย่าง ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X
1. โรคฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)
2. โรคตาบอดสี (Color Blindness)
3. โรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบ
4. โรค G-6-PD
พงศาวลี หรือพันธุประวัติ (Pedigree)
พงศาวลี คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ต้องการศึกษาของครอบครัวหรือตระกูลหนึ่งๆ ตัวอย่างเช่น

มิวเทชัน (Mutation)
มิวเทชัน คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับยีน หรือโครโมโซม ซึ่งจะก่อให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีหรือไม่ดีก็ได้
มิวเทชันที่เกิดขึ้นกับยีน (Gene mutation หรือ DNA mutation) คือ การเปลี่ยนแปลงลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนใน DNA อย่างถาวร ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชนิด และลำดับของกรดอะมิโนในสายโปรตีนที่จะถูกสร้างขึ้นจากการทำงานของยีน
พันธุวิศวกรรม (Genetic Enginerring)
พันธุวิศวกรรม เป็นเทคนิคการสร้าง DNA สายผสม หรือรีคอมบิแนนท์ ดีเอ็นเอ (Recombinant DNA) เพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะตามความต้องการ ซึ่งเทคนิควิธีดังกล่าวจะต้องอาศัยเอนไซม์สำคัญ 2 ชนิด คือ เอนไซม์ตัดจำเพาะ (Restriction Enzyme) และเอนไซม์ DNA ไลเกส (DNA ligase enzyme)
จีเอ็มโอ (GMOs)
จีเอ็มโอ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ผ่านกระบวนการตัดต่อยีนแล้ว หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มี ดีเอ็นเอ สายผสม (DNA recombinant) อยู่ภายในเซลล์ ซึ่ง DNA หรือยีนที่ถูกใส่เข้าไปใน DNA ของสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน
(Host) นั้นจะทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ มีลักษณะตามที่มนุษย์ต้องการ
การโคลน (Cloning)
การโคลน หมายถึง การสร้างสิ่งมีชีวิต (ตัวหรือต้น) ใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนสิ่งมีชีวิตต้นแบบทุกประการ
วิธีการโคลน คือ การนำนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย (Somatic Cell) ใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ที่ถูกดูดเอานิวเคลียสออกแล้ว จากนั้นกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเพื่อให้แต่ละส่วนหลอมรวมกันแล้วนำไปเพาะเลี้ยงให้พัฒนาเป็นเอ็มบริโอ
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint)
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ คือ รูปแบบของแถบดีเอ็นเอ ซึ่งแสดงความแตกต่างของขนาดโมเลกุลดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวหรือแต่ละบุคคลได้ ดังนั้นลายพิมพ์ดีเอ็นเอจึงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล

ลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายกัน รุ่นลูกหลานจะมีลักษณะคล้ายพ่อแม่ ปู่ย่า หรือตายาย แสดงว่าลักษณะเหล่านั้นมีการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปได้ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปได้เป็น ลักษณะทางพันธุกรรม
พันธุกรรม (Gene) หมายถึง หน่วยที่มีคุณสมบัติควบคุมลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
พันธุศาสตร์ (Genetic ) หมายถึง วิชาวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง
ความแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสปีชีส์ สิ่งมีชีวิต สปีชีส์เดียวกันย่อมมีความแตกต่างกันน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน ความแตกต่างเหล่านี้เป็นผลจากพันธุกรรมที่ต่างกัน
ความแตกต่างเนื่องจากพันธุกรรมที่ต่างกันเรียกว่า ความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variation)
ลักษณะความแปรผันทางพันธุกรรม
ลักษณะความแปรผันทางพันธุกรรมแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่แปรผันแบบต่อเนื่อง (continuous variation) เป็นลักษณะที่ไม่สามารถแยกเป็นกลุ่มได้ชัดเจน ถูกควบคุมโดยยีนหลายคู่ เช่น ความสูง สีผิวของคน น้ำหนักของคน ฯลฯ
2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่แปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation) เป็นลักษณะที่สามรถแยกเป็นกลุ่มได้ชัดเจน เช่น มีติ่งหู/ไม่มีติ่งหู หนังตาชั้นเดียว/หนังตาสองชั้น หมู่เลือดของคน ห่อลิ้นได้/ห่อลิ้นไม่ได้ ฯลฯ

ลักษณะทางพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม
ความแตกต่างของลักษณะของสิ่งมีชีวิต มิใช่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมที่แตกต่างกันเท่านั้น ส่วนหนึ่งยังขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ความสูงจะได้รับอิทธิพลจากอาหารที่กินด้วย ฯลฯ
ลักษณะสิ่งมีชีวิต = พันธุกรรม + สิ่งแวดล้อม

บทที่ 16 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

16.1 การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล
บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ คือ เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel)
– เกิดปี พ.ศ. 2365 เมืองไฮเซนดอร์ฟ ประเทศออสเตรีย
– เป็นนักบวชในโบสถ์แห่งหนึ่ง
– ทดลองผสมพันธุ์ถั่วลันเตา จนค้นพบกฎของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ธรรมชาติของถั่วลันเตา (Pisum sativum)
1. อายุสั้น ปลูกง่าย ผลดก
2. มีหลายพันธุ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างเด่นชัด และสามารถหาพันธ์แท้ได้ง่าย (พันธุ์ที่เหมือนพ่อแม่)
3. ดอกมีลักษณะพิเศษ ที่สามารถบังคับให้ละอองเรณูผสมกับไข่ในดอกเดียวกันเท่านั้น ผสมข้ามดอกยาก
ลักษณะที่นำมาศึกษา
1. รูปร่างเมล็ด กลม/ขรุขระ
2. สีเมล็ด เหลือง/เขียว
3. สีของดอก สีม่วง/สีขาว
4. รูปร่างฝัก อวบ/แฟบ
5. สีของฝัก เขียว/เหลือง
6. ตำแหน่งของดอก ที่กิ่ง/ปลายยอด
7. ความสูง สูง/เตี้ย
การทดลองของเมนเดล
ทดลองผสมพันธ์โดยศึกษาลักษณะใดลักษณะหนึ่งเพียงอย่างเดียว เรียกว่า ผสมโดยพิจารณาหนึ่งลักษณะ (monohybrid cross)
• นำลักษณะที่แตกต่างกันมาผสมกัน แล้วเก็บเมล็ดไว้
• นำเมล็ดมาปลูกเป็นรุ่นที่ 1 สังเกตลักษณะของลูกที่เกิดขึ้น
• นับจำนวน บันทึกผล
• ปล่อยให้ผสมกันเอง เก็บเมล็ด
• นำเมล็ดมาปลูก เป็นรุ่นที่ 2 บันทึกผล
• สรุปผลเป็นกฏเมนเดล 2 ข้อ

ความหมายของคำศัพท์
ยีน (gene) คือ สิ่งที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม
ยีน คือส่วนหนึ่ง DNA DNA คือ สารพันธุ์กรรม
ยีนเด่น (dominant gene) คือ ยีนที่แสดงอาการข่ม ต่อ ยีนด้อย (recessive gene)
จีโนไทป์ (genotype) คือ แบบของยีน เช่น TT Tt tt
ฟีโนไทป์ (phenotype) คือ ลักษณะที่แสดงออกมาของยีน เช่น สูง เตี้ย
ฮอมอไซกัส (homozygous) คือ การที่สิ่งมีชีวิตมียีน 2 ยีนเหมือนกัน เช่น TT tt
เฮเทอโรไซกัส (heterozygous) คือ การที่สิ่งมีชีวิตมียีน 2 ยีนต่างกัน เช่น Tt
ยีนที่เป็นอัลลีลกัน ( alletic gene ) คือ ยีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกัน และเข้าคู่กันได้ เช่น T กับ t เป็นยีนควบคุมเกี่ยวกับความสูง
เทสต์ครอส (test cross) คือ การทดสอบว่าสิ่งมีชีวิตเป็นลักษณะเด่นพันธุ์แท้หรือพันธุ์ทาง โดยนำไปผสมกับลักษณะด้อยถ้าลูกผสมเป็นลักษณะเด่นทั้งหมดแสดงว่าเป็นพันธ์แท้ ถ้าลูกผสมมีลักษณะทั้งเด่นและด้อยแสดงว่าเป็นพันธุ์ทาง
แบคครอส ( back cross ) คือ นำลูกที่สงสัยว่าเป็นลักษณะเด่นพันธุ์แท้หรือพันทาง ไปผสมกับพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ที่มีลักษณะด้อย

16.5 ลักษณะทางพันธุกรรมที่นอกเหนือกฎของเมนเดล

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ให้ลูกเปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะของเมนเดล ซึ่งมีหลายสาเหตุ ดังนี้
ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (complete dominant) (เป็นตามกฎของเมนเดล)
ยีนเด่นสามารถข่มยีนด้อยได้อย่างสมบูรณ์ คือ ลักษณะจีโนไทป์ที่เป็น homozygous dominance

กับ heterozygous ให้ฟีโนไทป์เหมือนกัน
เช่น ลักษณะเมล็ดถั่วลันเตาควบคุมโดยยีน 1 คู่ คือ
S = เมล็ดเรียบ s = เมล็ดขรุขระ
ยีน S ข่ม s ได้อย่างสมบูรณ์
ดังนั้น SS และ Ss มีลักษณะเมล็ดเรียบเหมือนกัน
16.5.1 ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ (incomplete dominant)

ยีนเด่นข่มยีนด้อยไม่สมบูรณ์ ทำให้จีโนไทป์ heterozygous แตกต่างไปจาก homozygous dominanceเช่น ลักษณะสีดอกบานเย็น สีดอกลิ้นมังกร

16.5.2 การข่มร่วมกัน (codominant)
เป็นภาวะที่อัลลีลไม่แสดงการข่มกัน คือ แสดงฟีโนไทป์ออกร่วมกันใน heterozygous
เช่น หมู่เลือด MN
LM = หมู่เลือด M LN = หมู่เลือด N
LMLM หมู่เลือด M
LNLN หมู่เลือด N
LMLN หมู่เลือด MN

16.5.3 มัลติเปิลแอลลีล (Multiple allele)
ระบบเลือด ABO ประกอบด้วย 3 อัลลีล คือ

• IA สร้างแอนติเจน A บนผิวเซลล์และแอนติบอดี B ใน

เซรุ่มเป็นแอลลีลที่แสดงลักษณะเด่น

• IB สร้างแอนติเจน B บนผิวเซลล์และแอนติบอดี A ใน

เซรุ่มเป็นแอลลีลที่แสดงลักษณะเด่น

• i เป็นแอลลีลด้อย ไม่มีการสร้างแอนติเจน แต่มีการสร้างแอนติบอดี A และ B

สรุป อัลลีล IA และ IB แสดงลักษณะเด่นทั้งคู่

16.5.4 พอลิยีน
ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง เช่น ความสูง สีผิว จะถูกควบคุมด้วยยีนหลายคู่ ซึ่งยีนเหล่านี้อาจอยู่บนโครโมโซมเดียวกันหรือต่างโครโมโซมกันก็ได้

สีของเมล็ดข้าวสาลี ซึ่งมียีนควบคุม 3 คู่ คือ R1 R2 R3 เป็นยีนที่ทำให้เมล็ดข้าวสาลีมีสีแดง ส่วน อัลลีลของยีนเหล่านี้คือ r1 r2 r3 เป็นยีนที่ทำให้เมล็ดข้าวสาลีไม่มีสี ถ้าจีโนไทป์มียีนควบคุมสีแดงจำนวนมาก สีของเมล็ดจะเข้ม
Polygene

16.5.5 ยีนในโครโมโซมเพศ (sex-link gene)
คือ ยีนที่มีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซมเพศ
ยีนที่อยู่บนโครโมโซม X เรียกว่า X-link gene
ยีนที่อยู่บนโครโมโซม Y เรียกว่า Y-link gene

ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับโครโมโซมเพศ X

(x – linked gene)

ยีนที่อยู่ในโครโมโซมเพศซึ่งได้แก่ โครโมโซม X หรือ Y เรียกว่า ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (sex linked gene) เช่น ยีนที่แสดงสีของตาแมลงหวี่ และยีนที่แสดงตาบอดสีของคน เป็นต้น เนื่องจากยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศไม่มีอยู่ในโครโมโซม Y ดังนั้นตัวผู้หรือเพศชายแม้จะมียีนเดียวบนโครโมโซม X ไม่ว่ายีนนั้นจะเป็นยีนเด่นหรือยีนด้อย ก็ย่อมแสดงลักษณะออกมาได้ จะเห็นได้ว่า ยีนด้อยที่อยู่ในโครโมโซม X จะแสดงลักษณะในเพศชายได้ง่ายกว่ายีนด้อยในออโตโซม ลักษณะที่ควบคุมโดยยีนด้อยในโครโมโซม X จึงปรากฏในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนในเพศหญิงจะแสดงลักษณะด้อยได้ จะต้องได้รับยีนด้อยในโครโมโซม X จากพ่อและแม่ ฝ่ายละ 1 ยีน เพศหญิงที่มียีนด้อยเพียงยีนเดียวเรียกว่า พาหะ

x-link gene

ตัวอย่างที่ควบคุมโดยยีนในโครโมโซม x ได้แก่

1. โรคฮีโมฟีเลีย มีอาการเลือดแข็งตัวช้า เนื่องจากขาดสารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว เกิดจากยีนด้อยในโครโมโซม X

จีโนไทป์ ฟีโนไทป์

ชาย หญิง

XhY XhXh โรคฮีโมฟีเลีย

XHY XHXH, XHXh ปกติ

XHXh เรียกว่า เป็นพาหะ

2. ภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส

ผู้เป็นโรคมักแพ้ยาและอาหารบางชนิด โรคนี้ควบคุมโดยยีนด้อยในโครโมโซม X

จีโนไทป์ ฟีโนไทป์

ชาย หญิง

XgY XgXg ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD

XGY XGXG, XGXg ปกติ

XGXg เรียกว่า เป็นพาหะ

ภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส (G-6-PD) เป็นภาวะที่ไม่ปรากฏอาการของโรคอย่างชัดเจนนัก ผู้ที่ขาดเอนไซม์ดังกล่าว จะมีอาการแพ้ยาและอาหารบางชนิดอย่างรุนแรงได้แก่ ยารักษาโรคมาลาเรีย เช่น ไพรมาควีน ควินิน ยาปฏิชีวนะ เช่น คลอแรมเฟนิคอล ซัลโฟนาไมด์ ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล กินถั่วปากอ้าดิบ หรือสูดกลิ่นสารจากถั่วปากอ้าเข้าไป ในประเทศไทยมีผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ถึงร้อยละ 12 ของ ประชากรเพศชาย

3. โรคตาบอดสี

เป็นลักษณะที่ควบคุมโดยยีนด้อยในโครโมโซม X

จีโนไทป์ ฟีโนไทป์

ชาย หญิง

XcY XcXc ตาบอดสี

XCY XCXC, XCXc ปกติ

XCXc เรียกว่า เป็นพาหะ

ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับ Y

Y-linked gene

สำหรับยีนที่อยู่ในโครโมโซม Y (holandric gene) ย่อมถ่ายทอดจากพ่อไปยังลูกชาย จากลูกชายไปยังหลานชายและต่อๆไปยังเพศชายทุกคนที่รับโครโมโซม Y นั้นไป ยีนในโครโมโซม Y มีทั้งยีนที่ควบคุมลักษณะทางเพศและควบคุมลักษณะอื่นๆด้วย แต่เนื่องจากโครโมโซม Y มีขนาดเล็กมาก จึงมียีนอยู่จำนวนน้อยและไม่มีแอลลีลบนโครโมโซม X ได้แก่ ลักษณะมีขนขึ้นที่ใบหูส่วนล่าง (hairy ear) ผิวหนังเป็นเกล็ดคล้ายงู (porcupine man) และ ลักษณะที่มีพังผืดที่อยู่ระหว่าง นิ้วเท้า (webbed-toes) จะถ่ายทอดจากพ่อไปยังลูกชาย ไปยังหลานชาย และรุ่นต่อ ๆ ไป แต่พบน้อย เนื่องจากโครโมโซม Y มีขนาดเล็ก จึงมียีนอยู่เพียงจำนวนน้อย

16.5.6ยีนในโครโมโซมเดียวกัน

16.5.8 พันธุกรรมจำกัดเพศ (Sex limited gene)

Screen Shot 2558-06-19 at 9.45.55 AM

อธิบายข้อสอบ

Screen Shot 2558-06-19 at 9.47.30 AM

วิชา ภาษาไทย วรรณคดี เรื่องขุนช้างขุงแผนตอน ขุนช้างถวายฎีกา(ครูนิ่ม)

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอน ขุนช้างถวายฎีกา
ผู้แต่ง
ไม่ปรากฏนามผู้แต่งตอนขุนช้างถวายฎีกาแต่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าแต่งดีเยี่ยมโดยเฉพาะ
กระบวนกลอนที่สื่ออารมณ์สะเทือนใจ(เป็น ๑ ใน ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่อง)
ในตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและตอนขุนแผนพานางวันทองหนีเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้านภาลัย
ตอนขุนช้างขอนางพิมและขุนช้างตามนางวันทองเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอนกำเนิดพลายงามเป็นสำนวนของสุนทรภู่
ที่มาของเรื่อง
ขุนช้างขุนแผนเป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาในเมืองสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี โดยเชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในแผ่นดินสมเด็จพระพันวษาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยในตำนานเล่าเพียงว่า นายทหารยศ ขุนแผนผู้หนึ่งได้ถวายดาบฟ้าฟื้นแด่สมเด็จพระพันวษา ซึ่งใช้วิธีการถ่ายทอดโดยการเล่าสืบสืบต่อกันมาเป็นนิทาน จนกระทั่งมีผู้คิดวิธีการเล่าโดยการขับเป็นลำนำขึ้นมา จึงกลายเป็นใช้บทเสภา มีทั้งหมด ๔๓ ตอนด้วยกัน ตอนที่นำมาเป็นบทเรียนนี้ คือ ตอนที่ ๓๕
เนื้อเรื่องย่อ
กล่าวถึงพลายงาม เมื่อชนะคดีความขุนช้างแล้ว ขุนช้างได้พานางวันทองกลับไปอยู่สุพรรณบุรี ส่วนตัวพลาย
งามเองก็กลับไปอยู่บ้านพร้อมหน้าญาติและพ่อ ขาดก็แต่แม่ ทำให้พลายงามเกิดความคิดที่จะพานางวันทองกลับมาอยู่ด้วยกัน จะได้พร้อมหน้าพ่อ แม่ ลูก พอตกดึกจึงไปลอบขึ้นเรือนขุนช้างแล้วพานางวันทองหนีมาอยู่ที่บ้านกับตน ตอนแรกนางก็ไม่ยินยอมที่จะมา เพราะกลัวจะเป็นเรื่องให้อับอายว่า คนนั้นลากไป คนนี้ลากมาอีก และเกรงจะมีปัญหาตามมาภายหลัง จึงบอกให้พลายงามนำความไปปรึกษาขุนแผน เพื่อฟ้องร้องขุนช้างดีกว่าจะมาลักพาตัวไป แต่พลายงามไม่ยอม สุดท้ายนางวันทองจึงจำต้องยอมไปกับพลายงามฝ่ายขุนช้างนอนฝันร้าย ก็ผวาตื่นเอาตอนสาย ครั้นตื่นขึ้นมาก็ร้องเรียกหานางวันทอง ออกมาถามบ่าวไพร่ก็ไม่มีใครเห็นจึงโกรธเป็นฟืนเป็นไฟมุ่งมั่นจะตามนางวันทองกลับมาให้ได้ ฝ่ายพลายงามก็เกรงว่าขุนช้างจะเอาผิด ถ้ารู้ว่าตนไปพานางวันทองมา จะเพ็ดทูลสมเด็จพระพันวษาอีก แม่อาจจะต้องโทษได้ จึงใช้ให้หมื่นวิเศษผลไปบอกขุนช้างว่า ตนนั้นป่วยหนักอยากเห็นหน้าแม่ จึงใช้ให้คนไปตามนางวันทองมาเมื่อกลางดึก ขอให้แม่อยู่กับตนสักพักหนึ่งแล้วจะส่งตัวกลับมาอยู่กับขุนช้างตามเดิม ขุนช้างโมโหและแค้นยิ่งนักที่พลายงามทำเหมือนข่มเหงไม่เกรงใจตน จึงร่างคำร้องถวายฎีกา แล้วลอยคอมายังเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระพันวษาเพื่อถวายฎีกา ทำให้สมเด็จพระพันวษาพิโรธมาก ให้ทหารรับคำฟ้องมาแล้วให้เฆี่ยนขุนช้าง๓๐ ที แล้วปล่อยไป และยังทรงตั้งกฤษฎีกาการรักษาความปลอดภัยว่า ต่อไปข้าราชการผู้ใดที่มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยแล้วปล่อยให้ใครเข้ามาโดยมิได้รับอนุญาตจะมีโทษมหันต์ถึงประหารชีวิตกล่าวฝ่ายขุนแผนนอนอยูในเรือนกับนางแก้วกิริยาและนางลาวทองอย่างมีความสุข ครั้นสองนางหลับ ขุนแผนก็คิดถึงนางวันทองที่พลายงามไปนำตัวมาไว้ที่บ้าน จึงออกจากห้องย่องไปหานางวันทองหวังจะร่วมหลับนอนกัน แต่นางปฏิเสธแล้วพากันหลับไป แต่พอตกตึกนางวันทองก็เกิดฝันร้ายตกใจตื่นเล่าความฝันให้ขุนแผนฟัง ขุนแผนฟังความฝันของนางก็รู้ทันทีว่าเป็นเรื่องร้าย อันตรายถึงชีวิตแน่นอน แต่ก็แกล้งทำนายไปในทางดีเสีย เพื่อนางจะได้สบายใจ
ฝ่ายสมเด็จพระพันวษา ครั้นทรงอ่านคำฟ้องของขุนช้างก็ทรงกริ้วยิ่งนัก ให้ทหารไปตามตัวนางวันทอง ขุนแผน
และพระไวยมาเฝ้าทันที ขุนแผนเกรงว่านางวันทองจะมีภัย จึงเสกคาถาและขี้ผึ้งให้นางวันทองทาปากเพื่อให้พระพันวษาเมตตา แล้วจึงพานางเข้าเฝ้า เมื่อพระพันวษาเห็นนางวันทองก็ใจอ่อนเอ็นดู ตรัสถามเรื่องราวที่เป็นมาจากนางวันทองว่า ตอนชนะคดีให้ไปอยู่กับขุนแผนแล้วทำไมจึงไปอยู่กับขุนช้างนางวันทองก็กราบทูลด้วยความกลัวไปตามจริงว่า ขุนแผนถูกจองจำ ขุนช้างเอาพระโองการไปอ้างให้ฉุดนางไปอยู่ด้วย เพื่อนบ้านเห็นเหตุการณ์ก็ไม่กล้าเข้าช่วยเพราะกลัวผิดพระโองการ สมเด็จพระพันวษาฟังความทรงกริ้วขุนช้างมาก ทรงถามนางวันทองอีกว่าขุนช้างไปฉุดให้อยู่ด้วยกันมาตั้ง ๑๘ ปี แล้วคราวนี้หนีมาหรือมีใครไปรับมาอยู่กับขุนแผน นางวันทองก็กราบทูลไปตามจริงว่า พระไวยเป็นผู้ไปรับมาเวลาสองยาม ขุนช้างจึงหาความว่า หลบหนี สมเด็จพระพันวษาทรงกริ้วพระไวยที่ทำอะไรตามใจตน นึกจะขึ้นบ้านใครก็ขึ้น ทำเหมือนบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแปร และว่าขุนแผนรู้เห็นเป็นใจ สมเด็จพระพันวษาทรงคิดว่า สาเหตุของความวุ่นวายทั้งหมดนี้เกิดจากนางวันทองจึงให้นางวันทองตัดสินใจว่าจะอยู่กับใคร นางวันทองตกใจประหม่า อีกทั้งจะหมดอายุขัยจึงบันดาลให้พูดไม่ออกบอกไม่ถูกว่าจะอยู่กับใคร นางให้เหตุผลว่า นางรักขุนแผน แต่ขุนช้างก็ดีกับนาง ส่วนพลายงามก็เป็นลูกรัก ทำให้สมเด็จพระพันวษากริ้วมาก เห็นว่านางวันทองเป็นคนหลายใจ เป็นหญิงแพศยา จึงให้ประหารชีวิตนางวันทองเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป

คุณค่าที่ได้รับ
ด้านวรรณศิลป์ ด้านสังคม
• แสดงให้เห็นถึงศิลปะการแต่งเช่น แสดงให้เห็นภาพสังคมสมัยก่อนๆเช่น
๑ การพรรณนาให้เห็นภาพ ๑ ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
๒ สัมผัสอักษร ๒ ความรักนะหว่างแม่และลูก
๓ ภาพพจน์ ๓ สะท้อนให้เห็นชีวิต วัฒนธรรม ค่านิยม และความเชื่อ
๓.๑ อุปมา ๔ ความเชื่อในกฎแห่งกรรม
๓.๒ อุปลักษณ์
๓.๓ สัทพจน์
๓.๔ คำถามเชิงวาทศิลป์
ด้านเนื้อหา
ในยุคสมัยหนึ่งๆมักนิยมเรื่องราวที่เข้ากับยุคสมัยนั้นๆ เรื่องราวและเนื้อหาของวรรณคดีจะไม่ตายตัวแต่จะ
เปลี่ยนไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนาการของสังคมจะเปป็นเครื่องกำหนดเนื้อหาของวรรณคดี
ความรู้เพิ่มเติม
๓ ครอบครัวในเรื่อง
– ครอบครัวของ ”ขุนไกรพลพ่าย” รับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ ”นางทองประศรี” มีลูกชายด้วยกันชื่อ ”พลายแก้ว”
– ครอบครัวของ ”ขุนศรีวิชัย” เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาชื่อ ”นางเทพทอง” มีลูกชายชื่อ ”ขุนช้าง” ซึ่งหัวล้านมาแต่กำเนิด
– ครอบครัวของ ”พันศรโยธา” เป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ”ศรีประจัน” มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ ”นางพิมพิลาไลย”
ครอบครัว ขุนแผน
ขุนแผน + ภรรยา ๕ คน
๑ นางวันทอง(พิมพิลาไลย) = พลายงาม
๒ นางลาวทอง(ไปรบที่เชียงใหม่)
๓ นางบัวคลี่(หนีไปถึงซ่องโจร) = กุมารทอง
๔ นางแก้วกิริยา(ลอบขึ้นเรือนขุนช้าง) = พลายชุมพล
๕ นางสายทอง(พี่เลี้ยงนางวันทอง)
ครอบครัว จมื่นไวยวรนาถ (พลายงาม)
จมื่นไวยวรนาถ + ภรรยา ๒ คน
๑ นางสร้อยฟ้า = พลายยง
๒ นางศรีมาลา = พลายเพชร
กุมารทอง
ตำรากุมารทองเป็นไสยศาสตร์ในยุคที่เรียกว่ากรรมฐานนิพานสูตร อันมีอยู่ในสมุดข่อยสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำราแบ่งเป็นสองประเภทคือ 1 กุมารทองใช้งาน 2.กุมารทองทำร้าย แต่วิธีเบื้องต้นในการสร้างคล้ายกันคือการนำวิญญาณใช้ประโยชน์แบบเตภูมิ 4 อัน ประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ม้าสีหมอก
สีหมอก เป็นม้าแสนรู้พาหนะประจำตัวของขุนแผน แม่เป็นม้าเทศชื่ออีเหลือง พ่อเป็นม้าน้ำ คลอดจากท้องแม่เมื่อวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำ ตัวสีหมอก ตาสีดำ หลวงศรีวรข่านได้รับคำสั่งจากสมเด็จพระพันวษาให้ไปซื้อม้าที่เมืองมะริด ประเทศอินเดีย สีหมอกซึ่งเป็นลูกม้ารุ่นหนุ่มก็ติดตามแม่มาด้วย แต่ความซุกซนทำให้เที่ยวไล่กัดม้าตัวอื่นๆอยู่เสมอ ต้องตามตำราจึงเข้าไปขอซื้อ แล้วเสกหญ้าให้กิน สีหมอกก็ติดตามขุนแผนไปโดยดี
ดาบฟ้าฟื้น
ดาบฟ้าฟื้นเกิดจาก การเอาเหล็กรวมทั้งโลหะอื่นแล้วก็นำมาหล่อรวมกัน พอฤกษ์งามยามดีก็ตั้งศาลเพียงตา แล้วให้ช่างตีเหล็กบรรจงแต่งตามรูปที่ต้องการ เมื่อเสร็จแล้วมีสีเขียวแมลงทับ จากนั้นก็เจาะไม้ชัยพฤกษ์เอาผมผีพรายตัวร้าย ๆ ใส่เข้าไปแล้วเอาชันกรอกทับเป็นด้าม เมื่อขุนแผนลองแกว่งดูก็เกิดเมฆลมพัดตลบอบอวลฟ้าผ่าดังเปรี้ยงปร้าง แล้วเอาไม้สรรพยามาทำฝักแต่งเติมเสริมความงามจนพอใจจึงตั้งชื่อว่า ดาบฟ้าฟื้น

ข้อสอบเรื่องขุนช้างขุนแผน

Screen Shot 2558-06-19 at 9.49.15 AM

เฉลย ตอบข้อ ๔

วิชา สังคมศึกษา เรื่องประวัติศาสตร์ไทย(ครูนิยม)

สรุปย่อเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่ 4 : ประวัติศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์และวิธีการทางประวัติศาสตร์

1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ยุคสมัยที่ยังไม่มีตัวอักษร โดยแบ่งได้อีกเป็น 2 ยุค คือ
1.1 ยุคหิน คือ ยุคที่เครื่องมือเครื่องใช้ มีด ขวาน ของมนุษย์ทำด้วยหิน
และยุคหินยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 ยุคย่อยคือ
1) ยุคหินเก่า
2) ยุคหินกลาง
3) ยุคหินใหม่

1.2 ยุคโลหะ คือ ยุคที่เครื่องมือเครื่องใช้ มีด ขวาน ของมนุษย์ทำด้วยโลหะ และยุคโลหะยังสามารถ แบ่งย่อยได้อีก 3 ยุคย่อย คือ
1) ยุคทองแดง
2) ยุคสำริด (เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก)
3) ยุคเหล็ก

2.ยุคประวัติศาสตร์ คือ ยุคที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาใช้

3. วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ วิธีการค้นหาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูล
ทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงความจริงที่สุด
โดยมีขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์อยู่ 6 ขั้นตอน คือ
1) กำหนดหัวข้อ
2) รวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์
3) ประเมินคุณค่าหลักฐาน ว่าหลักฐานนั้นจริงหรือปลอม
4) ตีความหลักฐาน
5) วิเคราะห์หลักฐาน ว่าหลักฐานนั้นบอกอะไรแก่เรา ให้ข้อมูลอะไรแก่เรา
6) สังเคราะห์และสรุป

4. ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
4.1 หลักฐานชั้นต้น หรือหลักฐานปฐมภูมิ คือ หลักฐานที่
– ผู้บันทึกหรือผู้เขียนหลักฐานนั้น เกิดทันเหตุการณ์ เกิดร่วมยุคสมัยกับเหตุการณ์ที่ได้บันทึกไว้นั้น
– เช่น พงศาวดาร , จารึกต่าง ๆ , จดหมายเหตุ , บันทึกประจำวันหรือDiary ของชาวต่างชาติ ,
หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
4.2 หลักฐานชั้นรอง หรือหลักฐานทุติยภูมิ คือ หลักฐานที่
– ผู้บันทึกหรือผู้เขียนหลักฐานนั้น เกิดไม่ทันเหตุการณ์ เกิดภายหลังเหตุการณ์นั้น และได้เขียน
หลักฐานนั้น ขึ้นมาจากหลักฐานปฐมภูมิอีกที
– เช่น ตำราหรือหนังสือทางประวัติศาสตร์ทั้งหลาย
***********************************************
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 : ประวัติศาสตร์ไทย
เรื่องที่ 1 : ประวัติศาสตร์ไทยด้านสังคมวัฒนธรรม

1. สังคมไทยเป็นสังคมในระบบศักดินา คือมีการแบ่งชนชั้น โดยใช้ศักดินาเป็นตัวบอกชนชั้น
แบ่งเป็น 2 ชนชั้น สำคัญ คือ
1.1 ชนชั้นปกครอง หรือ ชนชั้นเจ้าขุนมูลนาย ประกอบด้วย
1. กษัตริย์ : เป็น “เจ้าแผ่นดิน“ มีศักดินาสูงสุด ไม่จำกัดจำนวนไร่
2. เจ้านาย หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ : ถือศักดินา 500 – 100,000 ไร่ และยังแบ่งย่อยได้อีก 3 อิสริยยศ
คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า
3. ขุนนาง : ถือศักดินา 400 – 10,000 ไร่ และยังแบ่งย่อยได้อีก 5 ยศ (หรือ 5 บรรดาศักดิ์)
คือ เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน
4. พระสงฆ์ : เสมอนา 100 – 2,400 ไร่

1.2 ชนชั้นใต้ปกครอง ประกอบด้วย
1. ไพร่ : ถือศักดินา 10 – 25 ไร่ และยังแบ่งย่อยได้อีก 3 ประเภท คือ ไพร่หลวง ไพร่สม ไพร่ส่วย
2. ทาส : ถือศักดินา 5 ไร่ และยังแบ่งย่อยได้อีก เช่น ทาสสินไถ่ ทาสเชลยศึกสงคราม ลูกทาส

2. ระบบมูลนาย-ไพร่ : เป็นการจัดระเบียบสังคมในสมัยโบราณ
1. มูลนาย คือ ชนชั้นปกครอง (ที่สำคัญคือกลุ่มเจ้านายและกลุ่มขุนนาง)
– มูลนายมีหน้าที่ควบคุมดูแลไพร่ในสังกัด และใช้ประโยชน์จากแรงงานไพร่ในสังกัดได้
– มูลนายและลูกหลานมีอภิสิทธิ์ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
2. ไพร่ คือ ราษฎรทั่วไปทั้งชายหญิง เป็นชนชั้นที่มีความสำคัญที่สุด เพราะมีปริมาณมากที่สุดในบรรดา ชนชั้นทั้งหลาย
– ไพร่ต้องมีมูลนายสังกัด
– ไพร่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน (หรือเข้าเวรรับราชการ) เพื่อทำงานรับใช้มูลนายต้นสังกัด
– ไพร่ที่ไม่มีมูลนายสังกัดจะไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย
* ระบบมูลนาย-ไพร่ ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์ตามมา *

3. สังคมไทยสมัยใหม่
3.1 หลัง ร.๔ ทำสัญญาบาวริง มีการเปลี่ยนทางสังคมวัฒนธรรม หลายประการ เช่น
1. ให้ราษฎรเข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนินและถวายฎีกาได้
2. ให้ชาวต่างประเทศยืนเข้าเฝ้าได้และให้ขุนนางไทยสวมเสื้อเข้าเฝ้า
3. ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา
4. ให้สิทธิสตรีในการเลือกคู่ครอง
5. ให้สิทธิสตรีและเด็กในการขายตนเองเป็นทาส

3.2 การปฏิรูปสังคมวัฒนธรรมสมัย ร.๕
1. ร.๕ ทรงยกเลิกระบบมูลนาย – ไพร่ คือยกเลิกการเกณฑ์แรงงานจากไพร่ เปลี่ยนไพร่ให้กลายเป็น
เสรีชน (ชาวนา ชาวไร่ กรรมกร) ทำให้เกิดเสรีภาพในการประกอบอาชีพและในการเคลื่อนย้ายที่อยู่
ของไพร่ขึ้นเป็นครั้งแรก
* นับเป็นพระราชกรณีกิจที่สำคัญที่สุดของ ร.๕ *
2. เลิกทาส เปลี่ยนทาสให้กลายเป็นไพร่
3. ปฏิรูปการศึกษา โดยตั้งโรงเรียนในแบบตะวันตกขึ้นมา เช่น โรงเรียนหลวงสอนภาษาไทย ,
โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ , โรงเรียนแผนที่ , โรงเรียนนายร้อยทหารบก , โรงเรียนกฎหมาย ,
โรงเรียนมหาดเล็ก และ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม (โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรก)
การปฏิรูปการศึกษาในสมัย ร.5 มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ ผลิตข้าราชการรุ่นใหม่ ที่มีความรู้สมัยใหม่
เข้ามารับราชการทำงานพัฒนาบ้านเมือง
4. เปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ยกเลิกประเพณีหมอบคลานให้ยืนเข้าเฝ้าแทนปรับปรุง
การแต่งกายตามแบบตะวันตก

3.3 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕
1. ราษฎรเกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
2. เกิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
3. การศึกษาขยายตัวอย่างกว้างขวาง กำเนิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ มหิดล ศิลปากร เชียงใหม่
ขอนแก่น สงขลานครินทร์
4. เกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เรื่องที่ 2 : ประวัติศาสตร์ไทยด้านการเมืองการปกครอง
1. รูปแบบการเมืองการปกครองของไทย แต่โบราณเป็นระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์
2. สมัยอาณาจักรสุโขทัย : ราชาธิปไตย ฐานะกษัตริย์จะแตกต่างกัน 2 ระยะ
2.1 ระยะแรกเป็น ปิตุลาธิปไตย (พ่อปกครองลูก) กษัตริย์มีฐานะเป็น “พ่อขุน” เช่น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนรามคำแหง
2.2 ระยะหลังเป็น ธรรมราชา กษัตริย์มีฐานะเป็น “มหาธรรมราชา หรือ พญา” เช่น
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท)

3. อาณาจักรอยุธยา : ราชาธิปไตย ฐานะกษัตริย์เป็นเทวราชา+ธรรมราชา
(แต่เป็นเทวราชามากกว่า)
4. การปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่สมัยพระบรมไตรโลกนาถ
4.1 ส่วนกลาง (ราชธานี)
– แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ
1.ฝ่ายทหาร มี “สมุหกลาโหม” เป็นอัครมหาเสนาบดี บังคับบัญชากรมทางด้านทหาร เช่น
กรมกลาโหม , กรมช้าง , กรมม้า , กรมทหารอาสา , กรมพระสุรัสวดี
2.ฝ่ายพลเรือน (+จตุสดมภ์) มี “สมุหนายก” เป็นอัครมหาเสนาบดี บังคับบัญชากรมทางด้านพลเรือน เช่น กรมมหาดไทย ,
กรมเวียง (นคราภิบาล) , กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) ,
กรมคลัง (โกษาธิบดี) , กรมนา (เกษตราธิการ)
4.2 ส่วนภูมิภาค
1.ยกเลิกเมืองลูกหลวง เปลี่ยนเป็นหัวเมืองชั้นใน หรือ เมืองจัตวา มีขุนนางในตำแหน่ง “ผู้รั้ง”
เป็นเจ้าเมือง
2.หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร มีเจ้านายหรือขุนนางเป็นเจ้าเมือง และแบ่งออก
เป็น 3 หัวเมืองชั้นนอก คือ เมือง เอก โท ตรี
3.หัวเมืองประเทศราช หรือ เมืองขึ้น หรือ เมืองออก โดยมีกษัตริย์ท้องถิ่นปกครองกันเอง
เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการและส่วย มาถวายแด่ราชธานี
* ผลการปฏิรูปของพระบรมไตรโลกนาถ : เกิดการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง *

5. สมัยพระเพทราชา ปรับปรุงใหม่
5.1 ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
5.2 ให้สมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ+อีสาน

6. อาณาจักรรัตนโกสินทร์ : ราชาธิปไตย ฐานะกษัตริย์เป็นธรรมราชา + เทวราชา (แต่เป็นธรรมราชา มากกว่า)
6.1 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.๑ – ร.๔) มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 3 ตำแหน่ง
1. สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
2. สมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ + อีสาน
3. เสนาบดีกรมคลัง (หรือกรมท่า) ดูแลหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก

6.2 การปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่สมัย ร.๕
1. ส่วนกลาง
1. ยกเลิกการบริหารราชการแบบกรม (ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก
และเสนาบดีจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา)
2. ตั้ง กระทรวง (เริ่มแรกมี 12 กระทรวง)
2. ส่วนภูมิภาค
1. ยกเลิกหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองพระยามหานคร หัวเมืองประเทศราช
2. ตั้ง มณฑลเทศาภิบาล แต่ละมณฑลจะมี “สมุหเทศาภิบาล” เป็นผู้ปกครอง
3. ส่วนท้องถิ่น
1. ริเริ่มการปกครองส่วนท้องถิ่น
2. ตั้ง สุขาภิบาล (แห่งแรกที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้คือ สุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม
จังหวัดสมุทรสาคร)
* ข้อสอบออกบ่อย : ผลการปฏิรูป เกิดการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
และเกิดเอกภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน *

7. ยุคประชาธิปไตย : สรุปเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ คณะราษฎรทำการอภิวัฒน์แผ่นดินเปลี่ยนแปลงการปกครอง
จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
1. สิ้นสุดยุคศักดินาในสังคมไทย เริ่มต้นยุคประชาธิปไตย
2. เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกัน อภิสิทธิ์ต่าง ๆ ของชนชั้นสูงถูกยกเลิกไป
3. หัวหน้าคณะราษฎร คือ พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
แกนนำคนสำคัญของคณะราษฎร อาทิเช่น : พ.อ. พระยาทรงสุรเดช , พ.อ. พระยาฤทธิอัคเนย์ ,
พ.ท. พระประศาสน์พิทยายุทธ์ , หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ,
พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) , หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์) ,
น.ต. หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) , นายทวี บุณยเกตุ , ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี ฯลฯ

4. นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
5. หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ไม่นาน เกิด “กบฏบวรเดช” นำโดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
ร่วมกับกลุ่มทหารในต่างจังหวัดและกลุ่มศักดินาเก่า เพื่อแย่งชิงอำนาจคืนจากคณะราษฎร
แต่กบฏบวรเดชก็พ่ายแพ้ไปในที่สุด
6. หลังชนะกบฏบวรเดช คณะราษฎรกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจทางการเมืองสูงสุด แต่ต่อมาแกนนำ
คนสำคัญในคณะราษฎร 2 คน ก็เกิดแตกแยกในแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน จนเกิดการแข่งขัน
ช่วงชิง อำนาจกันเอง คือ ระหว่าง
– นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีแนวความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย
– จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งมีแนวความคิดทางการเมืองแบบเผด็จการทหาร
7. วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เกิดกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8

8. เดือนพฤศจิกายน 2490 เกิดรัฐประหาร นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ , พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ
พ.อ.เผ่า ศรียานนท์ ทำการล้มรัฐบาลของนายก พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)
9. ทำให้นายปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยทางการเมืองออกไปต่างประเทศ และหลังจากนั้นมีการล้มล้างอิทธิพล
ทางการเมืองของนายปรีดี ด้วยการสังหารนักการเมืองในกลุ่มของนายปรีดีอย่างโหดเหี้ยม จนทำให้
กลุ่มอำนาจการเมืองของนายปรีดี หมดอำนาจไปจากผืนแผ่นดินไทย
10. ต่อจากนั้นกลุ่มทหารบกจะกลายเป็นกลุ่มคณะบุคคลผู้กุมอำนาจทางการเมืองในไทยอย่างสูงสุด
ใช้อำนาจแบบเผด็จการทหาร และส่งต่ออำนาจกันอยู่ภายในกลุ่มทหารบก
11. เห็นได้ชัดจากตำแหน่งนายก มักจะมาจากทหารบก เช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปสู่
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และไปสู่ จอมพลถนอม กิตติขจร
12. จนทำให้ประชาชน ปัญญาชน นิสิตนักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย และนักข่าวสื่อมวลชน
เกิดความ เบื่อหน่ายในการต่อท่ออำนาจของเผด็จการทหาร อันนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด 14 ตุลาคม พ.ศ.2516
13. นายก คนสำคัญต่อจากจอมพลถนอม ได้แก่
– นายสัญญา ธรรมศักดิ์
– ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
– ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
– นายธานินท์ กรัยวิเชียร
– พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
– พล อ.เปรม ติณสูลานนท์
– พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
– นายอานันท์ ปันยารชุน (สมัยที่ 1)
– พล.อ.สุจินดา คราประยูร
– นายอานันท์ ปันยารชุน (สมัยที่ 2)
– นายชวน หลีกภัย (สมัยที่ 1)
– นายบรรหาร ศิลปอาชา
– พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
– นายชวน หลีกภัย (สมัยที่ 2)
– พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
– พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
– นายสมัคร สุนทรเวช
– นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
– นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

เรื่องที่ 3 : ประวัติศาสตร์ไทยด้านเศรษฐกิจ
1. สมัยโบราณ : ลักษณะเด่น คือ
1. เศรษฐกิจไทยสมัยโบราณเป็นแบบผลิตเพื่อยังชีพ คือผลิตเพื่อเลี้ยงตนเอง เลี้ยงคนในชุมชน
และเพื่อเสียภาษีอากรให้กับรัฐ
2. ข้าวเป็นผลผลิตหลักของสังคม
3. การแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นแบบแลกเปลี่ยนกันโดยตรง (เงินมีบทบาทน้อย)
4. รายได้หลักของรัฐในสมัยโบราณ คือ 1. การเก็บภาษีอากร 2. กำไรจากการค้าต่างประเทศ
5. ชาวจีนมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจการค้าของไทยมากเพราะมีเสรีภาพในการเดินทางและมีทุนมาก
6. ในขณะที่ไพร่ถูกควบคุมด้วยระบบมูลนายไพร่ ทำให้ไม่มีเสรีภาพในการค้าขาย
7. โปรตุเกสเป็นฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2
8. การค้ากับตะวันตกเฟื่องฟูสุดๆสมัยพระนารายณ์มหาราช
9. การค้ากับตะวันตกกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งสมัยรัตนโกสินทร์
10. สมัย ร.3 พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำสัญญาการค้ากับตะวันตกเป็นครั้งแรก คือ สัญญาเบอร์นี
ระหว่าง ไทย กับ อังกฤษ
11. สมัย ร.3 ได้ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษี ที่เรียกว่า “ระบบเจ้าภาษีนายอากร”
คือ รัฐให้เอกชนประมูลจัดเก็บภาษีแทนรัฐ ทำให้คนจีนเข้าประมูลเป็นเจ้าภาษีนายอากรกันเป็นจำนวนมาก
เพราะคนจีนมีทุนเยอะและมีเครือข่ายทางการค้ามาก

2. สมัยใหม่
2.1 ร.4 พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำสัญญาบาวริง พ.ศ.๒๓๙๘ (ไทย-อังกฤษ)โดยมีสาระสำคัญคือ
1. ยกเลิกระบบพระคลังสินค้า ปล่อยให้การค้าเป็นไปโดยเสรี
2. ให้ส่ง “ข้าว” ออกขายได้
3. ให้เก็บภาษีขาเข้าได้ ร้อยละ 3 ส่วนภาษีขาออกให้เก็บตามอัตราที่ได้ตกลงกันไว้ และเก็บได้
ครั้งเดียวเท่านั้น ห้ามเก็บภาษีซ้ำซ้อน
4. ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้อังกฤษ คือคนอังกฤษทำความผิดในไทยไม่ต้องขึ้น
ศาลไทยและไม่ต้องใช้กฎหมายไทย ให้ไปขึ้นศาลสถานกงสุลอังกฤษแทน
5. ไม่กำหนดวันสิ้นสุดสัญญา และถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงต้องได้รับความยินยอมจากอังกฤษ
* ผลของสัญญานี้ทำให้รูปแบบการผลิตสินค้าเปลี่ยนจากแบบยังชีพเป็นผลิตเพื่อค้าขาย *

2.2 หลังทำสัญญาบาวริง เกิดระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราและการทำนาปลูกข้าวขยายตัวอย่างมาก
ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย

3. การปฏิรูประบบเศรษฐกิจสมัย ร.5 พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
1. ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ทำหน้าที่จัดเก็บภาษี
2. ยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร
3. กำหนดเงินเดือนประจำให้กับข้าราชการ
4. จัดทำงบประมาณแผ่นดิน ขึ้นเป็นครั้งแรก
5. ปฏิรูประบบเงินตรา : เริ่มใช้หน่วยบาท สตางค์ , เทียบค่าเงินบาทกับมาตรฐานทองคำ , เริ่มใช้ธนบัตร

4. หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
1. หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของคณะราษฎร ที่เรียกว่า
“สมุดปกเหลือง” ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสยาม โดยเฉพาะจะทำการปฏิรูปที่ดิน
แจกให้คนยากจน
2. ร.7 พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงร่างพระราชวิจารณ์คัดค้านเค้าโครงเศรษฐกิจของคณะราษฎร
ที่เรียกว่า “สมุดปกขาว” เพื่อแสดงความคิดเห็นคัดค้านต่อสมุดปกเหลือง
3. เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจ
และนโยบายทุนนิยมโดยรัฐ
4. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2504
โดยเน้น
– เน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรม
– เน้นรับการลงทุนจากต่างชาติ
– เกิดทุนนิยมแพร่หลายในไทย
– เน้นสร้างสาธารณูปโภค : เขื่อน ถนน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
**********************************************
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : ประวัติศาสตร์ยุโรป (อารยธรรมตะวันตก)
เรื่องที่ 1 : ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยโบราณ
1. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1. เก่าแก่ที่สุด ได้รับยกย่องว่าเป็นอารยธรรมแรกของโลก
2. พบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส – ยูเฟรติส (อิรักในปัจจุบัน)
3. มนุษย์ในอารยธรรมนี้ มีลักษณะเด่นคือ มองโลกในแง่ร้าย เพราะสภาพภูมิศาสตร์ไม่เอื้อต่อ
การดำรงชีวิต (ภูมิอากาศกึ่งทะเลทราย แห้งแล้ง มีพายุรุนแรง)
4. ทำให้มนุษย์ในอารยธรรมนี้เกรงกลัวเทพเจ้า คิดว่าตนเองเป็นทาสรับใช้เทพเจ้า
5. จึงสร้างเทวสถานให้ใหญ่โตน่าเกรงขาม เพื่อแสดงถึงพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของเทพเจ้า
6. ผลงานโดดเด่นของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เช่น
6.1 ซิกกูแรต : วิหารขนาดใหญ่ เป็นที่ประทับของเทพเจ้า
6.2 อักษรลิ่ม (อักษรคูนิฟอร์ม) : เก่าแก่ที่สุดในโลก
6.3 ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี : ตาต่อตา ฟันต่อฟัน
6.4 สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน : หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ

2. อารยธรรมอียิปต์
1. พบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์
2. มีความมั่นคงและเข้มแข็งกว่าเมโสโปเตเมีย
3. ชาวอียิปต์มองโลกในแง่ดี เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์กว่า
4. ไม่คิดว่าตนเองเป็นทาสของเทพเจ้า แต่กลับยกย่องเทพเจ้าว่ามีความเมตตา
5. เชื่อในชีวิตหลังความตายมาก
6. ผลงานโดดเด่น : ปิรามิดขนาดใหญ่ การทำมัมมี่ ตัวอักษรเฮียโรกลิฟฟิค

3. อารยธรรมกรีก
1. รับอิทธิพลจาก เมโสโปเตเมีย อียิปต์ และอารยธรรมไมนวน บนเกาะครีต
2. ผลงานโดดเด่น
2.1 แนวคิดมนุษยนิยม
2.2 แนวคิดประชาธิปไตย
2.4 แนวคิดธรรมชาตินิยม
3. ชาวกรีกได้รับยกย่องว่าเป็น นักคิด นักทฤษฏี

4. อารยธรรมโรมัน
1. รับถ่ายทอดอารยธรรมมาจากกรีก
2. ชาวกรีกเป็นนักคิด ชาวโรมันเป็นนักปฎิบัติ
3. ชาวกรีกเน้นปัจเจกบุคคล บูชาเหตุผล รักเสรีภาพ แต่ชาวโรมันเน้นให้มนุษย์รับผิดชอบต่อรัฐ
และเน้นระเบียบวินัยกฎหมายเข้มงวด
4. ศิลปะกรีกเน้นความสวยงามอ่อนช้อย มีจินตนาการสูง แต่ศิลปะโรมันเน้นประโยชน์ใช้สอย
เช่น โคลอสเซียม ถนน ท่อน้ำประปา)
5. กรีกสร้างวิหารถวายเทพเจ้า แต่โรมันสร้างวิหารให้มนุษย์ใช้สอย
6. อาณาจักรโรมันระยะแรกปกครองแบบสาธารณรัฐ
7. ต่อมาจักรพรรดิออตตาเวียน สถาปนาจักรวรรดิโรมัน
8. ยุคนี้โรมันเจริญที่สุด แพร่ขยายดินแดนได้ทั่วยุโรป สร้างถนนทั่วทั้งจักรวรรดิ จนได้สมญานาม
“ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม”
9. สุดท้ายจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย เพราะถูกชาวอารยันบุกทำลาย เมื่อ ค.ศ. 476 ทำให้ยุโรปเข้าสู่
ประวัติศาสตร์สมัยกลาง

เรื่องที่ 2 : ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยกลาง (ยุคมืด : Dark Age)
1. จักรวรรดิโรมันแตกแยกออกเป็นอาณาจักรใหญ่น้อย ถูกปกครองโดยชาวอารยัน
2. เกิดสงครามรบพุ่งกันวุ่นวาย ทำให้ชาวยุโรปต้องหาที่พึ่งทางใจ ซึ่งก็คือศาสนาคริสต์
3. เป็นยุคที่ชาวยุโรปตกอยู่ใต้อิทธิพลของ 2 สิ่ง คือ
3.1 ศาสนาคริสต์
-พระสันตปาปา Pope และคริสตจักร มีอิทธิพลครอบงำชาวยุโรปทุกด้านตั้งแต่เกิดจนตาย
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ (ชาวยุโรปต้องเสียภาษีให้วัด) ด้านการเมือง (พระสันตปาปาแต่งตั้ง
กษัตริย์) และด้านสังคมวัฒนธรรม (วัดเป็นศูนย์กลางชุมชน การประกอบพิธีกรรมและศิลปะ)
– ศาสนจักรในยุคนี้มีรูปแบบเหมือนอาณาจักรทางโลก
3.2 ลัทธิศักดินาสวามิภักดิ์ Feudalism
– มีการแบ่งชนชั้นคนในสังคมออกเป็น
1. ชนชั้นปกครอง (ชนชั้นเจ้าที่ดิน Landlord) : กษัตริย์ ขุนนาง อัศวิน พระสงฆ์ :
ชนชั้นนี้จะมีที่ดินเป็นของตนเอง มีอาณาจักรเป็นของตนเอง
2. ชนชั้นใต้ปกครอง : ราษฎร ชาวไร่ชาวนา ทาสติดที่ดิน : ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง
ต้องคอยรับแบ่งที่ดินมาจากชนชั้นปกครองอีกที ต้องเสียภาษีให้ชนชั้นปกครอง
และต้องจงรักภักดีสวามิภักดิ์ต่อชนชั้นปกครอง
4. การเกษตรกรรมในยุคนี้ ขุนนางจะแบ่งที่ดินให้ราษฎร ชาวไร่ชาวนา แต่ต้องส่งคืนในรูปของผลผลิต
หรือภาษี
5. ศิลปะในยุคนี้ จะได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาคริสต์ทั้งสิ้น เช่น
5.1 ศิลปะไบแซนไทน์ : วิหารมียอดโดม ซึ่งสามารถรักษาศิลปะแบบกรีกไว้ได้
5.2 ศิลปะโรมาเนสก์ : เน้นความเรียบง่ายกว่าไบแซนไทน์ เป็นศิลปะที่รับใช้ศาสนาคริสต์
มีการออกแบบให้ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นรูปโค้ง Arch โบสถ์วิหารจะมีผนังหนาทึบ เหมือน
ป้อมค่ายสงคราม เช่น หอเอนเมืองปิซา
5.3 ศิลปะโกธิค : รับใช้ศาสนาคริสต์ มักจะสร้างวิหารมียอดแหลม และเน้นงานประดับกระจกสี เช่น
วิหารโนตรดาม กรุงปารีส

เรื่องที่ 3 : ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
1. เริ่มต้นที่แหลมอิตาลี เป็นแห่งแรก
2. เป็นยุคที่ชาวยุโรปหันกลับไปฟื้นฟูความเจริญของอารยธรรมกรีกโรมัน

3. สาเหตุของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
3.1 เจ้าเมืองต่าง ๆ ในอิตาลีร่ำรวยจากการค้า ทำให้สนับสนุนงานด้านศิลปวิทยาการมาก
3.2 ความเสื่อมโทรมของศาสนจักร ทำให้ชาวยุโรปเริ่มเบื่อหน่าย
3.3 สงครามครูเสด เป็นการเปิดหูเปิดตาชาวยุโรปให้เห็นศิลปวิทยาการใหม่ ๆ
3.4 การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในยุโรปตะวันออก ทำให้ศิลปวิทยาการต่าง ๆ ไหลเข้าสู่
ยุโรปตะวันตก

4. ทฤษฎีสำคัญที่ชาวยุโรปหันไปกลับไปฟื้นฟู เช่น
4.1 ทฤษฎีมนุษยนิยม
4.2 ทฤษฎีประชาธิปไตย
4.3 ทฤษฎีธรรมชาตินิยม

5. ศิลปวิทยาการในยุคนี้ยิ่งแพร่ขยายมากยิ่งขึ้น เมื่อโยฮันเนส กูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมันประดิษฐ์แท่นพิมพ์
เพราะทำให้พิมพ์ตำราต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
6. ศิลปินเด่น ๆ ในยุคนี้เช่น 1. ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี 2. ไมเคิลแอนเจโล 3. ราฟาเอล
7. นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญ เช่น
1.โยฮัน กูเตนเบิร์ก : ประดิษฐ์แท่นพิมพ์
2.ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี : เป็นทั้งศิลปินและนักวิทยาศาสตร์
3.นิโคลัส โคเปอร์นิคัส : เสนอทฤษฎีสุริยจักรวาล
เรื่องที่ 4 : ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ (สมัยแห่งการค้นพบ : Age of Discovery)
1. นับจากเหตุการณ์ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบโลกใหม่
2. เหตุการณ์สำคัญในยุคนี้ เช่น
2.1 การเดินเรือทางทะเลแพร่หลายมาก ทำให้การค้าทางทะเลเฟื่องฟูตามมา
2.2 เกิดลัทธิพาณิชยนิยม คือ รัฐบาลของประเทศในยุโรป จะลงทุนตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อแสวงหา
ผลประโยชน์ทางการค้า
2.3 เกิดชนชั้นกลางขึ้นมา คือบรรดาพ่อค้า นายทุน นักเดินเรือ ขึ้นมาถ่วงดุลกับชนชั้นเจ้าที่ดิน
2.4 การปฏิรูปศาสนาคริสต์โดยมาร์ติน ลูเธอร์ ทำให้เกิดนิกายโปรเตสแตนท์

2.5 ยุคปฎิวัติวิทยาศาสตร์
1. เป็นยุคที่เปลี่ยนวิธีพิสูจน์ความจริงทางวิทยาศาสตร์
– จากเดิมเน้นใช้การคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาและหลักตรรกศาสตร์
– มาเป็นของใหม่ เน้นใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (คือเน้นทดลอง)
2. นักวิทยาศาสตร์สำคัญ เช่น
1. ฟรานซิส เบคอน
– เสนอแนวคิดว่าการค้นหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ต้องเน้นที่การทดลองหรือทดสอบ
– แนวคิดนี้ต่อมาเป็นรากฐานของการก่อตั้ง “ราชสมาคมแห่งลอนดอน
Royal Society of London” ซึ่งเป็น องค์กรทางวิทยาศาสตร์แบบใหม่
– และแนวคิดของฟรานซิส เบคอน นี้ ได้พัฒนาเป็น
“ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ Scientific Method”

2. กาลิเลโอ กาลิเลอิ
– บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
– ริเริ่มการทดลองเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของทฤษฎี
– เสนอว่าคณิตศาสตร์ใช้พิสูจน์ความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้
– สนับสนุนทฤษฎีสุริยจักรวาลของโคเปอร์นิคัส
– ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์

3. ไอแซค นิวตัน
– ค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลก
– ค้นพบหลักการแคลคูลัส

2.6 การปฏิวัติอุตสาหกรรม
1. เป็นยุคที่เปลี่ยนวิธีการผลิตสินค้าจากใช้แรงงานคนและสัตว์มาใช้เครื่องจักรในการผลิต

2. นักประดิษฐ์สำคัญ เช่น
1.โธมัส นิวโคแมน : พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำโดยใช้ลูกสูบ
2.จอห์น เคย์ : ประดิษฐ์กี่กระตุก
3.เจมส์ ฮาร์กรีฟ : ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายชนิดสปินนิงเจนนี
4.ริชาร์ด อาร์คไรท์ : ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายพลังน้ำวอเตอร์เฟรม
5.เจมส์ วัตต์ : พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำให้ดียิ่งขึ้น

Screen Shot 2558-06-19 at 9.55.08 AM

ตอบข้อ  2

วิชาสังคมศึกษา เรื่องประวัติศ่สตร์สากล (ครูปู)

การนับศักราชสากล
ศักราช
เริ่มเมื่อ
เทียบพ.ศ.
พุทธศักราช (พ.ศ.)
พระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพาน (ไทยนับถัดไป 1 ปี)

คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
พระเยซูประสูติ (B.C. = ปีก่อนพระเยซูประสูติ)
– 543
ฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.)
นบีมูฮัมหมัดอพยพชาวมุสลิมจากเมืองเมกกะไปเมืองเมดินะฮ์ พ.ศ.1165
– 1122
มหาศักราช (ม.ศ.)
สมัยพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะของอินเดีย ใช้ในสมัยสุโขทัย
-621
จุลศักราช (จ.ศ.)
ศักราชของพม่า ใช้ในสมัยอยุธยาถึงรัชกาลที่ 5
-1181
รัตนโกสินทร์ศก(ร.ศ.)
สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 – 6
-2324
การนับช่วงเวลา
– ทศวรรษ = รอบ 10 ปี [ทศวรรษที่ 2010 = ค.ศ.2010-2019]
– ศตวรรษ = รอบ 100 ปี [พุทธศตวรรษที่ 26 = พ.ศ.2501-2600]
– สหัสวรรษ = รอบ 1,000 ปี [สหัสวรรษที่ 3 = พ.ศ.2001-3000]
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre – Historical Period)
– สมัยก่อนที่มนุษย์จะประดิษฐ์ตัวอักษร
– ช่วงตั้งแต่ 1 ล้านปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง 5,000 ปีก่อน ค.ศ.
– วิทยาการ = มีความรู้เทคโนโลยีระดับต่ำ
+ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับความจำเป็นในชีวิตแบบง่ายๆ
เครื่องมือหยาบๆ ที่ทำด้วยหิน กระดูกสัตว์ และไม้
– การดำเนินชีวิต = เร่ร่อนจับสัตว์และขุดรากไม้กิน
– การศึกษาทางประวัติศาสตร์ = หลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางสภาพแวดล้อม เพราะยังไม่รู้จักใช้ตัวอักษร จึงไม่มีเอกสารจดบันทึก
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre – Historical Period) แบ่งเป็น 2 ยุค
1.1 ยุคหิน (Stone Age)
ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม
พัฒนาการทางวิทยาการ
สังคมล่าสัตว์
– มนุษย์เร่ร่อนตามแหล่งอุดมสมบูรณ์ อาศัยตามถ้ำและเพิงผา
– ล่าสัตว์และหาพืชผลไม้จากป่าเป็นอาหาร
– มีพิธีฝังศพ
– พบภาพวาดตามผนังถ้ำที่ใช้ฝุ่นสี
+ ยุคหินเก่า
– 2,500,000 – 10,500 ปี
– ใช้เครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว (ขวานกำปั้น) หรือทำจากกระดูกสัตว์
– รู้จักการใช้ไฟ
+ ยุคหินกลาง
– 10,500 – 10,000 ปี คือ
– ใช้เครื่องมือหินกะเทาะที่ประณีตขึ้น และขนาดเล็กลง
– รู้จักการทำเครื่องจักสาน
สังคมเกษตรกรรม
– มนุษย์ตั้งถิ่นฐานถาวร (กระท่อมดินเหนียว) รวมกันเป็นหมู่บ้านใกล้แหล่งน้ำ
– มีการประกอบพิธีกรรมบูชาสิ่งเหนือธรรมชาติเพื่อให้พืชเจริญงอกงาม
– สังคมมีความซับซ้อน มีการจัดสถานะทางสังคม การแบ่งงานกันทำ และการติดต่อแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างชุมชน
+ ยุคหินใหม่
– 10,000 – 4,000 ปี
– ใช้เครื่องมือหินขัด
– เริ่มมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
– รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ และการทอผ้า

1.2 ยุคโลหะ (Medal Age)
ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม
พัฒนาการทางวิทยาการ
สังคมเมือง
– มนุษย์อยู่รวมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่
– มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นนำไปสู่การพัฒนาเป็นรัฐในเวลาต่อมา
+ ยุคสำริด
– 4,000 – 2,700 ปี
– เครื่องมือที่ทำจากสำริด = ทองแดง + ดีบุก หล่อเป็นขวาน หอก ภาชนะ และเครื่องประดับ
+ ยุคเหล็ก
– 2,700 – 2,000 ปี คือ
– รู้จักนำเหล็กมาหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่คงทนกว่าสำริด
– เหล็กนำไปทำอาวุธพัฒนากองทัพมีกำลังทหารเข็มแข็ง ยึดครองสังคมอื่นได้
2. สมัยประวัติศาสตร์ (Historical Period)
– สมัยก่อนที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวในสังคม
– ช่วงตั้งแต่ 2,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นต้นมา
– แต่ละสังคมเริ่มสมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน
ยุคสมัย
อารยธรรมตะวันออก
อารยธรรมตะวันตก
จีน
อินเดีย
แบ่งตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์
แบ่งตามศูนย์กลางอำนาจ
แบ่งตามเหตุการณ์สำคัญ
สมัยโบราณ
ชาง โจว จิ๋น ฮั่น :
การวางรากฐานสู่การสร้างจักรวรรดิ
การสร้างรัฐของชาวอารยัน
การสั่งสมอารยธรรมและความเจริญ (เมโสโปเตเมีย /อียิปต์/กรีก/โรมัน)
สมัยกลาง
สุย ถัง ซ่ง หยวน :
ความรุ่งเรือง จนไปสู่การรุกรานของมองโกล
สุลต่านแห่งเดลี (มุสลิม)
การครอบงำโดยคริสต์ศาสนาและระบบขุนนาง (ศักดินาสวามิภักดิ์)
สมัยใหม่
หมิง ชิง :
การขับไล่มองโกล
อาณานิคมอังกฤษ
การปฏิวัติทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
สมัยปัจจุบัน
สาธารณรัฐสู่สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
เอกราชและการแยกประเทศ
สมัยสงครามอุดมการณ์ทางการเมือง (สงครามเย็น)

วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ กระบวนการค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ความจริงหรือใกล้เคียงความจริงมากที่สุด โดยอาศัยการวิเคราะห์จากหลักฐานประเภทต่างๆ

ขั้นตอนและวิธีการทางประวัติศาสตร์
1. กำหนดปัญหา

– ศึกษาอะไร ที่ไหน อย่างไร

– หัวข้อหรือประเด็นศึกษา ไม่กว้างหรือไม่แคบเกินไป

2. รวบรวมหลักฐาน

ค้นคว้าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ให้ครบถ้วนที่สุด

3. การตรวจสอบและประเมินคุณค่าของหลักฐาน(หรือการวิพากษ์) แบ่งได้ 2 ทาง

3.1 การตรวจสอบภายนอก (การวิพากษ์ภายนอก)

– เป็นของจริงหรือของปลอม

– เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือชั้นรอง

3.2 การตรวจสอบภายใน (การวิพากษ์ภายใน)

– หลักฐานน่าเชื่อถือหรือไม่

– ขัดแย้งกับหลักฐานอื่นหรือไม่

4. การตีความหลักฐาน แบ่งได้ 2 ระดับ

4.1 ตีความขั้นต้น

– ตีความตามตัวอักษรหรือรูปภาพ

4.2 ตีความขั้นลึก

– จุดมุ่งหมายของผู้เขียน

การตีความต้องวางใจเป็นกลาง การตีความเรื่องหนึ่งอาจไม่ใช่ข้อยุติ หากพบหลักฐานใหม่ สามารถตีความแตกต่างไปจากเดิมได้

5. การเรียบเรียงและการนำเสนอ

– ใช้ภาษาง่ายๆในการเรียบเรียงข้อมูล

– อธิบายอย่างสมเหตุสมผล ต่อเนื่อง

– นำเสนอน่าสนใจ

– อ้างอิงหลักฐาน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical source) หมายถึง ร่องรอยจากพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีตจากการกระทำ การพูด การเขียน การสร้างสรรค์ การอยู่อาศัย ความคิด โลกทัศน์ ความรู้สึก ประเพณี รวมทั้งสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมมนุษย์
การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
1. หลักฐานแบ่งตามลักษณะการบันทึก
1.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
– จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ เอกสารราชการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย และวรรณกรรม
1.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
– หลักฐานทางโบราณคดี เช่น โบราณวัตถุ โบราณสถาน เงินตรา เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก ฯลฯ
2. หลักฐานแบ่งตามแหล่งข้อมูลหรือความสำคัญ
2.1 หลักฐานชั้นต้น (ปฐมภูมิ)
– ผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรงได้บันทึก สร้าง หรือจัดทำขึ้น – เช่น บันทึกส่วนตัว กฎหมาย หนังสือพิมพ์ จดหมายโต้ตอบ รวมทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุ
2.2 หลักฐานชั้นรอง (ทุติยภูมิ)
– จัดทำขึ้นหลังจากเหตุการณ์นั้นๆ ผ่านพ้นไปแล้ว
– ส่วนใหญ่ปรากฏในรูปของงานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้นและเพิ่มเติมด้วยความคิดเห็นของผู้เขียน เช่น วิทยานิพนธ์ หนังสือเรียน ต่าง ๆ

อารยธรรมตะวันออก
อารยธรรม (Civilization) หมายถึง สิ่งที่สังคมมนุษย์ สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน ได้รับการถ่ายทอด และ สืบต่อกันมาจนกลายเป็นสังคม ชุมชนที่มีวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น จนมีความซับซ้อนของสังคมมนุษย์ เช่น ความสามารถในด้านเกษตรกรรม ความสามารถในการจัดสรรแรงงาน หรือการมีประชากรอาศัยในชุมชนมากพอที่จะก่อตั้งเป็นเมือง อารยธรรมอาจใช้รวมความถึงการประสบความสำเร็จของมนุษย์และการขยายถิ่นฐาน

อารยธรรมตะวันออก หมายถึง อารยธรรมจีนและอารยธรรมอินเดีย

อารยธรรมจีน
การสั่งสมอารยธรรมจีน
จีนเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แหล่งกำเนิดอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห ซึ่งมักประสบปัญหาอุทกภัยอยู่เสมอ จนมีชื่อเรียกว่า “แม่น้ำวิปโยค”
ปัจจัยที่ส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานของอารยธรรมจีน
1. ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห มีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากเต็มไปด้วยตะกอนสีเหลือง ที่เรียกว่า “ดินเลอส” (Loess) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเกษตร
2. ที่ราบสูงระหว่างภูเขาจนถึงที่ราบชายฝั่งทะเล ซึ่งล้อมรอบดินแดนจีนเปรียบเสมือน “ปราการธรรมชาติ” ส่งผลดีต่อการตั้งถิ่นฐานและการปกครอง เนื่องจากยากต่อการถูกรุกรานจากกลุ่มคนภายนอก

วัฒนธรรมจีน
1. ครอบครัวจีน
คนจีนผูกพันกับครอบครัวเน้นความกตัญญูและความเคารพนับถือผู้อาวุโส
2. ลัทธิที่มีอิทธพลต่อวัฒนธรรมจีน
2.1 ขงจื้อ ผู้ให้กำเนิดลัทธิขงจื้อ คือ……………………………………..
1) เน้นความสัมพันธ์5ประการ คือ กษัตริย์–ราษฎร บิดา–บุตร พี่–น้อง สามี–ภรรยา เพื่อน–เพื่อน
2) เน้นคุณสมบัติ 5 ประการ คือ ความสุภาพ โอบอ้อมอารี เมตตากรุณา จริงใจ และตั้งใจ
นอกจากนี้ขงจื้อยังเน้นปฏิบัติตาม “ทางสายกลาง” โดยไม่ทำอะไรมากไปหรือน้อยไปทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล
3) เน้นจารีตประเพณีการอบรมในครอบครัว ยกย่องคนมีความรู้
4) ลัทธิของขงจื้อมีอิทธิพลต่อการปกครองของจีน มีการนำตำราขงจื้อไปใช้สอบเข้ารับราชการ
2.2 เต๋า ผู้ให้กำเนิดลัทธิเต๋าคือ………………………………………..

1) เน้น……………………………………..และการปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ
2) เน้นการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย การหาความสงบ ความถ่อมตน ความรัก
3) มีอิทธิพลอย่างยิ่งโดยเฉพาะต่อจิตรกรรมของจีน
3. ศาสนาพุทธนิกายมหายาน

– เน้นสมาธิ และ การประกอบกรรมดี

ศิลปวัฒนธรรมจีน
1. สถาปัตยกรรม
– กำแพงเมืองจีน สมัยราชวงศ์จิ๋น
– พระราชวังปักกิ่ง สมัยราชวงศ์หมิง
– พระราชวังฤดูร้อน สมัยราชวงศ์ชิง
– ส่วนสถาปัตยกรรมสมัยแรกเหลืออยู่น้อยมากเนื่องจากมักสร้างด้วยไม้
2. ประติมากรรม
– เครื่องปั้นดินเผา โดยเฉพาะเครื่องเคลือบเซลาคอน(เขียวไข่กา) และเครื่องลายคราม
– การแกะสลักงาช้าง หินอ่อน หยก และ รูปปั้นต่างๆ
3. จิตรกรรม
– ภาพและรูปสลักที่หลุมฝังศพ ภาพวาดบนผ้าไหม
4. วรรณกรรม
– ตำราทั้ง 5 เล่มของขงจื้อ
ชือจิง: ร้อยกรองและบทเพลง
ชูจิง: ประวัติศาสตร์
ซุนชิว: จดหมายเหตุสั้นๆ
อีจิง: ตำราพยากรณ์
หลีจี้ : พิธีกรรม
– ผลงานประวัติศาสตร์ของ ซือหม่าเฉียน เช่น ซือจี้
– กวีนิพนธ์ราชวงศ์ถัง ได้แก่ กวีนิพนธ์ของ ลิโป,ตูฟู และป๊อจิ๋วอี้
– สามก๊ก
– ซ้องกั๋ง: แสดงความทุกข์ยากของประชาชนสมัยมองโกล
– ไซอิ๋ว: อภินิหาร
– จินผิงเหมย (ดอกบัวทอง): ชีวิตครอบครัว
– หงโหลวเมิ่ง (ความฝันในหอแดง): เรื่องเกี่ยวกับราชสำนักก่อนการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคใหม่
อารยธรรมจีนสมัยประวัติศาสตร์
1.ราชวงศ์ชาง
– เป็นราชวงศ์แรกของจีน
– เป็นการปกครองแบบนครรัฐ โดยกษัตริย์
– มีการเขียนตัวหนังสือจีน ซึ่งพัฒนามาจากอักษรบน “กระดูกเสี่ยงทาย”
– เริ่มมีการบูชาบรรพบุรุษและเทพเต้าประจำธรรมชาติ
2.ราชวงศ์โจว
– ปกครองแบบศักดินา
– ใช้หลัก “อาณัติแห่งสวรรค์”หรือ “เทียนหมิง” คือ กษัตริย์เป็นโอรสของสวรรค์ถ้าพระองค์ปกครองแบบไร้คุณธรรม จะถูกเพิกถอนจากอาณัติสวรรค์
– ตอนปลายราชวงศ์เกิดสงครามระหว่างนครรัฐต่างๆจึงเกิดนักปราชญ์เสนอความคิดเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เช่น ขงจื้อ เม่งจื้อ ม่อจื้อ
3.ราชวงศ์จิ๋น(ราชวงศ์ฉิน)
– จีนรวมจักรวรรดิสำเร็จเป็นครั้งแรก โดยพระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ้องเต้
– มีการใช้บังคับให้คนจีนใช้ภาษาเขียน มาตราชั่ง ตวง วัด และเหรียญกษาปณ์ เหมือนกันทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งอันเดียวกัน
– สมัยนี้มีการเผาตำรา…………………..และฆ่านักปราชญ์ที่รู้ตำรา……………………เป็นจำนวนมาก
4.ราชวงศ์ฮั่น
– จีนเจริญอย่างมากทางด้านการค้า โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าฮั่น หวู ตี
– เป็นสมัยที่เส้นทางการค้าที่ชื่อว่า “เส้นทางสายแพรไหม”(Silk Road) โด่งดังไปทั่วโลก
– มีการฟื้นฟูลัทธิของลัทธิขงจื้อมาใช้เป็นหลักในการปกครอง ทั้งนี้โดยการนำตำราขงจื้อมาใช้เป็นหลักในการสอบเข้ารับราชการ (การสอบจอหงวน)
5.ราชวงศ์สุย
– ก่อนหน้าราชวงศ์สุย จีนแตกแยกเป็นยุค 3 ก๊ก 6 ราชวงศ์
– หลังจากที่รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง กษัตริย์ราชวงศ์สุยได้พยายามปรับปรุงประเทศและนำความเจริญมาสู่จีน รวมทั้งขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวาง
– ราชวงศ์สุยขึ้นปกครองชั่วระยะเวลาสั้นๆ เพียง 29 ปี
– ปรับปรุงระบอบเศรษฐกิจใหม่ให้รัดกุมขึ้นกว่าเดิม มีการสำรวจชื่อผู้เสียภาษี ลดอัตราภาษีและยังแบ่งที่ดินให้ราษฎรทำกิน ทรงฟื้นฟูและสนับสนุนกิจการค้าและงานช่างฝีมือต่างๆ
– ผลงานสำคัญของสมัยนี้คือการขุดคลองเพื่อเชื่อมแม่น้ำฮวงโหทางตอนเหนือและแม่น้ำแยงซีทางตอนล่างเพื่อขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการค้าขาย
6.ราชวงค์ถัง
– ยุคทองแห่งอารยธรรม โดยเฉพาะทางด้านกวีนิพนธ์และจิตรกรรม
– ในสมัยนี้จีนมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าสมัยใดๆ มีการติดต่อกับต่างประเทศ มีความก้าวหน้าแทบทุกด้าน
– ในด้านการปกครองนั้นมีการเปลี่ยนการปกครองขุนนางมาเป็นแบบข้าราชการ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะว่ามีการสอบคัดเลือกเข้ามา
– มีการสำรวจประชากรเป็นครั้งแรก

***ยุคห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 907-960)
– ไม่มีราชวงศ์ใดมีอำนาจปกครองทั่วทั้งจักรวรรดิจีนอย่างแท้จริง แต่ก็มีนักประวัติศาสตร์บางพวกได้พยายามลำดับการต่อเนื่องของ 5 ราชวงศ์สั้นๆ ที่เข้ามาปกครองประเทศจีน แต่ถึงแม้ว่าในสมัยนี้จะมีความแตกแยก แต่วัฒนธรรมจีนก็ไม่ได้หายไป ความเจริญต่างๆ ก็พัฒนากันอย่างต่อเนื่องเป็นรากฐานของราชวงศ์ต่อมา

7.ราชวงค์ซ่ง (ซ้อง)
– สมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นสมัยติดต่อกับโลกภายนอก
– ราชวงศ์ซ่งยังคงสืบทอดระบอบการปกครองของราชวงศ์ถัง โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองหลวง ตำแหน่งที่สำคัญๆ ทางการปกครองมักตกอยู่ในมือของเชื้อพระวงศ์ที่ใกล้ชิดกับพระจักรพรรดิ
– ประสบความรุ่งเรืองทางด้านการค้าทางทะเลเป็นอย่างมาก
8. ราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1279 – 1368)
– สมัยนี้จีนอยู่ใต้การปกครองของมองโกล ชาวตะวันตกได้เข้ามายังจีนในรัชสมัยนี้ด้วย กลุ่มแรกคือ มาร์โค โปโล ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ชาวยุโรปได้มาถึงจีนและรับราชการในราชวงศ์ของจีน
– นโยบายสำคัญของราชวงศ์นี้คือ การขยายจักรวรรดิ
9. ราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644)
– ราชวงศ์นี้ยังถือได้ว่าเป็นยุคฟื้นฟูวัฒนธรรมจีน และได้มีการติดต่อกับต่างประเทศแถบเอเชียอาคเนย์เป็นครั้งแรก
– เกิดระบบบรรณาการหรือระบบ “จิ้มก้อง”
10. ราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911)
– สมัยนี้ใช้การปกครองแบบเก่า คือ อำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์
– อิทธิพลในตะวันตกได้ขยายเข้ามาในจีนมากขึ้น รัฐบาลจีนพยายามต่อต้านและควบคุมการค้าขาย ผลก็คือทำให้เกิดสงครามฝิ่นกับอังกฤษ ผลของสงคราม จีนแพ้อังกฤษ
– มีการปฏิวัติ โดยมีดร.ซุนยัดเซ็นเป็นหัวหน้า ยึดอำนาจราชวงศ์ชิงลงได้ และได้เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ ราชวงศ์ชิงจึงได้สิ้นสุดลง
อารยธรรมจีนสมัยปัจจุบัน
– ราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองจีน คือราชวงศ์ชิง(เช็ง)อ่อนแอ ทำให้จีนตกต่ำท้านด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพ้สงครามต่างชาติ ตลอดจนต้องทำสัญญาเสียเปรียบต่างชาติหลายฉบับ เช่น สัญญานานกิง
– ดร. ซุนยัดเซน ประกาศลัทธิไตรราษฎร์ คือ……………………………………………………………………………………………ล้มราชวงศ์ชิง(แมนจู) ตั้งสาธารณรัฐ ช่วยเหลือคนจน จัดสรรที่ดินให้ประชาชน
– ต่อมาคณะปฏิวัติของ ดร.ซุน ยัด เซ็น สามารถเปลี่ยนประเทศมาเป็น สาธารณรัฐ สำเร็จ โดยมอบให้ หยวนซื่อไข่ เป็ประธานาธิบดีคนแรก
– สมัยหยวน ซื่อ ไข จีน แตกแยก เป็น “ยุคขุนศึก” มีการสู้รบเพื่อช่วงชิงอำนาจกันเอง
– เมื่อ เจียง ไค เช็ค ขึ้นเป็นประธานาธิบดี จีนต้องพบกับปัญหาทั้งการคุกคามจากญี่ป่นและอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์
– ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์นำโดย “เหมา เจ๋อ ตุง” ยึดอำนาจสำเร็จ เปลี่ยนประเทศจีนมาเป็น “สาธารณรัฐประชาชนจีน”
– เจียง ไค เช็ค ต้องอพยพพลพรรค ก๊ก มิน ตั๋ง ไปตั้งมั่นที่เกาะ…..ใต้หวัน…….
สมัสมัย เหมา เจ๋อ ตุง

– จีนใช้ระบบ คอมมิวนิสต์ ปิดประเทศ ประกาศใช้นโยบายพึ่งตนเอง
– จีนใช้ระบบนารวม ด้วยการระดมมวลชนร่วมกันทำนา(ยกเลิกกรรมสิทธิ์ในที่ดินของบุคคล ให้ชาวนาเป็นลูกจ้างของรัฐและผลิตตามที่รัฐกำหนด)
– เกิด “การปฏิวัติวัฒนธรรม” เพื่อจำกัด “สี่เก่า” คือ ประเพณีเก่า วัฒนธรรมเก่า ความคิดเก่า นิสัยเก่า โดยใช้พลังจากกลุ่มเยาวชน………………………………………………………………
– มีการกวาดล้างคู่แข่งทางการเมือง
สมัสมัย เติ้ง เสี่ยว ผิง

– จีนเปิดประเทศ โดยใช้นโยบาย สี่ทันสมัย คือ เร่งพัฒนา “เกษตรกรรม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การทหาร”
– จีนเป็นระบบทุนนิยมมากขึ้น อนุญาตให้เอกชนและต่างชาติเข้ามาลงทุนได้
– เติ้ง เสี่ยว ผิง เป็นผู้คิดนโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ ” มาใช้กับ………………………..และ……………………
สมัยปัจจุบัน
– ปัจจุบันจีนปกครองโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรี
– ลักษณะการปกครองของจีนยังคงเป็นเผด็จการอำนาจนิม(คุม อำนาจทางการเมืองโดยพรรคคอมมิวนิสต์)
สรุปจีนสมัยใหม่-ปัจจุบัน
– หลังเปลี่ยนประเทศมาเป็นระบบสาธารณรัฐ นักศึกษา พ่อค้า และคนงานเริ่มมีความสำคัญขึ้น
– ภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ที่เปลี่ยนแลงใน คศ. 1949 จีนปราศจากชนชั้น แต่ผู้คนขาดเสรีภาพ
** แต่ผู้มีบรรพบุรุษเป็นชาวนาและผู้ใช้แรงงานจะได้รับยกย่องอย่างมาก
– ภายหลังเมื่อจีนเปิดประเทศ นักธุรกิจและนายทุนมีความสำคัญมากขึ้น
– ปัจจุบันจีนบังคับให้พ่อแม่มีลูก …………………………..

อารยธรรมญี่ปุ่น
1. ญี่ปุ่นโบราณตกอยู่ใต้การปกครองของ…………………….(หัวหน้าตระกูลขุนนางที่มีอำนาจมากที่สุด)
– ญี่ปุ่นใช้ระบบศักดินา มีพระจักรพรรดิเป็นประมุขของประเทศ มีตระกูลขุนนางต่าง ๆ ผลัดกันขึ้นมามีอำนาจปกครองประเทศ
2. คริสต์ศตวรรษที่ 17-19 ญี่ปุ่นปิดประเทศ (ค้าขายเฉพาะกับฮอลันดาและจีน)
– ช่วงที่ญี่ปุ่นปิดประเทศ ชนชั้นสูงสนใจติดตามความก้าวหน้าของชาติตะวันตกและศิลปะจีน
3. ต่อมาญี่ปุ่นถูก สหรัฐอเมริกาบีบบังคับให้เปิดประเทศ ด้วยการทำสนธิสัญญา “คานากาวะ” และ “แฮริส” ตามลำดับ
สมัยเมจิ
1. จักรพรรดิมัตสุหิโต เข้ายึดอำนาจจากโชกุน แล้วปฏิรูปญี่ปุ่นให้ทันสมัย ญี่ปุ่นเจริญมากจนได้ชื่อว่า สมัยเมจิ(Meiji)
ใน ยุคเมจิญี่ปุ่นปรับปรุงการปกครองหลายประการ เช่น

1) รวมอำนาจอยู่ที่………………………………………..
2) ประกาศรัฐธรรมนูญเมจิ ค.ศ.1889
3) ใช้การปกครองแบบรัฐสภา
– รัฐสภาของญี่ปุ่นชื่อ “สภาไดเอต” ประกอบด้วยสภาขุนนางและสภาผู้แทนราษฎร
– เกิดการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก
4) จัดตั้งกระทรวง
5) ยกเลิก “แคว้น” เปลี่ยนเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
6) มีการเกณฑ์ทหาร

หลังสมัยเมจิ
1) ญี่ปุ่นทำสงครามกับจีนเพื่อแย่งชิงเกาหลี – ญี่ปุ่นชนะ

2) ญี่ปุ่นทำสงครามกับรัฐเซีย เรื่องเกาหลี – ญี่ปุ่นชนะ

– การที่จีนมีชัยชนะเหนือจีนและรัฐเซีย >ชัยชนะครั้งนี้เป็นการประกาศถึงความสามารถของญี่ปุ่นที่ทัดเทียมกับชาติตะวันตกและยังเป็นกำลังใจให้ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย มีกำลังใจต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตัวเองจากมหาอำนาจตะวันตก
3) ญี่ปุ่นยึดครองแมนจูเรียของจีนได้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

4) ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่2 ตกอยู่ใต้ปกครองสหรัฐอเมริกา สหรัฐได้ปฏิรูปญี่ปุ่นหลายประการ เช่น

– ห้ามญี่ปุ่นมีกองทหารของตัวเอง (ให้มีพียงกองกำลังป้องกันประเทศที่ไม่อาจรุกรานใครได้)

– ห้ามผู้นำที่มีอำนาจระหว่างสงครามดำรงตำแหน่งสงครามได้

– ทำรายการผูกขาดเศรษฐกิจ ของกลุ่มอิธิพลในญี่ปุ่น โดยเน้นแนวเสรีนิยม

– ให้สิทธิ์เลือกตั้งแก่สตรี

– ขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 9 ปี

5) ปัจจุบันญี่ปุ่นปกครองแบบรัฐสภา โดยมีนายกเป็นหัวหน้ารัฐบาล

– รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันใช้มาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1946 – จนถึงปัจจุบัน)

ญี่ปุ่นสมัยใหม่
– ญี่ปุ่นเริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อเปิดประเทศติดต่อกับตะวันตก อาชีพ…………………………เริ่มสำคัญขึ้น
– ต่อมาในยุคเมจิมีดารยกเลิกชนชั้นนักรบ และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการยกเลิก ชนชั้นขุนนาง
– ปัจจุบันคนญี่ปุ่นทุกคนมีความเท่าเทียมกัน (เสมอภาค)

อารยธรรมเกาหลี
1. เกาหลีโบราณปกครองโดยจักรพรรดิ มีความใกล้ชิดกับจีนด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ และการพูด
2. สมัยจักรวัตินิยม เกาหลีตกอยู่ใต้การปกครองของญี่ปุ่น
3. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีได้รับเอกราชจากญี่ปุ่น
4. ต่อมาเกาหลีเกิดสงครามกลางเมือง ต้องแยกออกเป็น 2 ประเทศ คือ
1) เกาหลีเหนือ ปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต

2) ปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา ทั้งด้านเศรษฐกิจ และการทหาร เกาหลีใต้ถึงพัฒนาอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นประเทศอุสาหกรรมใหม่

5. ค.ศ. 1950 เกาหลีเหนือส่งกำลังโจมตีเกาหลีใต้ จนเกิดเป็นสงครามเกาหลี
อารยธรรมอินเดีย

อารยธรรมอินเดียเป็นแม่ของวัฒนธรรม เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา และ ประเทศในเอเชียอาคเนย์

1.ปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์อารยธรรมจีน
1. ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (West) – คงคา (East) กว้างใหญ่ มีหลายสาขา
à แหล่งน้ำเพื่อการบริโภคและการเกษตร
2. กลุ่มเทือกเขาหินใหม่ (Himalaya/Vindhya/Western Ghat/Eastern Ghat) อยู่ล้อมรอบที่ราบสูงเดคข่าน (ที่ราบสูงระหว่างภูเขา)
à ปราการธรรมชาติ
à การติดต่อคมนาคมลำบาก
3. อิทธิพลลมสินค้า (พัดเข้าทิศตะวันออกของทวีปที่ละติจูด 0-30oN/S)
– อินเดียด้านตะวันออก (ลมค้าพัดจากทะเลเข้าแผ่นดิน) à ชุ่ม ชื้น
– อินเดียตอนใน (ลมค้าพัดจากแผ่นดินออกทะเล/เทือกเขากั้นลม) à แห้ง แล้ง
4. แหล่งแร่โลหะ เช่น ทอง คำ

2.อารยธรรมโบราณลุ่มแม่น้ำสินธุ
– พบที่เมืองฮารัปปา และโมเฮนโจ ดาโร ปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ในประเทศปากีสถาน
– เป็นเมืองโบราณ มีจุดเด่นคือมีการก่อสร้างและวางผังเมือง ถนน ท่อระบายน้ำ สถานที่อาบน้ำสาธารณะ

– พบจารึกลายลักษณ์อักษร แต่ยังไม่มีใครอ่านออก (จึงถือว่าเป็นอารยธรรมสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์)

3. อารยธรรมสมัยที่พวกอารยันเข้ามาตั้งถิ่นฐานแล้ว
3.1 สมัยพระเวท
1) ชาวอารยันซึ่งมีเชื้อสายอินโด-ยูโรเปียน อพยพเข้ามาในอินเดียและขับไล่พวกฑราวิทให้ถอยร่นไปทางใต้
-อารยันเป็นเผ่าเร่รอนมาก่อน ไม่สร้างงานศิลปกรรม
2) สมัยพระเวทได้เกิดวรรณกรรมสำคัญ คือ
1) คัมภีร์พระเวท
2) มหากาพย์รามายณะ และ มหากาพย์มหาภารตะ
3.2 สมัยพุทธกาล
– เป็นสมัยที่เกิดศาสนาพุทธและศาสนาเชน
3.3 สมัยจักรวรรดิเมารยะ
1) อินเดียถูกเปอร์เซีย (พระเจ้าดาริอุส) และกรีก (พระเจ้าอเล็กซานเดอร์) รุกราน
2) ต่อมาพระเจ้าจันทรคุปต์ สามารถรวบรวมอินเดียเป็นจักรวรรดิได้สำเร็จ
3) กษัตริย์สำคัญสมัยนี้ คือ พระเจ้าอโศกมาหาราช ซึ่งทรงเป็นองค์สำคัญในการอุปถัมภ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนา และพระอง์ทรงใช้หลักธรรมในการปกครอง(ธรรมศาสตร์)
3.4 สมัยราชวงศ์กุศาณะ – ราชวงศ์อันธาระ
1) เมื่อจักรวรรดิเมารยะเสื่อม อินเดียถูกปกครองโดยสองราชวงศ์
2) กุษาณะเข้าปกครองดินแดนอินเดียทางเหนือ
-กษัตริย์องค์สำคัญคือ พระเจ้ากนิษกะ ที่ศรัทธาและโปรดให้เผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายมหายานไป ยังจีนและทิเบต
3) อันธาระเข้าปกครองดินแดนอินเดียทางใต้ **มีเมืองสำคัญคือ ‘อมราวดี’
– เกิดการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดีย และกรีก เรียกว่า ศิลปะแบบคันธาระ
3.5 สมัยจักรวรรดิคุปตะ
1) อินเดียสามารถรวบเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งโดยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่1 ต้นราชวงศ์คุปตะ
2) สมัยคุปตะถือเป็น ยุคทองของอินเดีย มีความเจริญทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครองศาสนา ปรัชญา ตลอดจนการค้า เช่น

– ความเจริญด้านการศึกษา
– ความเจริญด้านวิทยาการ
– ความเจริญด้านการการแพทย์
3.6 ยุคกลางของอินเดีย
1)จักรวรรดิคุปตะถูกพวกฮั่นขาวรุกรานและทำลาย จักวรรดิแยกอีกครั้ง
2)เกิดราชวงศ์ต่างๆขึ้นปกครองอินเดีย
บริเวณ
ราชวงศ์ที่ปกครอง

เหนือ
หรรษา(พระเจ้าหรรษวรรธนะ)

แคว้นเบงกอล
ปาละและเสนะ
แคว้นคุชราต
คุชาร์
ปัญจาบ
ราชปุต
อินเดียกลาง
อาณาจักรชาลุกยะ
ตะวันออกเฉียงใต้
อาณาจักรปัลลวะ
ใต้สุด
อาณาจักรโจฬะ (ทมิฬ)

3.7 สมัยสุลต่านแห่งเดลฮีหรืออาณาจักรเดลฮี
-อินเดียถูกปกครองโดยพวกมุสลิม มีศูนย์กลางการปกครองที่ “เดลฮี”
-พวกเตอร์กทำลายศาสนาสถานของศาสนาพุทธและฮินดูในอินเดีย และบังคับให้คนอินเดียนับถือศาสนาอิสลาม
สุลต่านแห่งเดลฮี – ประกาศให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำอาณาจักร
– นโยบาย
1. ทำลายศาสนสถานของพระพุทธศาสนา à พระพุทธศาสนาเริ่มเลือนหายไปจากอินเดีย
2. ทำลายศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
3. เก็บภาษีคนนอกศาสนา = ภาษีจิซยา (Jizya)
– คนอินเดียส่วนมากยังนับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
ปัจจัยที่ทำให้ชาวอินเดียหันมานับถือศาสนาอิสลาม
1. ศาสนาอิสลามไม่มีการแบ่งวรรณะ
2. ชาวอินเดียบางส่วนต้องการหลีกเลี่ยงภาษีจิซยา
3. ความก้าวหน้าในราชการ
3.8สมัยจักรวรรดิโมกุล
1) พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลขึ้นมา ทรงจัดตั้งจักรวรรดิโมกุลเป็นจักรวรรดิอิสลาม
2) จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ ได้แก่
-อักบาร์มหาราช (Akbar the great) èบทบาทสำคัญคือ……………………………………………………

-ชาห์ เยฮัน (Shah Jahan) ผู้สร้างทัชมาฮาล สร้างเพื่อè
3) ต่อมาสมัยพระเจ้าออรังเซป มีนโยบายกดขี่ทางศาสน า ทำให้ชาวฮิน ดูก่อนการกบฎหลายครั้งทำให้จักรวรรดิโมกุล(สมัยราชวงค์มุคัล)เสื่อมอำนาจลงอินเดียจึงและตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

4.1 ครอบครัวอินเดีย
– เป็นครอบครัวร่วม มีเครือญาติอาศัยร่วมกันในบ้านเดียวกัน

– เป็นครอบครัวที่มีความผูกพันกัน หัวหน้าครอบครัวร่วมคือผู้ชายที่มีอายุมากที่สุด

– พ่อแม่เป็นผู้จัดการเลือกคู่และแต่งงานแก่ลูกสาว เมื่อแต่งงานหญิงจะอยู่ในความดูแลของสามี

– ในสมัยโบราณอินเดียมี “พิธีสติ” คือ พิธีกรรมที่ภรรยาฆ่าตัวตายตามสามี

4.2 สิ่งที่ผลต่อสังคมอินเดีย

ความสำคัญของระบบวรรณะ

1.) ระบบวรรณะ ซึ่งมีด้วยกัน 4 วรรณะ คือ
– พราหมณ์ : นักบวช

– กษัตริย์ : ผู้ปกครอง นักรบ

– แพศย์ : พ่อค้า ชาวนา ช่างฝีมือ

– ศูทร : กรรมกร
2.) ศาสนา
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาเก่าแก่ที่สุด มีคัมภีร์ดั้งเดิมภาษาสัณสกฤต ของพวกอารยัน
พวกพราหณ์มีการบูชาเทพเจ้า(ฤคเวท)นับถือเทพเจ้าหลายองค์ ต่อมาได้รวบรวม พระเวท แบ่งเป็น 4 คัมภีร์ย่อย ได้แก่

– ฤคเวท : บทสรรเสริญพระเจ้า
– ยชุรเวท : แบบแผนประกอบพิธีกรรม
– สามเวท : ใช้ในพิธีถวายน้ำโสมแก่พระเจ้า
– อาถรรพเวท : เวทมนตร์คาถาอาคม
ต่อมามี คัมภีร์อุปนิษัท ความคิดทางปรัชญาที่เพิ่มเติมเป็นตอนสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท มุ่งเน้นให้เกิดความเที่ยงแท้
ศาสนาฮินดู มีพัฒนาการมาจากความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ + คัมภีร์อุปนิษัท
นับถือเทพเจ้าสูงสุด = ตรีมูรติ ได้แก่
1. พระพรหม = พระผู้สร้าง
2. พระนารายณ์ (พระวิษณุ) = พระผู้รักษา
3. พระศิวะ (พระอิศวร) = พระผู้ทำลาย

èศาสนาพุทธ ศาสดาคือ……………………………..เชื่อว่า สรรพสิ่งเกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ มีเกิดขึ้น คงอยู่ เปลี่ยนแปลง และดับสูญ à อนัตตา = ความไม่มีตัวตน หลักธรรมสำคัญ คืออริยสัจ

– อริยสัจ 4 คือ หลักปรัชญาการดำเนินชีวิตเพื่อมุ่งสู่การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด = นิพ พาน

èศาสนาซิกข์ เกิดในปี ค.ศ.1469 ผู้ก่อตั้ง คือ ท่านคุรุนานัก เกิดจาก………………………………
มีการใช้ภาษาอูรดู = ภาษาเปอร์เซีย + ภาษาอารบิก ปัจจุบันเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน
ศิลปวัฒนธรรมาอินเดีย
– ยุคทองของศิลปะอินเดียคือ ราชวงศ์คุปตะซึ่งมีเสถียรภาพทางการเมือง
5.1 สถาปัตยกรรม เช่น
– ถ้ำที่ใช้เป็นศาสนาสถาน เทวสถาน
– สถูปรูปบาตรคว่ำที่สัญจี
– หอคอยแห่งชัยชนะที่กรุงเดลี และสุสานทัชมาฮัล (ราชวงศ์โมกุล)
5.2 ประติมากรรม
– ที่สำคัญคือ พระพุทธรูปรุ่นแรกที่ได้อิทธิพลจากกรีก คือ พระพุทธคันธารราษฎร์
– นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปที่งดงามสมัยคุปตะ และ เสาหินสมัยโมริยะ(เสาอโศก)
5.3 จิตรกรรม
– มักเป็นจิตรกรรมภาพฝาผนังถ้ำ เช่น จิตรกรรมที่ถ้ำอชันตะ
5.4 นาฏศิลป์และสังคีตศิลป์
-มีการฟ้อนรำ
5.5 วรรณกรรม
1) พระเวท แบ่งเป็น
– ฤคเวท : บทสรรเสริญพระเจ้า
– ยชุรเวท : แบบแผนประกอบพิธีกรรม
– สามเวท : ใช้ในพิธีถวายน้ำโสมแก่พระเจ้า
– อาถรรพเวท : เวทมนตร์คาถาอาคม
2) อุปนิษัท
– ปรัชญาว่าด้วยเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด
3) รามายณะและมหาภารตะ
– รามายณะเป็นเรื่องการต่อสู้ของ………………………………………
– มหาภารตะเป็นการรวมวิทยาการแขนงต่าง ๆ ของอินเดียเข้าไว้ด้วยกัน
** ภควคีตาเป็นบทที่ไพเราะและมีชื่อเสียงที่สุดของมหาภารยุทธ **
4) ธรรมศาสตร์
– แสดงวิถีชีวิตของคนอินเดียโบราณ เพราะ เป็นทั้งกฎหมาย ศาสนาบัญญัติ และจารีตประเพณี
5) นิติศาสตร์และอรรถศาสตร์
– เป็นเรื่องของการเมืองการปกครองที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา
6) ศกุนตลา แต่งโดย กาลิทาส
7) พระไตรปิฎก
8) พุทธจริต ของ อัศวโฆษะ
6. วิทยาการอินเดีย
1) ภาษาศาสตร์
2) การเมืองและกฎหมาย เห็นได้จาก ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และอรรถศาสตร์
3) ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ และปฏิทิน
4) คณิตศาสตร์ เริ่มใช้เลข…………………..และเครื่องหมาย…………………..
5) การแพทย์

อินเดียสมัยปัจจุบัน
อินเดีย โบราณปกครองด้วยกัน 2 ระบบ
1. สาธารณรัฐ ใช้ในรัฐบริเวณตอนเหนือ
2. ราชาธิปไตย ใช้ในบริเวณรัฐตอนใ และลุ่มแม่น้ำคงคา
– อังกฤษเข้ายึดอินเดีย อินเดียแบ่งอาณาจักรออกเป็นมณฑล เขต และเขตย่อย
– ค.ศ.1858 อังกฤษเข้าควบคุมอินเดีย สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย สถาปนาเป็นพระจักรพรรดินีของอินเดียใน ค.ศ.1877
1) อังกฤษเข้ามาเปลี่ยนแปลงการปกครองของอินเดียหลายอย่าง เช่น
– ให้ดินแดนต่าง ๆ อยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน
– แบ่งอินเดียออกเป็น 500 แคว้น
– บางแค้วนอังกฤษยอมให้เจ้าผู้ครองนครเดิมปกครอง อยู่ภายใต้การดูแลของอังกฤษ ดังนั้นตำแหน่งมหาราชบางแคว้นจึงยังคงสืบทอกมาจนถึงปัจจุบัน
– วางรากฐานการปกครองประชาธิปไตยให้อินเดีย
– จัดระเบียบบริหารราชการ กฎหมาย การศาล การศึกษาเป็นแบบฉบับเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นผลดีอย่างมากในการหล่อหลอมอินเดียให้มีเอกภาพบนความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมประเพณี
2) นอกจากนี้อังกฤษยังเข้ามาปรับปรุงหลายเรื่อง เช่น
– ยกเลิกพิธีกรรมบางอย่าง
– สร้างความเจริญทางด้านวัตถุ เช่น รถไฟ ถนน ไปรษณีย์โทรเลข คลอง เพิ่มผลผลิต

การเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ
– เกิดขบวนการชาตินิยมเพื่อเรียกร้องเอกราชในอินเดีย
– ภายใต้การนำของมหาตมะ คานธี และเยาวราลย์ เนห์รู ประชาชนจำนวนมาหาศาลเข้าร่วมด้วย
§ วิธีการของคานธี คือ สัตยานุเคราะห์ โดยยึดถือ “อวิหิงสา” คือไม่ทำร้ายกัน แต่ต่อสู้ด้วยความอดกลั้น อดทน และประท้วงอย่างสงบ เช่น เรียกร้องไม่ให้เสียภาษี ไม่ให้ซื้อสินค้าของอังกฤษ ไม่ทำงานกับอังกฤษ
– อังกฤษใช้กำลังปราบปราม จนถูกชาวโลกประณามว่าเหี้ยมโหด ไร้มนุษยธรรม
– การที่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นชาวตะวันออกสามารถเอาชนะรัฐเซียซึ่งเป็นชาวตะวันตกได้ ทำให้อินเดียมีกำลัใจในการต่อสู้กับอังกฤษ
– ในสมัยสงครามโลหครั้งที่ 2 ชาวอินเดียส่วนหนึ่งร่วมมือกับญี่ปุ่นทำสงครามกังอังกฤษในพม่าและในอินเดีย อังกฤษถูกสหรัฐอเมริกาบีบให้ประนีประนอมกับชาวอินเดีย เพื่อไม่ให้ชาวอินเดียไปร่วมมือกับฝ่ายอักษะ ประกอบกับต้องพึ่งพาทรัพยากรและทหารจากอินเดียทำสงคราม อังกฤษจึงสัญญาว่าจะให้เอกราชแก่ชาวอินเดียทันทีที่สงครามยุติลง
อินเดียหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ
– อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษใน ค.ศ.1947
– เนห์รูเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ตามด้วยนางอินทิรา คานธี และนายราจีฟ คานธี บุตรชาย ซึ่งทั้งสองถูกลอบสังหาร
– ตั้งแต่ ค.ศ.1991 เป็นต้นมา รัฐบาลที่ปกครองอินเดียเป็นรัฐบาลผสม ทำให้การเมืองของอินเดียไม่มีเสถียรภาพเท่าที่ควร
– อินเดียเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประชาธิปไตยของอินเดียมีเสถียรภาพมาก ทั้งนี้เพราะไม่เคยมีการรัฐประหารหรือใช้กำลังทหารเข้าปกครองแบบเผด็จการเลย

พัฒนาการของประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้
– ปากีสถานแยกตัวออกจากอินเดียใน ค.ศ.1947 โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
ปากีสถานตะวันออกและปากีสถานตะวันตก
– ต่อมาปากีสถานตะวันออกแยกมาจัดตั้งเป็นประเทศบังคลาเทศ ในค.ศ.1971
เหตุผลที่ปากีสถานตะวันออกแยกตัวออกมา เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับปากีสถานตะวันตกมากกว่า
– ทั้งปากีสถาน บังคลาเทศ และประเทศต่าง ๆในภูมิภาคเอเชียใต้ในปัจจุบันต่างประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายใน ทำให้แต่ละประเทศมีแนวโน้มจะใช้การปกครองที่เป็นแบบ “เผด็จการทางทหาร”
– ประเทศที่ยังคงมีระบบกษัตริย์ในแถบนี้ คือภูฏาน ที่ใช้การปกครองประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
– ศรีลังการมีความขัดแย้งระหว่างชาว สิงหล.และชาว ทมิฬ ในประเทศ

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
– ประชากรส่วนมากยากจน มาตรฐานการครองชีพต่ำ และล้าหลัง
– ประชากรมากกว่าร้อยละ 80 ยังคงเป็นเกษตรกร อาศัยอยู่ในชนบท เลี้ยงสัตว์ และยังชีพโดยอาศัยผลผลิตจากที่ดินโดยอาศัยลมมรสุม ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ
– นอกจากนี้อินเดียยังมีปัญหาการเพิ่มประชากรรวดเร็ว
– อุตสาหกรรมบริเวณเอเชียใต้ยังไม่ก้าวหน้า ยกเว้นอินเดียซึ่งมีความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ แต่จำนวนประชากรที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมของอินเดียก็มีเพียง 1 % และมักกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ

พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
ศาสนา
– ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นับถือมากใน อินเดีย
– ศาสนาพุทธ นับถือมากใน……………………………………
– ศาสนาอสลาม นับถือมากใน…………………………………
ระบบวรรณะ
– สมัยโบราณเคร่งครัดมาก
– ปัจจุบันรัฐธรรมนูญของอินเดียถือว่าทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติ ระบบวรรณยังคงมีอยู่โดยเฉพาะในชนบท ส่วนในเมืองยังคงปรากฏให้เห็น โดยผู้คนยังเลือกจะตั้งบ้านเรือนอยู่กับคนที่เป็นวรรณะเดียวกัน
– ในระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ การศึกษาและความสามารถมีความสำคัญมากกว่าระบบวรรณะ
ครอบครัวอินเดีย
– ครอบครัวอินเดียยังเป็นครอบครัวใหญ่แบบสมัยโบราณ
– ปัจจุบัน สตรีมีฐานะและสิทธิเท่าเทียมกันกับผู้ชาย ทั้งในด้านโอกาสในการศึกษาและการประกอบอาชีพ

อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ ได้แก่ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมกรีก และอารยธรรมโรมัน
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์ เปรียบได้กับรากแก้ว ของอารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมกรีก และอารยธรรมโรมัน เปรียบได้กับ ลำต้น ที่แผ่กิ่งก้าน ของอารยธรรมตะวันตกอารยธรรมเมโสโปเตเมีย (ลุ่มแม่น้ำไทกรีส – ยูแฟรตีส)
– เมโสโปเตเมีย อยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่ น้ำ………………………………………………เป็นดินแดนที่ อุดมสมบูรณ์ท่ามกลางความแห้งแล้งโดยรอบ ปัจจุบันเมโสโปเตเมียอยู่ในประเทศ………………………. และ…………………….
– ชนกลุ่มต่างๆ ที่สร้างอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย
สิ่งก่อสร้างบริเวณนี้นิยมสร้างด้วย ดินเหนียว

1. สุเมเรียน(Sumerian)
– เป็นชนกลุ่มแรกที่มีอำนาจบริเวณแถบนี้ บริเวณที่สุเมเรียนอยู่ คือ ซูเมอร์ (Sumer)
– ใช้การปกครองแบบนครรัฐ
– นับถือเทพเจ้าหลายองค์ นิยมสร้างวิหารบูชาเทพเจ้าที่เรียกว่า ซิกกูรัต
– ประดิษฐ์อักษรลิ่ม (คูนิฟอร์ม) โดยใช้ไม้ปลายแหลม (Stylus) กดเป็นรูปสัญลักษณ์เรขาคณิตบนดินเหนียวแล้วนำไปตากแห้ง
– มีวรรณคดีสำคัญคือ มหากาพย์กิลกาเมส ซึ่งกล่าวเกี่ยวกับเรื่องของวีรบุรุษและน้ำท่วมโลก
– มีความเจริญด้านคณิตศาสตร์ เช่น
1) ใช้เลขฐาน 6 60 และ 360 ในการนับชั่วโมง นาที และแบ่งมุมในวงกลม
2) ใช้สูตร ในการคำนวณหาพื้นที่วงกลม
3) ใช้วิธีคูณ หาร ถอดราก ยกกำลัง
4) ใช้มาตราชั่ง ตวง วัด
5) นับปีแบบจันทรคติ
2. อะมอไร้ท์ (Amonite)
-สร้างจักรวรรดิ “บาบิโลน (Babylonian) ขึ้น
-ใช้การปกครองแบบรวมอำนาจเข้าศูนย์กลาง
-ใช้ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมบูราบี ที่ยึดหลัก “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”
ประมวลกฎหมายฮัมบูราบี พยายามขจัดความยุติธรรมทางสังคม และเป็นกฎหมายฉบับแรกที่คำนึงถึงสิทธิของสตรี เช่น ให้สิทธิผู้หญิงหย่า หรือแก้คดีที่ถูกกล่าวหาว่ามีชู้ได้
3. ฮิตไตท์ และ แคสไซท์ (Hittite and Kassite)
-ฮิตไตท์อยู่ในเอเชียไมเนอร์ รู้จักใช้เหล็กเป็นพวกแรก
-แคสไซตท์เข้ามายึดครองกรุงบาบิโลน
4. อัสซีเรียน (Assyrian)
-เป็นนักรพที่เหี้ยมโหด เข้ามาครอบครองกรุงบาบิโลเนีย ต่อมาสร้างเมืองหลวงใหม่ชื่อ กรุงนิเนเวห์(Nineveh)
-กษัตริย์องค์สำคัญ คือ แอสซูร์บานิปาล ซึ่งสามารถยึดอียิปต์ได้
-อารยธรรมที่สำคัญ ได้แก่
งานสลักภาพนูนต่ำ เป็นรูปการล่าสัตว์ การทำสงคราม
ห้องสมุดแห่งแรกของโลก
5. แคลเดียน (Chaldean)
-โจมตีอัสซีเรียนแล้วสถาปนา จักรวรรดิแคลเดียน หรือ บาบิโลเนียใหม่
-กษัตริย์องค์สำคัญ คือ พระเจ้าเนบชาเนซูซาร์
-อารยธรรมสำคัญ
สวนลอยแห่งบาบิโลน
ความรู้ด้านดาราศาสตร์ เช่น การพยากรณ์สุริยุปราคา , การพยากรณ์ดวงชะตา
6. เปอร์เซียน (Persian)
-เป็นพวกอินโด – ยูโรเปียน ต่อมาขยายอำนาจปกครองดินแดนเมโสโปเตเมีย อียิปต์ และหัวเมืองกรีกในเอเชียไมเนอร์ สุดท้ายเปอร์เซียตกอยู่ภายใต้การปกครองของกรีก
-อารยธรรมสำคัญ
การปกครองแบบรวมอำนาจเข้าศูนย์กลาง แบ่งจักวรรดิเป็นมณฑล มีข้าหลวงดูแล มณฑล และมีผู้ตรวจการทำงานของข้าหลวงอีกที
การเคารพขนบธรรมเนียมประเพณีของเมืองขึ้น
**วิธีการปกครองจักรวรรดิเช่นนี้ ต่อมาโรมันได้นำมาใช้ปกครองเมืองขึ้น**
ทางหลวง และระบบไปรษณีย์
ศาสนาโซโรแอสเตอร์
ชนบางกลุ่มที่สร้างอารยธรรมในเอเชียไมเนอร์
1. ฮิตไตท์ เป็นชนชาติแรกที่รู้จักใช้เหล็ก
2. ลิเดียน เป็นชาติแรกที่ผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้
3. ฟินิเชียน (แคนาไนต์)
สร้างเรือใบขนาดใหญ่ รวมทั้งเมืองท่าขนาดใหญ่ด้วย
นำอักษรของอียิปต์และอักษรลิ่มมาดัดแปลงเป็นอักษรอัลฟาเบต (อักษรที่ใช้เสียงสระและพยัญชนะประสมกัน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของภาษากรีก – ลาติน
4. ฮิปรู (ยิว)
มีศาสนายูดาย ที่บูชาพระเจ้าองค์เดียว คือ พระยะโฮวาห์ และพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม(The old testament)
ศาสนายูดาย ถือเป็นต้นกำเนิดของศาสนา คริสต์
เชื่อว่าดินแดนปาเลสไตน์ (แคนาน-Canaan) เป็นดินแดนแห่งคำมั่นสัญญาที่พระเจ้าให้แก่พวกตน

อารยธรรมอียิปต์ (อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์)

การปกครองของอียิปต์ มีราชวงศ์ปกครองทั้งหมด 31 ราชวงศ์ (เป็นของชาวอียิปต์ 20 ราชวงศ์) ที่เหลือเป็นของชนชาติต่าง ๆ เช่น อัสซีเรีย เปอร์เซีย กรีก และโรมัน
พื้นฐานอารยธรรมอียิปต์
– ลุ่มแม่น้ำไนล์ ที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้คนอียิปต์เป็นพวกมองโลกในแง่ดี เชื่อมั่นในตนเองและยึดมั่นในคุณธรรม
ความเชื่อทางศาสนา
– เทพเจ้าสูงสุด คือ สุริยเทพ หรือ เทพเจ้าเร
– นอกจากนี้ยังมี “โอซีริส” เทพเจ้าประจำลุ่มแม่น้ำไนล์
– เชื่อว่ากษัตริย์เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ชาวอียิปต์เรียกกษัตริย์ของตนว่า ฟาโร
– เชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพของคนตาย(วิญญาณอมตะ) นำไปสู่การสร้าง พิรามิด และมีการทำมัมมี่
– มีคัมภีร์ศาสนา คือ คัมภีร์ของผู้ตาย (Book of the dead) ที่กล่าวถึงพระเจ้าพอพากษาวิญญาณ โดยการนำหัวใจไปชั่งกับขนนกแห่งความจริง
อารยธรรมเด่น
– สิ่งก่อสร้างที่สร้างด้วย อิฐ- พีระมิด สร้างเพื่อเป็นสุสานเก็บศพ โดยมี “สฟิงซ์ (Sphinx)” อยู่หน้าพีระมิด ที่เด่นมากคือ พีระมิดของฟาโรห์คิออปส์ (คูฟู) ที่เมืองกิเซห์
– นอกจากนี้ยังมีสุสานสกัดหน้าผา และวิหารเทพเจ้า
– “ไฮโรกลิฟฟิค(hieroglyphic)” เป็นอักษรภาพที่เขียนบนกระดาษปาปิรุส (papyrus)
5. วิทยาการ
– ด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ แพทยศาสตร์ ปฏิทิน กสิกรรม การต่อเรือ ดนตรี การผลิตอัญมณี
– ปฏิทินของอียิปต์เป็นแบบสุริยคติ แบ่ง 1 ปี เป็น 12 เดือน และ 365 วัน

ข้อสอบเรื่องประวัติศาสตร์สากล

Screen Shot 2558-06-19 at 9.55.08 AM

ตอบข้อ 1

วิชาเคมี  เรื่องเคมีอินทรีย์

เคมีอินทรีย์ เป็นการศึกษาสารที่พบในสิ่งมีชีวิต ในปัจจุบันเป็นการศึกษา สารประกอบของธาตุคาร์บอนทั้งหมด มีสารประกอบอินทรีย์มากกว่า 2 ล้านชนิด ซึ่งมากกว่าสารประกอบเคมีอื่นรวมกัน

การแบ่งสารประกอบอินทรีย์

• อะลิเฟติก (Aliphatic compounds) : เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มี โครงสร้างเป็นโซ่เปิดโดยที่อะตอมคาร์บอนต่อกันเป็น โซ่ตรง หรือ เรียกว่า โซ่หลัก (main chain) และโซ่แขนง (branch) ซึ่งอาจเป็น พันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสามก็ได้

• อะลิไซคลิก (Alicyclics) เป็นสารประกอบที่โครงสร้างคาร์บอนต่อกัน เป็นวง (ring) โดยที่อะตอมคาร์บอนต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์ซ่ึงอาจ เป็นพันธะเดี่ยวหรือพันธะคู่ ก็ได้

โมเลกุลไซโคลเฮกเซน เป็นตัวอย่างของโมเลกุลท่ีมีวง แหวนของอะตอมคาร์บอน

• อะโรเมติก (Aromatic compounds) : เป็นสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งโมเลกุลประกอบด้วยวงแหวน เบนซีน (benzene)

• เฮทเทอโรไซคลิก (Heterocyclic) เป็นสารประกอบที่มีอะตอมคาร์บอน ต่อกันโดยมีอะตอมของธาตุอื่น เช่น N, S, O มาคั่น

หมู่ฟังก์ชันนัล (Functional Groups)

“หมู่ฟังก์ชันนัลคืออะตอมหรือหมู่ของอะตอมที่มีอยใู่นโมเลกุลซ่ึงทาให้ โมเลกุลน้ันมีสมบัติทางเคมีเฉพาะตัว”

สารประกอบอินทรีย์ท้ังหมดอาจแบ่งเป็นชนิดต่างๆตามหมู่ ฟังก์ชันนัล ซ่ึงหมู่ฟังก์ชันนัลที่พบบ่อยๆ มี 11 ชนิดด้วยกันคือ ไฮโดรคาร์บอน (แอลคีนและแอลไคน์), แอลกอฮอล์, อัลคิลเฮไลด์, อีเทอร์, แอลดีไฮด์, คีโตน, กรดคาร์บอกซิลิก, เอสเทอร์, เอมีน และ เอไมด์

ดังนั้นสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในกลุ่มหรือชนิดเดียวกันจะมี หมู่ฟังก์ชันนัลท่ีเหมือนกัน จึงทาให้มีสมบัติทางเคมีที่คล้ายกัน

Functional group : หมู่ฟังก์ชันนัล คือ อะตอมหรือกลุ่มของอะตอม ซึ่งเป็นส่วนแสดงสมบัติทางเคมีของโมเลกุลส่วนใหญ่ โมเลกุล สารอินทรีย์สามารถมีหมู่ฟังก์ชันได้หลายกลุ่ม

การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์

1. ชื่อสามัญ (Common name)

ชื่อที่เรียกตามแหล่งกาเนิด เช่น acetic acid มาจากภาษา ละตินว่า acetum แปลว่า vinegar

2. ชื่อ IUPAC (ค.ศ. 1892)
IUPAC = International Union of Pure and Applied Chemistry

• prefix tells the number of carbon atoms in the parent • infix tells the nature of the carbon-carbon bonds
• suffix tells the class of compound

• เลือกโซ่อะตอมคาร์บอนที่ยาวท่ีสุดเป็น โซ่หลัก (ในกรณีที่มีหมู่ฟังก์ชันนัล โซ่หลัก จะต้องมีหมู่ฟังก์ชันนัลอยู่ด้วย)

CH3-CH2-CH-CH2-CH2-CH3 CH2-CH2-OH

• จานวนอะตอมคาร์บอนในโซ่หลักใช้คา นาหน้าตามจานวนอะตอมคาร์บอน

• ชื่อลงท้ายเป็นตามชนิดของหมู่ฟังก์ชันนัล เช่น

1) ไฮโดรคาร์บอน 2) แอลกอฮอล์
3) แอลดีไฮด์ 4) คีโตน
5) กรดคาร์บอกซิลิก 6) เอมีน 7) เอสเทอร์

– แอลเคน ลงท้ายด้วย -ane – แอลคีน ลงท้ายด้วย -ene – แอลไคน์ ลงท้ายด้วย -yne ลงท้ายด้วย -ol

ลงท้ายด้วย -al ลงท้ายด้วย -one ลงท้ายด้วย -oic acid ลงท้ายด้วย -mine ลงท้ายด้วย -ate

Screen Shot 2558-07-03 at 9.45.10 AM

วิชาภาษาจีน 

การอ่านพินอินในภาษาจีน

สัญลักษณ์สะกดเสียงทั้ง 2 เเบบเทียบเสียงเป็นอักษรไทย

_

Screen Shot 2558-07-03 at 9.04.27 AM

ในภาษาจีนมีเสียงวรรณยุกต์ 4 รูป 4 เสียง โดยใช้สัญลักษณ์บ่งบอกดังนี้

อินผิง ( เสียงสามัญ )
หยางผิง ( เสียงจัตวา )

สั่งเซิง ( เสียงเอก )

ชวี่เซิง ( เสียงโท )
การวางวรรณยุกต์ให้วางไว้เหนือสระ กรณีที่ในหนึ่งคำมีสระหลายตัว ให้ทำดังนี้
1. เลือกวางที่ a ก่อน
2. ถ้าไม่มี a ให้มองหา e และ o
3. ถ้ามี iu หรือ ui ให้วางวรรณยุกต์ไว้ที่ตัวหลังสุด
เสียงพยัญชนะเมื่อรวมกับสระเสียงผสม แล้วเปลี่ยนไป ได้เเก่
uei – เอวย เมื่อมีพยัญชนะนำหน้าจะออกเสียงเป็น อุย เเละเปลี่ยนการเขียนพินอินเป็น _ui
uen – เอวิน เมื่อมีพยัญชนะนำหน้าจะออกเสียงเป็น อุน เเละเปลี่ยนการเขียนพินอินเป็น _un
การอ่านพินอินยังมีข้อกำหนดพิเศษที่ต้องศึกษา ยกตัวอย่างเช่น บางคำมีพยัญชนะต้นต่างกันเเต่สระเหมือนกัน
ออกเสียงตามรูปสระต่างกัน เป็นต้น ศึกษาเพิ่มเติมข้อกำหนดพิเศษได้ที่การเขียนพินอิน

image

วิชาศิลปะ

ความหมายของทัศนศิลป์

ทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา ศิลปะที่มองเห็น เมื่อพิจารณาความหมายที่มีผู้นิยามไว้ จะพบว่าการรับรู้เรื่องราว อารมณ์ ความรู้สึกของงานทัศนศิลป์นั้น จะต้องอาศัยประสาทตาเป็นสำคัญ นั่นคือตาจะรับรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่นำมาประกอบเป็นงานทัศนศิลป์ได้แก่ เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงา และพื้นผิว เป็นต้น โดยศิลปะจะนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาสร้างสรรค์ผลงานด้วยวิธีการเขียนภาพ ระบายสีบ้าง ปั้นและสลักบ้างหรืองานโครงสร้างเป็นต้น

การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางศิลปะได้นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถ ทักษะและความคิดของศิลปินแต่ละคน งานทัศนศิลป์ที่ปรากฏให้เห็นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

ทัศนศิลป์ 2 มิติ ได้แก่ ผลงานการเขียนภาพระบายสี
ทัศนศิลป์ 3 มิติ ได้แก่ ผลงานประติมากรรม สถาปัตยกรรม

องค์ประกอบศิลป์

1. จุด (Point) เป็นองค์ประกอบที่สามารถสัมผัสและรับรู้ได้น้อย แต่ในทางศิลปะจุด ๆ หนึ่งที่ปรากฏในภาพอาจจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ในความรู้สึกแปรเปลี่ยนเป็นรูปสัญลักษณ์สิ่งต่าง ๆ เช่น การนำเอาจุดมาแทนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในระยะหนทางที่ห่างไกล เช่น ดวงดาว แสงไฟ ฯลฯ การตีความในจินตนาการอาจขยายกว้างใหญ่กว่าการรับรู้หลายเท่า และมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปได้อย่างไม่สิ้นสุด

2. เส้น (Line) เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นซิกแซก เส้นขยุกขยิก เป็นต้น ซึ่งเส้นที่ปรากฏในลักษณะที่ต่างกันก็จะมีอิทธิพลที่สามารถกระตุ้นเร้าความรู้สึกจากการรับรู้ให้แตกต่างกันออกไป

3. รูปร่างและรูปทรง (Shape & Form)

รูปร่าง (Shape) คือ รูปแบน ๆ มี 2 มิติ มีความกว้างกับความยาวไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตของรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล

รูปทรง (Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดงความกว้าง ความยาแล้ว ยังมีความลึก หรือความหนา นูน ด้วย เช่น รูปทรงกลม รูปทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก ให้ความรู้สึกมีปริมาตร ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้ค่าน้ำหนัก หรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรง หลายรูปรวมกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง เมื่อนำรูปทรงหลาย ๆ รูปมาวางใกล้กัน รูปเหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ดึงดูด หรือผลักไสซึ่งกันและกัน การประกอบกันของรูปทรงทำได้โดยใช้การนำรูปเรขาคณิต รูปอินทรีย์ และรูปอิสระ มาซ้อนทับกัน ผนึกเข้าด้วยกัน แทรกเข้าหากัน หรือ รูปทรงที่บิดพันกัน นำมาประกอบเข้าด้วยกันจะได้รูปลักษณะใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด
4. ค่าน้ำหนัก (Value) คือ ค่าความอ่อนแก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่าง และบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุหรือ ความอ่อน – ความเข้มของสีหนึ่ง ๆ หรือหลายสี เช่น สีแดง มีความเข้มกว่าสีชมพู หรือ สีแดงอ่อนกว่าสีน้ำเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังหมายถึงระดับความเข้มของแสงและระดับ ความมืดของเงา ซึ่งไล่เรียงจากมืดที่สุด (สีดำ) ไปจนถึงสว่างที่สุด (สีขาว) น้ำหนักที่อยู่ระหว่างกลางจะเป็นสีเทา ซึ่งมีตั้งแต่เทาแก่ที่สุด จนถึงเทาอ่อนที่สุด

การใช้ค่าน้ำหนักจะทำให้ภาพดูเหมือนจริง และมีความกลมกลืน ถ้าใช้ค่าน้ำหนักหลาย ๆระดับ จะทำให้มีความกลมกลืนมากยิ่งขึ้น และถ้าใช้ค่าน้ำหนักจำนวนน้อยที่แตกต่างกันมากจะทำให้เกิด ความแตกต่าง ความขัดแย้ง

5. บริเวณว่าง (Space) ส่วนที่เป็นพื้นที่ที่ปราศจากองค์ประกอบใด ๆ ถ้าบริเวณที่ว่างมีน้อย ความรู้สึกจากการรับจะรู้สึกแน่น แข่งขัน แย่งชิง ฯลฯ แต่ถ้าบริเวณว่างมีมากจะให้ความรู้สึกว่างเปล่า เงียบเหงา อ้างว้าง หดหู่ ฯลฯ แต่ถ้าบริเวณว่างมีเท่ากันจะให้ความรู้สึกพอดี สมดุล เสมอภาค เป็นต้น

6. สี (Color) สีเป็นคุณลักษณะที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทตา โดยอาศัยแสงเป็นตัวส่องสว่าง สีแต่ละสีมีสมบัติเฉพาะตัวที่สามารถกระตุ้นเร้าให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างกันอกไป เช่น สีแดงย่อมกระตุ้นเร้าความรู้สึกให้เกิดแตกต่างไปจากสีขาวหรือสีดำทำให้ความรู้จากการรับรู้ไม่เหมือนสีเขียว เป็นต้น

7. พื้นผิว (Texture) พื้นผิวอาจเป็นเนื้อหยาบหรือเนื้อละเอียด แข็งหรือหยาบ นิ่มหรือเรียบ พื้นผิวจะทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึก ไม่ว่าด้วยสายตาหรือร่างกาย พื้นผิวเปรียบเสมือนตัวแทนของมวลภายในของวัตถุนั้น จากลักษณะพื้นผิวที่ทำให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ทำให้มีการนำเอาลักษณะต่าง ๆ ของพื้นผิวเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างงานศิลปะ เพื่อกระตุ้นเร้าผู้ดูเกิดความรู้สึกที่ต่างกัน เมื่อได้สัมผัสภาพผลงานที่มีพื้นผิวที่ต่างกัน

ข้อสอบ วิชาศิลปะ

1. ทัศนธาตุ (Visual Element) ในข้อใดมีมิติเป็นศูนย์

1. จุด
2. เส้น
3. รูปร่าง
4. รูปทรง

ตอบ 1. จุด

วิชา สุขศึกษา

ระบบกล้ามเนื้อ

Screen Shot 2558-07-03 at 9.11.49 AM

กล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeletal muscle) หรือ กล้ามเนื้อลาย (striated muscle) ทำหน้าที่เคลื่อนไหวโดยตรง เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อมาย้อมสีและส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมีลักษณะเป็นลาย จะมีส่วนที่ติดสีเข้มและส่วนที่ติดสีอ่อนสลับกันจึงเห็นเป็นลาย รูปร่างทรงกระบอกยาว ในเซลล์มีหลายนิวเคลียส การทำงานจะอยู่ในอำนาจจิตใจควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system : SNS) ดังนั้นร่างกายสามารถบังคับได้หรืออยู่ในอำนาจจิตใจ
………. การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวนั้น กล้ามเนื้อยึดกระดูกจะทำงานเป็นคู่แบบสภาวะตรงกันข้าม เรียกว่า แอนตาโกนิซึม (antagonism) ดังนั้นเมื่อกล้ามเนื้อด้านหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกด้านหนึ่งจะคลายตัว การหดตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดแรงดึงให้กระดูกทั้งท่อนเคลื่อนไหวได้ด้วย เนื่องจากระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูกมีเอ็นยึดกระดูก (tendon) ยึดอยู่ เอ็นยึดกระดูกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีความเหนียวแข็งแรงและทนทานต่อแรงดึงหรือการรองรับน้ำหนัก
………. กล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะงอเข้าเรียกว่า กล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) ส่วนกล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะเหยียดออก เรียกว่า กล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ (extensor)เช่นการเคลื่อนไหวของแขนคนโครงสร้างของแขนคนประกอบด้วยกล้ามเนื้อไบเซพ (bicep) และกล้ามเนื้อไตรเซพ (tricep) เมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหดตัว กล้ามเนื้อไตรเซพคลายตัวทำให้แขนงอเข้า แต่ถ้ากล้ามเนื้อไตรเซพหดตัว
กล้ามเนื้อไบเซพคลายตัวแขนจะเหยียดออก ดังนั้นกล้ามเนื้อไบเซพจึงป็นกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ กล้ามเนื้อไตรเซพจัดเป็นกล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์

Screen Shot 2558-07-03 at 9.12.29 AM

กล้ามเนื้อยึดกระดูกจะมีลักษณะเป็นมัดกล้ามเนื้อ แต่ละมัดประกอบด้วย ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) หรือ เซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell) ภายในเส้นใยกล้ามเนื้อประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อเล็ก เรียกว่า
ไมโอไฟบริล (myofibril) ลักษณะเป็นท่อนยาวเรียงซ้อนกัน เส้นใยกล้ามเนื้อเล็กเหล่านี้จะอยู่รวมกันเป็นมัด
………. ในแต่ละไมโอไฟบริล ประกอบด้วยเส้นใยเล็ก ๆ เรียกว่า ไมโอฟิลาเมนต์ (myofilament) เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะเห็นลักษณะเป็นลายอย่างชัดเจน และไมโอฟิลาเมนต์ประกอบด้วยใย
กล้ามเนื้อขนาดเล็กมากเรียกว่า ไมโครฟิลาเมนต์ (microfilament) เส้นใยไมโครฟิลาเมนต์จะประกอบด้วยโปรตีน 2 ชนิด คือ แอกทิน (actin) และไมโอซิน (myosin) เมื่อย้อมสีจะเห็นลักษณะเป็นแถบลาย ส่วนที่ติดสีจาง (I-band) จะเป็นแอกทิน ส่วนที่ติดสีเข้มจะเป็นไมโอซิน (A-band) ตรงกลางมีแถบสีจางเป็นแนวเล็กๆ และเห็นรอยต่อของแอกทิน 2 โมเลกุล มาจรดกันเรียกว่า แถบแซด (Z-band) ช่องระหว่างแถบแซด
2 แถบ เรียกว่า 1 หน่วยกล้ามเนื้อหรือซาโคเมียร์ (sarcomere) ดังนั้นจะสังเกตได้ว่าโปรตีนทั้ง 2 ชนิด เรียงตัวขนานกันขณะที่กล้ามเนื้อหดตัว แอกทินจะเคลื่อนเข้าหากันตรงกลางและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อยังเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอีกด้วย
……….สำหรับการหดตัว (contraction) และการคลายตัว (relaxtion) ของกล้ามเนื้อลาย การหดตัวจะเกิดจากแอกทินเคลื่อนเข้าหากัน และการคลายตัวเกิดจากแอกทินเคลื่อนออกจากกัน โดยที่ความยาวของ ไมโอซินไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อกล้ามเนื้อหดหรือคลายตัว การหดตัวของกล้ามเนื้อยังอาศัยแคลเซียมไอออน (Ca2+) และพลังงานจากสารพลังงานสูง (ATP) ที่ได้จากกระบวนการหายใจ พลังงาน ATP จะสลายตัวในขณะกล้ามเนื้อหดตัว จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทันที การที่กล้ามเนื้อทำงานอย่างหนักหรือออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น การเล่นฟุตบอลจนเกิดตะคริว ทำให้กล้ามเนื้อขาดออกซิเจนจึงสะสมกรดแลกติก (lactic acid) มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้าได้

Screen Shot 2558-07-03 at 9.13.22 AM

กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่มีลาย ซึ่งแตกต่างจากกล้ามเนื้อยึดกระดูกและกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะรูปร่างเป็นเซลล์ยาว ส่วนหัวและส่วนท้ายแหลมคล้ายรูปกระสวยแต่ละเซลล์มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลางเซลล์ กล้ามเนื้อเรียบพบอยู่ตามอวัยวะภายในของร่างกาย เช่น ผนังหลอดอาหาร ผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังมดลูก กล้ามเนื้อหูรูดที่ม่านตา การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ อยู่นอกอำนาจจิตใจ ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ

กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อของหัวใจโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นแถบลายเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อยึดกระดูก เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีรูปร่างลักษณะเป็นทรงกระบอกโดยส่วนปลายของเซลล์
จะแตกแขนงเชื่อมโยงกับเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจต้องการพลังงานปริมาณมากภายในเซลล์จึงมีไมโทคอนเดรียจำนวนมาก การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system)

Screen Shot 2558-07-03 at 9.14.11 AM

Screen Shot 2558-07-03 at 9.14.43 AM

1. ข้อใดเรียงลำดับการจัดระบบในร่างกายจากเล็กที่สุดไปยังระบบใหญ่ขึ้นได้ถูกต้อง

1. เซลล์ อวัยวะ เนื้อเยื่อ ระบบ
2. เซลล์ เนื้อเยื่อ ระบบ อวัยวะ
3. เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบ
4. เซลล์ ระบบ เนื้อเยื่อ อวัยวะ

ตอบ 3. เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบ

วิชาดนตรี 

ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล[แก้]
ดนตรีสากลเป็นดนตรีประเภทหนึ่งที่ชาวตะวันตกได้นำมาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก จึงทำให้ชนหลายชาติหลายภาษาสามารถเล่นดนตรีสากลได้เครื่องดนตรีสากลที่ใช้กันในชนชาติต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ชนิดเดียวกัน มีการบันทึกทำนองเพลงโดยใช้สัญลักษณ์เดียวกัน ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกทำนองเพลงเรียกว่า โน้ตสากล โน้ตสากลใช้เพื่อบันทึกทำนองเพลงเพื่อกันลืมและเป็นการกำหนดทำนองเพลงว่าจะใช้เสียงสั้นยาวเพียงใด หรือเน้นเสียงหนักเบาตรงช่วงใดนอกจากนี้โน้ตสากลยังมีความหมายอื่น ๆ อีกมากมายรูปแบบของดนตรีสากลในแต่ละยุคแต่ละสมัยก็จะแตกต่างกันออกไป ดนตรีสากลได้พัฒนาทั้งรูปแบบของเพลงและเครื่องดนตรีมาสู่ยุคปัจจุบันเป็นที่นิยมทั่วโลก

เครื่องดนตรีสากล[แก้]
แบ่งตามหลักในการทำเสียงหรือวิธีการบรรเลงเป็น 5 ประเภท ดังนี้

เครื่องสาย
เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือนสายที่ใช้เป็นสายโลหะหรือสายเอ็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย แบ่งตามวิธีการเล่นเป็น 2 จำพวก คือ

เครื่องดีด ได้แก่ กีตาร์ แบนโจ ฮาร์ป
เครื่องสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส
เครื่องเป่าลมไม้เครื่องดนตรีประเภทนี้แบ่งตามวิธีทำให้เกิดเสียงเป็น 2 ประเภท คือ
จำพวกเป่าลมผ่านช่องลม ได้แก่ เรคอร์เดอร์ ปิคโคโล ฟลูต
จำพวกเป่าลมผ่านลิ้น ได้แก่ คลาริเน็ต แซกโซโฟน
เครื่องเป่าโลหะ เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการเป่าลมให้ผ่านริมฝีปากไปปะทะกับช่องที่เป่า ได้แก่ ทรัมเป็ต ทรอมโบน เป็นต้น
เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด เครื่องดนตรีประเภทนี้เล่นโดยใช้นิ้วกดลงบนลิ้มนิ้วของเครื่องดนตรี ได้แก่ เปียโน เมโลเดียน คีย์บอร์ดไฟฟ้า อิเล็กโทน
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
เครื่องตีที่ทำทำนอง ได้แก่ ไซโลไฟน เบลไลรา ระฆังราว
เครื่องตีที่ทำจังหวะ ได้แก่ ทิมปานี กลองใหญ่ กลองแตร็ก ทอมบา กลองชุด ฉาบ กรับ ลูกแซก
ดูเพิ่มเติมที่ : เครื่องดนตรีสากล

วงดนตรีสากล[แก้]
วงซิมโฟนี (Symphony Orchestra)
เป็นวงดนตรีสากลขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีสากล 4 กลุ่ม ประเภทของเครื่องดนตรีสากล ได้แก่ กลุ่มเครื่องสาย กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องเป่าลมไม้ และเครื่องตีประกอบจังหวะ วงดนตรีลักษณะนี้จะมีผู้อำนวยเพลงซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการบรรเลง จะนั่งหรือยืนบรรเลงตามลักษณะของเครื่องดนตรี

วงสติรงคอมโบ (String Combo)
เป็นวงดนตรีขนาดเล็กประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประมาณ 4 – 5 ชิ้น กล่าวคือ มีกีตาร์ลีด กีตาร์เบส ออร์แกนหรือคีย์บอร์ด และกลองชุด เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ของวัยรุ่นที่นิยมเล่นเพลงป๊อปทั่ว ๆ ไป

วงโยธวาทิต (Military Band)
เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะ นิยมใช้เดินขบวนสวนสนาม และบรรเลงประกอบพิธีการต่าง ๆ ตามโอกาส ต== จังหวะสากล == วอลท์, รุมบ้า, ร็อก, ดิสโก้, ชะชะช่า

Screen Shot 2558-07-03 at 9.23.11 AM

ตอบ ข.

วิชาชีววิทยา และ สังคม

สรุปเนื้อหา

  • ส่วนที่  1

    1.กระบวนการในการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

    2.โครงสรางและหนาที่ของเซลลทั้งโปรคาริโอตและยูคาริโอต

    3.การแบ่งตัวของเซลล์ และปฏิกิริยาเคมีในเซลล์

    ส่วนที่  2

  • 1.หลักการจําแนกและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

    2.หลักการสังเคราะหแสงของพืชแบบตางๆ

    ส่วนที่  3

  • 3.การสืบพันธุ์แบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต การคุมกําเนิด

    4.การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมความสัมพันธ์และการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต

    ส่วนที่  4

  • 5.ไวรัสและไวรอยดที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค

    6.อธิบายถึงระบบนิเวศวิทยาและพฤติกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิต

    บทนํา

กระบวนการในการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ทั้งโปรคาริโอตและยูคาริโอต การแบงตัวของเซลล และปฏิกิริยาเคมีในเซลล์

หลักการจําแนกและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต หลักการสังเคราะห์แสงของพืชแบบต่างๆ

การสืบพันธุ์แบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต การคุมกําเนิด การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมความสัมพันธ์และการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต

ไวรัสและไวรอยด์ที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค อธิบายถึงระบบนิเวศวิทยาและพฤติกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิต

ส่วนบทนํา

บทนํา

ชีววิทยา คืออะไรคําว่า ชีววิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Biology ซึ่งมาจากรากศัพท์เดิมที่เป็นภาษากรีก 2 คํา

  1. คือ bios หมายถึงชีวิต
  2. และ logos หมายถึง ความคิดและเหตุผล

    ดังน้ันชีววิทยาจึงหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอย่างมีเหตุผล

     วิธีการศึกษาทางชีววิทยา

    • การสังเกต
    • การตั้งสมมติฐาน (hypothesis)

    • และการทดสอบสมมติฐาน

    (กระบวนการทางวิทยาศาสตร์)

    การถาม ตั้งสมมติฐาน ทํานาย ทดสอบการทํานาย * สิ่งสําคัญสําหรับนักวิทยาศาสตร์

    • การมีทัศนคติท่ีต้องการค้นหาคําตอบด้วยตนเอง

    คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต

    1. เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานภายในตัวเอง

    2. มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเหมาะสมเพื่อการอยู่รอด

    3. ต้องใช้อาหารสําหรับการดํารงชีพ การเจริญเติบโต และใช้เป็นแหล่งสะสมพลังงานสําหรับการเพิ่มจํานวนสิ่งมีชีวิต

    4. มีการหายใจซึ่งเป็นการสร้างพลังงานที่สามารถนํ าไปใช้ในการดํารงชีวิตได้

    5. มีการเจริญเติบโตโดยการใช์สารประกอบอินทรีย์ และอนินทรีย์ไปใช้ในการสร้างส่วนประกอบของร่างกาย

    6. มีการขับถ่ายเพื่อกําจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมออกจากร่างกาย

    7. สามารถสืบพันธุ์ได้ เพื่อเพิ่มจํานวนสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน

    (ความสามารถในการสืบพันธุ์ได้จัดเป็นคุณสมบัติเด่น ของสิ่งมีชีวิต)

    ความซับซ้อนของโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ

    1. อะตอม หน่วยที่เล็กที่สุดของธาตุที่แสดง คุณสมบัติของธาตุนั้น ประกอบด้วย electron proton & neutron
    2. โมเลกุล ประกอบด้วย อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันมาเชื่อมกัน โมเลกุลของสิ่งมีชีวิต ได้แก่

      carbohydrate lipid protein DNA & RNA

    3. เซลล์ คือ หน่วยที่เล็กที่สุดที่แสดงคุณสมบัติของสิ่งมีชิต และสามารถสืบพันธุ์ด้วยตัวเอง สิ่งมีชีวิตอาจ

      ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลลืเดียว หรือหลายเซลล์ เซลลืประกอบด้วย cell membrane, DNA และสวนประกอบ

      อื่นๆ ภายในเซลล์

    4. เซลลื คือ หน่วยที่เล็กที่สุดที่แสดงคุณสมบัติของสิ่งมีชิต และสามารถสืบพันธุ์ด้วยตัวเอง สิ่งมีชีวิตอาจ

      ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์ เซลลืประกอบด้วย cell membrane, DNA และสวนประกอบ

      อื่นๆ ภายในเซลล์

    5. เนื้อเยื่อ คือ เซลล์และสารประกอบที่มารวมกลุ่มกันเพื่อทําหน้าที่ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    6. อวัยวะ คือ โครงสร้างที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่มากกว่าหนึ่งชนิด ซึ่งร่วมกันทําหน้าที่บางอย่าง
    7. ระบบอวัยวะ ประกอบด้วยอวัยวะหลายอวัยวะที่มีปฏิสัมพันธ์กัน (interaction) ในด้านกายภาพ และ/เคมี เพื่อทํา

      หน้าที่บางอย่าง เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท ฯลฯ

    8. สิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยหลายเซลล์ ซึ่งจะประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด ประกอบกันเป็นเนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบ

      อวัยวะต่างๆ

    9. ประชากร คือ กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน
    10. สังคมสิ่งมีชีวิต คือ ประชากรของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆ
    11. ระบบนิเวศ ชุมนุมสิ่งมีชีวิตที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวมีการแลกเปลี่ยนพลังงานและสสารกับ

      สิ่งแวดล้อม

    12. ชีวาลัย คือ บริเวณต่างๆ บนพื้นผิวโลก และในบรรยากาศที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในจักวาล

      ที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ถ้าปราศจากน้ําก็คงไม่มีชีวิตเกิดขึ้น

      สาระสําคัญของทฤษฎีเซลล์มีดังนี้

      สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์
      เซลล์ คือ หน่วยโครงสร้างและทําหน้าที่ในสิ่งมีชีวิต
      เซลล์เกิดจากเซลล์ที่มีอยู่ก่อน โดย การแบ่งเซลล์
      เซลล์ประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม ซึ่ง ถ่ายถอดจากเซลล์สู่เซลล์ในระหว่างที่มีการแบ่งเซลล์ ทุกเซลล์มีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนกัน
      การไหลของพลังงาน (เมแทบอลิซึม และ ชีวเคมี) เกิดขึ้นในเซลล์

      เซลลแบงเปน 2 ชนิด คือ

      1. prokaryotic cell
      2. eukaryotic cell มีโครงสรางแตกตางกัน ดังนี้

      โพรแคริโอต (Prokaryote)

      เปนเซลลที่มีโครงสรางอยางงาย ไมมีเยื่อหุมนิวเคลียส อาจอยูเปนเซลลเดี่ยวๆ หรือรวมกลุมเปนโคโลนี (Colony) ในการจําแนกชั้นทางวิทยาศาสตรแ บบระบบสามโดเมน (three-domain system) ไดจัดโพรแคริโอตอยูในโดเมนอารเคีย (Archaea) และแบคทีเรีย (Eubacteria)

      ยูแคริโอต (Eukaryote)

      เปนเซลลที่มีเยื่อหุมนิวเคลียส มีออร
      แกเนลล (organelle) และผนังของออรแกเนลล มีตั้งแตเซลล
      เดียวเชน อะมีบา (amoeba) และเห็ดรา (fungi) หรือเปน
      สิ่งมีชีวิตหลายเซลล เชน พืชและสัตวรวมทั้งสาหรายสีน้ําตาล
      สารประกอบทางเคมีของนิวเคลียส ประกอบดวย
      1. ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ DNA เปนสวนประกอบของโครโมโซมนิวเคลียส
      2. ไรโบนิวคลีอิก แอซิด (ribonucleic acid) หรือ RNA เปนสวนที่พบในนิวเคลียสโดยเปนสวนประกอบของนิวคลีโอลัส
      3. โปรตีน ที่สําคัญคือโปรตีนฮีสโตน (histone) โปรตีนโพรตามีน (protamine) ทําหนาที่เชื่อมเกาะอยูกับ DNA สวนโปรตีน เอนไซมสวนใหญจะเปนเอนไซมในกระบวนการสังเคราะหกรดนิวคลีอิก และเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิก องคประกอบภายในเซลล (organelle)

      1. ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) สวนใหญจะมีรูปรางกลม ทอนสั้น ทอนยาว หรือกลมรีคลายรูปไข ประกอบดวย สารโปรตีน ประมาณรอยละ 60-65 และลิพิดประมาณรอยละ 35-40 ภายในไมโทคอนเดรียมีของเหลวซึ่งประกอบดวยสาร หลายชนิดเรียกวา มาทริกซ (matrix) มีเอนไซมที่สําคัญในการสรางพลังงานจากการหายใจ นอกจากนี้ยังพบเอนไซมในการ สังเคราะห DNA สังเคราะห RNA และโปรตีนดวย หนาที่ของไมโทคอนเดรียคือ เปนแหลงสรางพลังงานของเซลลโดยการ หายใจ
      2. เอนโดพลาสมิก เรติคูลัม (endoplasmic reticulum:ER) เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมเปนออรแกเนลลที่มีเมมเบรนหอหุม ประกอบดวยโครงสรางระบบทอที่มีการเชื่อมประสานกันทั้งเซลล แบงออกเปน 2 ชนิดคือ

      2.1 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดขรุขระ (rough endoplasmic reticulum:RER) เปนชนิดที่มีไรโบโซม มีหนาที่สําคัญ คือ การสังเคราะหโปรตีนของไรโบโซมที่เกาะอยู และลําเลียงสารซึ่งไดแกโปรตีนที่สรางได และสารอื่นๆ

      2.2 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดเรียบ (smooth endoplasmic reticulum:SER) เปนชนิดที่ไมมีไรโบโซม มีหนาที่สําคัญ คือ ลําเลียงสารตางๆ เชน RNA ลิพิดโปรตีนสังเคราะหสารพวกไขมันและสเตอรอยดฮอรโมน

      ภาพแสดงเซลลยูคาริโอตและเซลลโพรคาริโอต

      3

      3. กอลจิ บอดี (Golgi body) มีรูปรางลักษณะเปนถุงแบนๆ หรือเปนทอเรียงซอนกันเปนชั้นๆ มีหนาที่สําคัญคือ เก็บสะสม สารที่เซลลสรางขึ้นกอนที่จะปลอยออกนอกเซลล ซึ่งสารสวนใหญเปนสารโปรตีน นอกจากนี้ยังเกี่ยวของกับการสรางนีมา โทซีส (nematocyst) ของไฮดราอีกดวย

      4. ไลโซโซม (lysosome) เปนออรแกเนลลที่มีเมมเบรนหอหุมเพียงชั้นเดียว รูปรางกลมรี พบเฉพาะในเซลลสัตวเทานั้น มี หนาที่ที่สําคัญคือ

      4.1 ยอยสลายอนุภาคและโมเลกุลของสารอาหารภายในเซลล

      4.2ยอยหรอื ทําลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมตางๆที่เขาสูรางกายหรือเซลล 4.3 ทําลายเซลลที่ตายแลว
      4.4 ยอยสลายโครงสรางตางๆ ของเซลลในระยะที่เซลลมีการเปลี่ยนแปลง

      5. แวคิวโอล (vacuole) แวคิวโอลเปนออรแกเนลลที่มีลักษณะเปนถุง โดยทั่วไปจะพบในเซลลพืชและสัตวชั้นต่ํา แบงเปน 3 ชนิดคือ

      5.1 ลิวโคพลาสต (leucoplast) เปนพลาสติดที่ไมมีสี
      5.2 โครโมพลาสต (chromoplast) เปนพลาสติดที่มีรงควัตถุสีอื่นๆ นอกจากสีเขียว
      5.4 คลอโรพลาสต (chloroplast) เปนพลาสติดที่มีสีเขียว ซึ่งสวนใหญเปนสารคลอโรฟลล ภายในคลอโรพลาสต

      ประกอบดวยสวนที่เปนของเหลวเรียกวา สโตรมา (stroma) มีเอนไซมที่เกี่ยวของกับการสังเคราะหดวยแสง มี DNA,RNA และไรโบโซม และเอนไซมอีกหลายชนิดปะปนกันอยู
      ออรแกเนลลที่ไมมีเยื่อหุม (nonmembrane bounded organelle)
      1. ไรโบโซม (ribosome) เปนออรแกเนลลขนาดเล็ก พบไดในสิ่งมีชีวิตทั่วไป ประกอบดวยสารเคมี 2 ชนิด คือ กรดไรโบ นิวคลีอิก (ribonucleic acid:RNA) กับโปรตีน มีทั้งที่อยูเปนอิสระในไซโทพลาซึม และเกาะอยูบนเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม พวกที่เกาะอยูที่เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมจะบฃพบมากในเซลลตอมที่สรางเอนไซมตางๆ พลาสมาเซลลเหลานี้จะสราง โปรตีนที่นําไปใชนอกเซลลเปนสําคัญ

      2. เซนทริโอล (centriole) มีลักษณะคลายทอทรงกระบอก 2 อันตั้งฉากกัน พบเฉพาะในสัตวและโพรทิสตบางชนิด มีหนาที่ เกี่ยวกับการแบงเซลล เซนทริโอลแตละอันจะประกอบดวยชุดของไมโครทูบูล (microtubule) ซึ่งเปนหลอดเล็กๆ มีหนาที่ เกี่ยวของกับการลําเลียงสารในเซลล ใหความแข็งแรงแกเซลลและโครงสรางอื่นๆ เกี่ยวของกับการแบงเซลล การเคลื่อนที่ ของเซลล

      ข. ไซโทพลาสมิก อินคลูชัน (cytoplasmic inclusion) หมายถึง สารที่ไมมีชีวิตที่อยูในไซโทพลาสมิก เชน เม็ดแปง (starch grain) เม็ดโปรตีน หรือพวกของเสียที่เกิดจากกระบวนการแมแทบอลิซึม
      3. สวนที่หอหุมเซลล
      หมายถึง โครงสรางที่หอหุมไซโทพลาซึมของเซลลใหคงรูปรางและแสดงขอบเขตของเซลล ไดแก

      1. เยื่อหุมเซลล (cell membrane)
      เยื่อหุมเซลลมีชื่อเรียกไดหลายอยาง เชน พลาสมา เมมเบรน (plasma membrane) ไซโทพลาสมิก เมมเบรน (cytoplasmic membrane) เยื่อหุมเซลลมีความหนาประมาณ 75 อังสตรอม ประกอบดวยโปรตีนประมาณรอยละ 60 ลิพิดประมาณรอยละ 40 การเรียงตัวของโปรตีนและลิพิดจัดเรียงตัวเปนสารประกอบเชิงซอน การเรียงตัวในลักษณะเชนนี้เรียกวา ยูนิต เมมเบรน (unit membrane)
      2. ผนังเซลล (cell wall) ผนังเซลล พบไดในสิ่งมีชีวิตหลากชนิด เชน เซลลพืช สาหราย แบคทีเรีย และรา ผนังเซลลทํา หนาที่ปองกันและใหความแข็งแรงแกเซลล โดยที่ผนังเซลลเปนสวนที่ไมมีชีวิตของเซลล

      การแบงเซลลเปนปรากฏการณที่ซับซอนอยางหนึ่งของสิ่งมีชีวิตเพราะทุกสิ่งทุกอยางที่มีอยูในเซลลเดิมจะมีการ แบงเซลลจาก 1 เปน 2 เซลล สิ่งตางๆ ที่อยูในเซลลเหลานั้นมีการจําลองขึ้นอีก 1 ชุดกอนการแบงไป การแบงเซลลของ

      4

      สิ่งมีชีวิตเซลลเดียวทําใหจํานวนของสิ่งมีชีวิตนั้นเพิ่มขึ้น ถือวาเปนการสืบพันธุแบบไมอาศัยเพศสวนในสิ่งมีชีวิตที่รางกาย มากกวา 1 เซลล การแบงเซลลทําใหสิ่งมีชีวิตนั้นเติบโต กอนที่เซลลใดเซลลหนึ่งจะแบงตัวชวงที่เซลลหนึ่งเตรียมตัวที่จะ แบงเซลลและมีกระบวนการแบงเซลลจนกระทั่งสิ้นสุดเรียกหนึ่งวัฏจักรของเซลล (cell cycle) เซลลที่สามารถแบงเซลลได นั้นในวัฏจักรของเซลลจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 2 ระยะคือ

      ระยะอินเตอรเฟส
      เปนระยะที่เซลลมีอัตราเมแทบอลิซึมสูงมาก นิวเคลียสขยายใหญ เห็นนิวคลีโอลัสชัดเจน ภายในนิวเคลียสมี

      โครมาติน (Chromatin) ซึ่งมีลักษณะเปนเสนใยบางๆ สานกันเปนรางแหระยะนี้แบงออกเปน 3 ระยะยอยคือ G1 phase หรือ ระยะพักที่ 1

      เปนระยะเริ่มตนหลังจากแบงเซลลแลว ภายในเซลลมีการสะสมสารพวกเอนไซมไวมาก สารเหลานี้มีความจําเปน ตอการสังเคราะหพวก DNA นอกจากนี้ยังมีการสรางออรแกเนลลที่จําเปนสําหรับกิจกรรมตางๆ ของเซลลดวย เชน ไมโต คอนเดรีย เอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม กอลจิ บอดี เปนตน โครโมโซมของเซลลจะคลายตัวเปนสายยาวและสานกันเปน รางแห ซึ่งเรียกวา รางแหโครมาตินที่มีบางสวนของรางแหนี้ เมื่อยอมสีจะติดสียอมไดดีกวาสวนอื่นเรียกบริเวณนี้วา Heterochromatin

      S phase (syntetic phase) หรือ ระยะสังเคราะห DNA

      มีการสราง DNA และโปรตีนฮีสโตน (Histone) ซ่ึงพบวาปริมาณ DNA จะเพิ่มขึ้นเปน 2 เทาDNA ที่สรางขึ้นใหม จะมีสมบัติเหมือนเดิมทุกประการ วิธีการเชนนี้เราเรียกวา การจําลองตัวเองของ DNA (DNA replication หรือ DNA duplication) ในขณะเดียวกันโครโมโซมมีการจําลองตัวเองขึ้นมาใหมอีกชุดดวยเราเรียกการจําลองของโครโมโซมนี้วา chromosome duplication ทําใหโครโมโซม 1 เสนประกอบดวย 2 โครมาทิด (chromatid) เชื่อมติดกันเราเรียกตําแหนงที่โคร มาทิดเชื่อมตดิ กันนี้วาเซนโทรเมียร(centromere)

      G2 phase หรือ ระยะพักที่ 2
      เปนระยะที่เซลลมีการสรางสิ่งที่จําเปนในการแบงเซลล เชน DNA , RNA และโปรตีนเพิ่มขึ้น โดยโปรตีน

      บางสวนจะถูกนําไปใชสรางไมโครทูบูลของเซลลดวย ระยะแบงเซลล (Cell division)

      เปนระยะที่เซลลมีการแบงนิวเคลียส (Karyokinesis) และแบงไซโตพลาสซึม (Cytokinesis) แลวไดเซลลใหม เพิ่มขึ้น แบงออกเปน 4 ระยะคือ

      – ระยะโพรเฟส (Prophase)
      – ระยะเมทาเฟส (Metaphase)
      – ระยะแอนาเฟส (Anaphase)
      – ระยะเทโลเฟส (Telophase)
      การแบงเซลลของสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอต (Eukaryote) ประกอบดวย กระบวนการแบงนิวเคลียสและการแบงไซ

      โตพลาสซึม ในกระบวนการแบงนิวเคลียสจะเนนถึงกระบวนการแยกตัวของโครโมโซมไปยังเซลลใหม ซึ่งมี 2 แบบคือ 1. การแบงเซลลแบบไมโทซีส (mitosis) การแบงเซลลเพื่อสรางเซลลรางกาย
      2. การแบงเซลลแบบไมโอซีส (meiosis) การแบงเซลลเพื่อสรางเซลลสืบพันธุ

      108268250

    สรุปย่อเนื้อหา สาระการเรียนรู้ที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม

    สรุปย่อเนื้อหา สาระการเรียนรู้ที่ 1 : ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา
    1. องค์ประกอบของศาสนา ได้แก่
    1. ศาสดา : ผู้ประกาศและเผยแผ่ศาสนา
    – พุทธ คือ พระสมณโคดมพุทธเจ้า หรือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า
    – พราหมณ์ฮินดู ไม่มีศาสดา
    – อิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด
    – คริสต์ คือ พระเยซูคริสต์เจ้า
    2. ศาสนธรรม : หลักธรรมหรือคัมภีร์ประจำศาสนา
    – พุทธ คือ คัมภีร์พระไตรปิฎก
    – พราหมณ์ฮินดู คือ คัมภีร์พระเวท
    – อิสลาม คือ พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน
    – คริสต์ คือ คัมภีร์ไบเบิล
    3. ศาสนิกชน : สมาชิกผู้นับถือศาสนา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
    3.1 ระดับพระสงฆ์หรือนักบวช
    – พุทธ เรียกว่า พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
    – พราหมณ์ฮินดู เรียกว่า พราหมณ์
    – อิสลาม ที่จริงแล้วไม่มีนักบวช จะมีแต่ครูหรือผู้สอนศาสนา เช่น โต๊ะอิหม่าม โต๊ะครู
    – คริสต์ เรียกว่า บาทหลวง คุณพ่อ (Father) ภราดา (Brother) แม่ชี (Sister)
    3.2 ระดับฆราวาส
    4. ศาสนพิธี : พิธีกรรมประจำศาสนา
    – พุทธ เช่น พิธีตักบาตร พิธีเวียนเทียน
    – พราหมณ์ฮินดู เช่น พิธีบูชาไฟ พิธีบูชายัญ
    – อิสลาม เช่น พิธีละหมาด พิธีถือศีลอด
    – คริสต์ เช่น พิธีมิสซา พิธีรับศีลล้างบาป
    5. ศาสนสถาน : สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
    – พุทธ เช่น วัด สำนักสงฆ์
    – พราหมณ์ฮินดู เช่น เทวสถาน
    – อิสลาม เช่น มัสยิดหรือสุเหร่า
    – คริสต์ เช่น คริสตจักร
    6. ศาสนสัญลักษณ์ : สัญลักษณ์ประจำศาสนา
    – พุทธ เช่น กงล้อธรรมจักร
    – พราหมณ์ฮินดู เช่น ตัวอักษรโอม และ ตรีศูล
    – อิสลาม เช่น พระจันทร์เสี้ยวกับดวงดาว
    – คริสต์ เช่น ไม้กางเขน
    2. ประเภทของศาสนา แบ่งตามความเชื่อเรื่องพระเจ้า แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
    2.1 เทวนิยม : นับถือพระเจ้า แบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ
    1. เอกเทวนิยม คือ นับถือพระเจ้าองค์เดียว เช่น ศาสนายิว , คริสต์ และอิสลาม
    2. พหุเทวนิยม คือ นับถือพระเจ้าหลายองค์ เช่น ศาสนาพราหมณ์ฮินดู
    2.2 อเทวนิยม คือ ไม่นับถือพระเจ้า แต่เชื่อในเรื่องกรรมหรือการกระทำของตัวเอง เช่น พระพุทธศาสนา , ศาสนาเชน (ในอินเดีย) และลัทธิขงจื๊อ
    สรุปย่อหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 : พระพุทธศาสนา
    เรื่องที่ 1 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
    1. ประเภทศาสนา : แบบ อเทวนิยม ไม่นับถือพระเจ้า เน้นเชื่อในเรื่องกรรมของตนเอง
    2. พระเจ้า : ไม่มี
    3. ศาสดา : พระสมณโคดมพุทธเจ้า หรือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า
    4. คัมภีร์ : พระไตรปิฎก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปิฎก (3 หมวด) คือ
    1) พระวินัยปิฎก เกี่ยวกับ ระเบียบวินัย ศีล สิกขาบท ของพระภิกษุสามเณร (พระภิกษุถือศีล 227 ข้อ สามเณรถือศีล 10 ข้อ)
    2) พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) เกี่ยวกับ เทศนาธรรมของพระพุทธเจ้าโดยมีเรื่องราว มีคน มีสถานที่ *ไม่ใช่หลักธรรมล้วนๆ *
    3) พระอภิธรรมปิฎก เกี่ยวกับ หลักธรรมล้วน ๆ ไม่มีเรื่องราว ไม่มีคน ไม่มีสถานที่
    5. นิกาย : มี 2 นิกายสำคัญ
    5.1 นิกายเถรวาท (หินยาน) : ลักษณะเด่นคือ
    1. เคร่งครัดในพระวินัยและสิกขาบทต่าง ๆ ไม่แก้ไขพระวินัยข้อใดเลย
    2. รักษาและถ่ายทอดพระไตรปิฎกดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด ไม่ตัดต่อแต่งเติมพระไตรปิฎก แต่อย่างใด
    3. นับถือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์แต่เพียงแค่องค์เดียว (คือ พระสมณโคดมพุทธเจ้า)
    4. เน้นปฏิบัติธรรมช่วยเหลือตนเองให้พ้นทุกข์ ก่อนช่วยเหลือคนอื่น
    5. แพร่หลายในประเทศ ไทย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา
    6. พิเศษเฉพาะนิกายเถรวาทในไทย จะมีแบ่งย่อยเถรวาทในไทยออกเป็นอีก 2 นิกายย่อย (แต่ล้วนเป็นเถรวาททั้งคู่) คือ
    – มหานิกาย เช่น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดสระเกศ วัดชนะสงคราม วัดปากน้ำ วัดกัลยาณมิตร วัดไตรมิตรวิทยาราม ฯลฯ
    – ธรรมยุติกนิกาย เช่น วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดราชาธิวาส วัดบวรมงคล วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดเทพศิรินทราวาส วัดบรมนิวาส วัดปทุมวนาราม วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก ฯลฯ
    5.2 นิกายอาจาริยวาท (มหายาน) : ลักษณะเด่นคือ
    1. มีการแก้ไขพระวินัยและสิกขาบท บางข้อ เช่น ฉันอาหารเย็นได้ , ใส่จีวรหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสีสัน (บางนิกายย่อย พระมีเมีย มีลูกได้)
    2. มีการแก้ไข ตัดต่อแต่งเติมพระไตรปิฎก โดยเฉพาะจะเน้นนับถือพระสูตรมาก และจะนิยมสวดมนต์สาธยายพระสูตร
    3. นับถือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์ เน้นสวดมนต์อ้อนวอนขอพรจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เหล่านั้น เช่น พระอมิตาภะพุทธเจ้า , พระไภสัชคุรุพุทธเจ้า , พระไวโรจนะพุทธเจ้า , พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ (กวนอิม) , พระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ , พระสมันตภัทรมหาโพธิสัตว์ และพระศรีอาริยเมตไตรยมหาโพธิสัตว์ เป็นต้น
    4. เน้นปฏิบัติธรรมช่วยเหลือคนอื่นให้พ้นทุกข์ก่อนตนเอง (เน้นบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์)
    5. แพร่หลายในประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม มองโกเลีย ภูฏาน ธิเบต
    เรื่องที่ 2 : หลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา
    1. อริยสัจ 4 : ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ * หัวใจแห่งพระพุทธศาสนา *
    1) ทุกข์ : ผล : คือสภาวะทนได้ยาก ทุกข์ทรมาน ไม่สบายกายไม่สบายใจ
    2) สมุทัย : เหตุ : คือเหตุแห่งทุกข์ อันได้แก่ ตัณหา (ความอยาก) นั่นเอง
    3) นิโรธ : ผล : คือสภาวะดับทุกข์ หมดทุกข์ หรือ นิพพาน นั่นเอง
    4) มรรค : เหตุ : คือเหตุแห่งดับทุกข์ หรือ วิธีดับทุกข์
    * อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่ทำให้พระพุทธศาสนาได้รับการยกย่องว่า เป็นศาสนาที่มีเหตุมีผลมากที่สุด *
    2. ขันธ์ 5 : องค์ประกอบแห่งชีวิตมนุษย์ 5 ประการ คือ
    1) รูป (รูปธรรม) คือ รูปร่างร่างกายของมนุษย์อันประกอบไปด้วยธาตุ 4 คือ ดิน (เนื้อหนังมังสา กระดูกของร่างกายเรา) น้ำ (เลือด น้ำหนอง น้ำลาย ในร่างกาย) ลม (แก๊สในร่างกาย ในกระเพาะอาหาร) ไฟ (อุณหภูมิความร้อนของร่างกาย)
    2) เวทนา (นามธรรม) คือ ความรู้สึก มี 3 ประเภท คือ 1.รู้สึกสุข 2.รู้สึกทุกข์ 3.รู้สึกเฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
    3) สัญญา (นามธรรม) คือ ความจำได้หมายรู้ กำหนดรู้สิ่งต่าง ๆ ได้โดยไม่หลงลืม 4) สังขาร (นามธรรม) คือ ความคิด ที่จะปรุงแต่งจิตให้กระทำสิ่งต่าง ๆ
    5) วิญญาณ (นามธรรม) คือ อารมณ์การรับรู้ของจิต ผ่านทางช่องทางการรับรู้ทั้ง 6 (อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่ใช่ภูติผีปีศาจใดใดทั้งสิ้น
    3. ไตรสิกขาหรืออริยมรรค 8 ประการ : การฝึกฝนอบรมตนเอง 3 ขั้น ซึ่งจะตรงกับอริยมรรค 8 ประการดังนี้
    1) ศีลสิกขา : การอบรมกาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย เป็นปรกติ ได้แก่
    – สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ ทำแต่ความดี ทำแต่สิ่งที่สุจริต
    – สัมมาวาจา คือ วาจาชอบ พูดชอบ พูดแต่สิ่งดี ๆ
    – สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ ประกอบอาชีพสุจริต
    2) สมาธิสิกขาหรือจิตสิกขา : การอบรมจิต ให้สงบเรียบร้อย เป็นปรกติ ได้แก่
    – สัมมาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นชอบ จิตสงบไม่ฟุ้งซ่าน
    – สัมมาสติ คือ ระลึกรู้ตัวชอบ ไม่หลงใหล
    – สัมมาวายามะ คือ เพียรระวังตนชอบ ไม่ให้ทำความชั่วและหมั่นรักษาความดีให้ดียิ่งขึ้น
    3) ปัญญาสิกขา : การอบรมปัญญา ให้เกิดความรู้แจ้ง ได้แก่
    – สัมมาสังกัปปะ คือ คิดชอบ คิดแต่สิ่งดีสุจริต
    – สัมมาทิฏฐิ คือ มีความเห็นชอบ มีความคิดเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรมตามหลักศาสนา พุทธ เช่น เชื่อในอริยสัจ 4 เชื่อในกฎแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อในสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
    * ไตรสิกขาพัฒนามาจากอริยมรรค ๘ ถือเป็นหลักธรรมเรื่องเดียวกัน *
    4. ไตรลักษณ์ (สามัญญลักษณ์) : ลักษณะสามัญของสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต จะเป็นไปตามกฎ 3 ประการนี้ คือ
    1) อนิจจัง : สรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยงแท้ไม่แน่นอน ล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลง
    2) ทุกขัง : สรรพสิ่งล้วนทนได้ยาก เป็นทุกข์ทรมาน
    3) อนัตตา : สรรพสิ่งล้วนไม่มีตัวตน เราควบคุมมันไม่ได้
    * อนัตตาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพุทธ และตรงข้ามกับอาตมัน(อัตตา) ของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูมากที่สุด *
    5. โอวาทปาฏิโมกข์ : หลักธรรมสำคัญอีกประการหนึ่งในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงเทศนาในวันมาฆบูชา (วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
    1) ทำแต่ความดี
    2) ละเว้นความชั่ว
    3) ทำจิตให้บริสุทธ์ผ่องใส
    6. พรหมวิหาร 4 : ธรรมสำหรับผู้เป็นพรหม หรือผู้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นที่พึ่งพิงของผู้อื่น
    1) เมตตา : ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข
    2) กรุณา : ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
    3) มุทิตา : ยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข
    4) อุเบกขา : วางเฉยเสีย ไม่ยินดียินร้าย
    7. กรรมนิยาม 12 : กฎแห่งกรรมหรือแห่งการกระทำ ซึ่งกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา จะต้องเป็นการ กระทำที่ประกอบด้วย เจตนาเท่านั้น การกระทำใดไม่มีเจตนาไม่จัดว่าเป็นกรรม เป็นแต่เพียง กริยา เท่านั้น คือเป็นแค่การเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่มีผลทางจริยธรรม กรรมในทางพระพุทธศาสนา แบ่งตามเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผลของกรรมนั้น แบ่งได้เป็น 3 หมวด 12 ประเภท ดังนี้
    7.1 ปากกาลกรรม : กรรมที่ให้ผลตามกาลเวลา มี 4 ประเภท คือ
    7.1.1 ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม : กรรมที่ให้ผลทันทีทันใด หรือให้ผลในชาตินี้
    7.1.2 อุปัชชเวทนียกรรม : กรรมที่ให้ผลในกาลข้างหน้า หรือให้ผลในชาติหน้า
    7.1.3 อปราปรเวทนียกรรม : กรรมที่ให้ผลในระยะเวลานานข้างหน้า หรือให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป
    7.1.4 อโหสิกรรม : กรรมที่ยกเลิก ไม่มีผลอีก หรือให้ผลเสร็จแล้ว
    7.2 กิจกรรม : กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ที่ให้ผล มี 4 ประเภท คือ
    7.2.1 ชนกกรรม : กรรมที่ชักนำให้ไปเกิดใหม่ เมื่อสิ้นชีวิตจากจากภพนี้
    7.2.2 อุปัตถัมภกกรรม : กรรมที่เข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม
    7.2.3 อุปปีฬกกรรม : กรรมที่เข้ามาบรรเทาหรือหันเหทิศทาง ทำให้ไม่ดีเต็มที่หรือไม่ให้เลวเต็มที่
    7.2.4 อุปฆาตกกรรม : กรรมตัดรอน ที่มีกำลังแรงเข้าไปตัดรอนการให้ผลของกรรมอื่น ๆ และให้ผลชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ
    7.3 ปากทานปริยายกรรม : กรรมที่ให้ผลตามลำดับความรุนแรง มี 4 ประเภท คือ
    7.3.1 ครุกรรม : กรรมหนัก จะให้ผลก่อนกรรมอื่น ๆ
    7.3.2 พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม : กรรมที่ทำบ่อย ๆ จนเคยชิน ถ้าไม่มีชนกกรรม กรรมชนิดนี้จะให้ผลก่อน
    7.3.3 อาสันนกรรม : กรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย ถ้าไม่มีกรรมสองข้อแรก กรรมชนิดนี้จะให้ผลก่อน
    7.3.4 กตัตตากรรม : กรรมอ่อน ๆ หรือกรรมสักแต่ว่าทำ กรรมชนิดนี้จะให้ผลก็ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นแล้ว
    8. เป้าหมายชีวิตสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (สภาวะดับทุกข์ ดับกิเลส)
    เรื่องที่ 4 : ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
    1. พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล คือมีหลักธรรมคำสั่งสอนที่เป็นความจริง เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ถูกต้อง เป็นจริง พิสูจน์และเชื่อถือได้
    2.มีหลักปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง ไม่เคร่งครัดจนเกินไปและไม่ย่อหย่อนจนเกินไป
    3. เน้นฝึกฝนตนเองไม่ให้ประมาท
    4. เน้นสอนว่าปัญหาต่าง ๆ ล้วนมีสาเหตุ มิได้เกิดขึ้นลอย ๆ
    5. เน้นสอนให้มนุษย์แก้ปัญหาด้วยตนเอง
    6. มุ่งแสวงหาประโยชน์สุขแก่ตนเอง แก่สังคม และแก่โลก
    7. เน้นให้มนุษย์ฝึกฝนตนเองเพื่อมุ่งสู่อิสรภาพ
    สรุปย่อหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : ศาสนาสำคัญในสังคมไทย
    ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
    1. ประเภทพหุเทวนิยม นับถือพระเจ้าหลายองค์ เช่น พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม พระอุมา พระลักษมี พระสุรัสวดี พระพิฆเณศร พระรามจันทร์ พระกฤษณะ พระอินทร์ พระอัคนี พระคงคา และอีกมากมาย
    2. พระเจ้า : มีสูงสุด 3 พระองค์ (ตรีมูรติ) คือ พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม
    3. ศาสดา : ไม่มี
    4. คัมภีร์ : คัมภีร์พระเวท แบ่งเป็น 4 เล่ม คือ ฤคเวท ยชุรเวท ไตรเวท อาถรรพเวท
    5. นิกาย : มี 3 นิกายสำคัญ คือ
    5.1 นิกายไศวะ : นับถือพระศิวะ(พระอิศวร) เป็นพระเจ้าสูงสุดในตรีมูรติ และนิยมบูชาศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
    5.2 นิกายไวษณพ : นับถือพระวิษณุ(พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุดในตรีมูรติ และนิยมบูชาองค์อวตารปางต่าง ๆ ของ พระวิษณุ ที่อวตารลงมาปราบอสูร เช่น พระรามจันทร์ พระกฤษณะ พระกัลกี เป็นต้น
    5.3 นิกายศักติ : นับถือพระชายาของพระเจ้าองค์ต่าง ๆ ว่าทรงไว้ซึ่งศักติ(พลังหรืออำนาจ)แห่ง พระสวามี และมนุษย์สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า ขอพรได้ง่ายกว่าศักติหรือพระชายาพระเจ้าที่เป็นที่นับถือ เช่น
    – พระอุมา ชายาของพระศิวะ ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ สามารถอวตารเป็น พระนางทุรคา พระนางกาลี
    เพื่อไป ปราบอสูร
    – พระลักษมี ชายาของพระวิษณุ (ได้รับยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ)
    – พระสุรัสวดี ชายาของพระพรหม (ได้รับยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งอักษรศาสตร์
    และศิลปวิทยาการต่าง ๆ เพราะเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรเทวนาครี)
    * ปัจจุบันในประเทศอินเดีย ไม่นิยมบูชาพระพรหม จึงไม่มีนิกายพรหม *
    6. หลักธรรมสำคัญ :
    6.1 หลักปรมาตมัน – อาตมัน และ โมกษะ ถือเป็นหลักธรรมชั้นสูงของศาสนาพราหมณ์ฮินดู
    1. ปรมาตมัน คือ วิญญาณสูงสุดหรือพระเจ้าสูงสุด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของชีวิตทั้งหลาย
    2. อาตมัน คือ วิญญาณย่อย อันเป็นอมตะไม่มีวันแตกดับ อยู่ในร่างกายมนุษย์ทั้งหลาย เวลามนุษย์ ตายจะตายแต่เพียงร่างกาย แต่อาตมัน จะเป็นอมตะไม่มีวันแตกดับ ซึ่งอาตมันจะต้องเวียนว่าย ตายเกิดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะบรรลุโมกษะ
    3. โมกษะ คือ สภาวะแห่งการหลุดพ้น อาตมันของมนุษย์แต่ละคน จะได้กลับไปรวมกับปรมาตมัน และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกเลย
    6.2 หลักตรีมูรติ : พระเจ้าสูงสุดมี 3 พระองค์ และต่างทำหน้าที่ต่อโลกต่างกันไป คือ
    1. พระพรหม หน้าที่สร้างโลกสร้างมนุษย์ ชาวฮินดูเชื่อว่าเมื่อพระพรหมสร้างโลกแล้วจะนอนหลับ พักผ่อนชั่วกัปชั่วกัลป์ ชั่วอายุขัยของโลก และจะตื่นขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างโลกสร้างมนุษย์ เมื่อโลกและ มนุษย์หมดอายุขัยถูกทำลายล้างแล้ว (ทำให้ชาวฮินดูในประเทศอินเดียไม่นิยมบูชาพระพรหม แต่จะ นิยมบูชาพระศิวะและพระวิษณุมากกว่า)
    2. พระศิวะ (พระอิศวร) หน้าที่ทำลายโลก ด้วย “ตรีเนตร” ดวงตาที่สามของพระศิวะ ซึ่งสถิตอยู่กลาง หน้าผากของพระศิวะ
    3. พระวิษณุ (พระนารายณ์) หน้าที่คุ้มครองโลก ด้วยการอวตารลงมาปราบยักษ์ปราบมาร
    6.3 หลักอาศรม ๔ : วัยแห่งชีวิต 4 วัย ซึ่งแต่ละวัยจะมีหน้าที่เฉพาะของวัยตนเอง
    1. พรหมจารี : วัยเด็ก หน้าที่คือ เรียนหนังสือหาความรู้ และศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์พระเวท เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ทำงานหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวต่อไป
    2. คฤหัสถ์ : วัยผู้ใหญ่ หน้าที่คือ ครองเรือน แต่งงานมีครอบครัวสืบทอดวงศ์ตระกูล และทำงานหาเลี้ยงครอบครัวให้สมบูรณ์
    3. วานปรัสถ์ : วัยกลางคน หน้าที่คือ ทำงานช่วยเหลือสังคมช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม และหมั่น ปฏิบัติธรรมให้มากขึ้น เพื่อเตรียมเข้าสู่อาศรมสุดท้ายของชีวิต
    4. สันยาสี : วัยชรา หน้าที่คือ ออกบวชสละชีวิตทางโลก ไปอยู่ตามป่าตามเขา บำเพ็ญตบะ โยคะ เพื่อแสวงหาโมกษะ
    6.4 หลักวรรณะ ๔ : มนุษย์มี 4 ชนชั้นเพราะเกิดจากพระพรหมสร้างขึ้นมาจากอวัยวะของพระพรหมที่ แตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีอาชีพที่ต่างกัน
    1. วรรณะพราหมณ์ เกิดจาก ปาก ของพระพรหม , อาชีพคือ เป็นนักบวชท่องบ่นสวดมนต์คัมภีร์พระเวทและเป็นครูอาจารย์สั่งสอนคัมภีร์แก่วรรณะอื่น ๆ
    2. วรรณะกษัตริย์ เกิดจาก มือ ของพระพรหม , อาชีพคือ เป็นนักรบนักปกครอง คอยคุ้มครองคนดีและปราบปรามคนชั่ว
    3. วรรณะไวศยะ(แพศย์) เกิดจาก หน้าท้อง ของพระพรหม , อาชีพคือ เป็นพ่อค้าวานิชและเกษตรกร ชาวไร่ชาวนา
    4. วรรณะศูทร เกิดจาก เท้า ของพระพรหม , อาชีพคือ เป็นกรรมกรผู้ใช้แรงงาน คอยทำงานรับใช้วรรณะทั้ง 3
    * จัณฑาล คือ คนที่ไม่มีวรรณะ ต่ำต้อยและเป็นที่รังเกียจที่สุดในสังคมฮินดู
    เกิดจากพ่อแม่ที่แต่งงานข้ามวรรณะ โดยเฉพาะแม่เป็นวรรณะพราหมณ์ พ่อเป็นวรรณะศูทร *
    7. เป้าหมายชีวิตของศาสนาฮินดู : โมกษะ
    สรุปย่อศาสนาคริสต์
    1. ประเภทเอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว
    2. พระเจ้า : พระยะโฮวา (และนับถือรวมไปถึงพระเยซูคริสต์ว่าเป็นภาคหนึ่งของพระเจ้าด้วย)
    3. ศาสดา : พระเยซูคริสต์ * เป็นทั้งศาสดาและภาคหนึ่งของพระเจ้า *
    4. คัมภีร์ : คัมภีร์ไบเบิล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ
    1) ภาคพันธสัญญาเดิม เป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนายูดาย(หรือศาสนายิว)ด้วย ว่าด้วยเรื่องพระเจ้า สร้างโลกและสร้างมนุษย์คู่แรก(อาดัมและเอวา) เรื่องโนอาต่อเรือหนีน้ำท่วมโลก เรื่องโมเสสนำชาวยิวอพยพออกจากอียิปต์
    2) ภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นคำสอนของพระเยซู โดยเฉพาะ ว่าด้วยเรื่องความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์ และสอนให้มนุษย์รักซึ่งกันและกัน ให้อภัยต่อกันและกัน
    5. นิกาย : มี 3 นิกายสำคัญ
    5.1 นิกายโรมันคาธอลิค (คนไทยเรียก “คริสตัง”)
    1. นับถือพระสันตะปาปา(Pope) เป็นประมุขของคริสตจักร และมีนักบวช (เช่น บาทหลวง บราเดอร์ ซิสเตอร์)
    2. เน้นบูชาสวดมนต์ต่อแม่พระมารีอา และต่อบรรดานักบุญ(Saint) ทั้งหลาย
    3. มีพิธีกรรมหรูหราหลายขั้นตอน โบสถ์ตกแต่งสวยงามหรูหรา และยอมรับปฏิบัติตามศีล 7 ประเภท (คือ ศีลล้างบาป , ศีลกำลัง , ศีลแก้บาป , ศีลมหาสนิท ,ศีลสมรส , ศีลเจิมคนป่วย และศีลบวชเป็นบาทหลวง)
    4. ไม้กางเขนมีองค์พระเยซูตรึงอยู่กลางไม้กางเขน
    5. แพร่หลายในยุโรปใต้ เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส และในทวีปอเมริกาใต้ เช่น บราซิล อาร์เจนตินา
    5.2 นิกายโปรแตสแตนท์ (คนไทยเรียก “คริสเตียน”)
    1. ไม่มีนักบวช (มีแต่ ศาสนจารย์) และไม่นับถือพระสันตะปาปา(Pope) เป็นประมุข 2. ไม่บูชานับถือแม่พระมารีอา ไม่นับถือนักบุญ(Saint)
    * บูชานับถือเฉพาะแต่พระเยซูคริสต์เท่านั้น *
    3. เน้นพิธีกรรมที่เรียบง่าย โบสถ์ตกแต่งเรียบง่าย และยอมรับปฏิบัติตามศีลเพียงแค่ 2 ประเภท เท่านั้น คือ 1. ศีลล้างบาป(หรือศีลจุ่ม) และ 2. ศีลมหาสนิท(พิธีกินขนมปังและดื่มไวน์)
    4. ไม้กางเขนไม่มีองค์พระเยซูตรึงอยู่กลางไม้กางเขน เป็นไม้กางเขนเปล่า ๆ
    5. แพร่หลายในยุโรปตะวันตกและยุโรปเหนือ เช่น เยอรมนี อังกฤษ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
    5.3 นิกายออร์โธดอกซ์
    1. มีนักบวช แต่ไม่นับถือพระสันตะปาปา(Pope) เป็นประมุข (ในแต่ละประเทศจะมีพระสังฆราช ที่เรียกว่า “Pratriach” เป็นประมุขประเทศใครประเทศมัน)
    2. เน้นบูชานับถือแม่พระมารีอาและนักบุญทั้งหลาย
    3. มีพิธีกรรมหรูหรา หลายขั้นตอน
    4. แพร่หลายในยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย กรีก โรมาเนีย (ไม่แพร่หลายในไทย)
    6. หลักธรรมสำคัญ :
    6.1 หลักความรัก * หัวใจแห่งศาสนาคริสต์ * มี 2 ระดับ คือ
    1.ระดับสูง : ความรักระหว่างพระเจ้าต่อมนุษย์ (พระเจ้าทรงรักมนุษย์มาก)
    2.ระดับล่าง : ความรักระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันเอง มนุษย์ต้องรักกันเพราะเป็นพี่น้องกันทั้งโลก (เพราะมนุษย์เกิดจากบรรพบุรุษร่วมกันคือ อาดัมและเอวา)
    6.2 หลักตรีเอกานุภาพ(Trinity) เชื่อว่าพระเจ้าสูงสุดมีเพียงองค์เดียว แต่ได้ทรงแบ่งภาคออกเป็น 3 ภาค คือ
    1. พระบิดา คือ พระยะโฮวา ซึ่งเป็นพระผู้สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์ เป็นผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์ขึ้นมา
    2. พระบุตร คือ พระเยซูคริสต์ ซึ่งเสด็จลงมาเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อไถ่บาปให้กับมนุษย์
    3. พระจิต(พระวิญญาณบริสุทธิ์) คือ ภาคของพระเจ้าซึ่งสถิตอยู่ในทุกที่ ทรงล่วงรู้ความเป็นไปทุกอย่างของมนุษย์
    6.3 หลักอาณาจักรพระเจ้า มี 2 ระดับ
    1. ระดับโลกนี้ ซึ่งมนุษย์สามารถเข้าถึงได้ในชาตินี้ คือ โบสถ์หรือคริสตจักร นั่นเอง
    2. ระดับโลกหน้า ซึ่งมนุษย์จะเข้าถึงได้ในโลกหลังความตาย คือ สวรรค์ของพระเจ้า ที่ซี่งมนุษย์จะมี ชีวิตเป็นนิรันดร มีแต่ความสุข และไม่ต้องตายอีกเลย
    * ศาสนาคริสต์ไม่เชื่อเรื่องการเวียนตายเกิด ไม่มีชาติที่แล้ว ไม่มีชาติหน้า มนุษย์เกิดหนเดียวตายหนเดียว *
    6.4 หลักบาปกำเนิด
    1. มนุษย์มีบาปกำเนิดติดตัว บาปนี้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษคู่แรกของมนุษย์คือ อาดัมและเอวา ที่ได้ทำบาปครั้งแรกเอาไว้ คือเด็ดผลไม้แห่งความรู้สำนึกดีชั่วของพระเจ้ามากิน
    2. ชาวคริสต์ทุกคนทุกนิกาย จึงต้องรับศีลล้างบาป(ศีลจุ่ม) เพื่อล้างบาปกำเนิด เป็นศีลแรกของชีวิต
    7. เป้าหมายชีวิตของศาสนาคริสต์ : อาณาจักรพระเจ้า , การได้มีชีวิตนิรันดรอยู่ในอาณาจักรพระเจ้า
    สรุปย่อศาสนาอิสลาม
    1. ประเภทเอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว
    * ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ไม่มีนักบวช และไม่มีรูปเคารพ ไม่มีเครื่องรางของขลังใดใด *
    2. พระเจ้า : พระอัลลอฮ
    3. ศาสดา : นบีมูฮัมหมัด
    4. คัมภีร์ : คัมภีร์อัลกุรอาน
    5. นิกาย : มี 3 นิกายสำคัญ
    5.1 นิกายซุนนี
    1. ยึดมั่นและปฏิบัติตามจารีตการดำเนินชีวิต (ซุนนะ) ของนบีมูฮัมหมัดอย่างเคร่งครัด
    2. ยอมรับผู้นำศาสนาว่ามีแค่ 4 คน หลังจากนบีมูฮัมหมัดสิ้นพระชนม์ (คือ 1. ท่านอบูบักร 2. ท่านอุมัร 3. ท่านอุสมาน และ 4. ท่านอาลี)
    3. แพร่หลายมากที่สุด มุสลิมส่วนใหญ่ทั่วโลกนับถือนิกายนี้ (รวมถึงมุสลิมในไทยส่วนใหญ่ ก็นับถือ นิกายนี้ด้วย)
    5.2 นิกายชีอะห์
    1. นับถือท่านอาลีและลูกหลานของท่านอาลี ว่าเป็นผู้นำศาสนาที่ถูกต้อง (เพราะท่านอาลีเป็นทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรเขยของนบีมูฮัมหมัด)
    2. แพร่หลายใน อิหร่าน อิรัก เยเมน เป็นต้น
    5.3 นิกายวาฮาบีย์
    1. เป็นนิกายใหม่ล่าสุดในศาสนาอิสลาม
    2. เน้นความสำคัญและความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์อัลกุรอาน มาก ๆ คือ ห้ามตีความและห้ามแก้ไข คัมภีร์อัลกุรอาน
    3. แพร่หลายใน ซาอุดีอาระเบีย คูเวต เป็นต้น
    6. หลักธรรมสำคัญ :
    6.1 หลักศรัทธา ๖ ประการ มุสลิมต้องศรัทธาใน 6 สิ่งนี้ว่ามีจริง
    1. ศรัทธาใน พระอัลลอฮ ว่ามีจริง และทรงเป็นพระเจ้าสูงสุดแต่เพียงองค์เดียว
    2. ศรัทธาใน ศาสดา(นบีหรือรอซูล) ทั้งหลาย ซึ่งมีหลายท่าน เช่น นบีอาดัม นบีอิบรอฮีม(อับบราฮัม) นบีมูซา(โมเสส) นบีอีซา(พระเยซู) และนบีมูฮัมหมัด ซึ่งเป็นนบีคนสุดท้าย
    3. ศรัทธาใน คัมภีร์ ทั้งหลาย ซึ่งมีหลายเล่ม เช่น พระคัมภีร์เดิมของศาสนายูดาย พระคัมภีร์ไบเบิล ของศาสนาคริสต์ และพระคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้ายที่พระอัลลอฮ ประทานให้มนุษย์
    4. ศรัทธาใน เทวฑูต(มลาอีกะห์) ซึ่งเป็นเทพบริวารของพระอัลลอฮ
    5. ศรัทธาใน วันพิพากษาโลก(วันกียามะห์) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของโลกและมนุษย์ ที่พระอัลลอฮ
    จะทรงพิพากษาการกระทำของมนุษย์ทั้งหลาย
    6. ศรัทธาใน กฎสภาวะแห่งพระอัลลอฮ ซึ่งได้ทรงกำหนดไว้ให้มนุษย์ยอมรับกฎเหล่านี้ เช่น กฎธรรมชาติที่โลกจะต้องมีฤดูกาลต่าง ๆ หรือกฎแห่งกรรม ถ้าทำดี พระอัลลอฮ จะทรงอวยพรให้ แต่ถ้าทำชั่วพระอัลลอฮ จะทรงลงโทษ
    6.2 หลักปฏิบัติ ๕ ประการ มุสลิมต้องปฏิบัติใน 5 สิ่งนี้ อย่างเคร่งครัด คือ
    1. การปฏิญาณตน มุสลิมจะต้องปฏิญาณตนว่ามีพระอัลลอฮ เป็นพระเจ้าสูงสุดแต่เพียงองค์เดียว
    2. การละหมาด คือการนมัสการและแสดงความนอบน้อมต่อพระอัลลอฮ ซึ่งมุสลิมที่เคร่งครัดและ มี เวลาจะละหมาดวันละ 5 ครั้ง
    3. การถือศีลอด ในเดือนศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมทั่วโลก คือเดือนรอมฎอน โดยมุสลิมจะอดอาหารและน้ำในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นยันพระอาทิตย์ตกดิน เพื่อฝึกให้รู้จักรสชาดความอดอยากหิวโหย และจะได้ช่วยเหลือคนยากจน
    4. การบริจาคซะกาต เพื่อให้คนรวยได้ช่วยเหลือคนยากจน
    5. การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบีย หลักปฏิบัตินี้เป็นหลักปฏิบัติที่เคร่งครัดน้อยที่สุด เพราะไม่ต้องทำทุกคน ให้ทำได้เฉพาะมุสลิมที่มีความพร้อมเท่านั้น
    * ศาสนาอิสลามไม่เชื่อเรื่องการเวียนตายเกิด ไม่มีชาติที่แล้ว ไม่มีชาติหน้ามนุษย์เกิดหนเดียวตายหนเดียว *
    7. เป้าหมายชีวิตของศาสนาอิสลาม : การเข้าถึงพระอัลลอฮ

สรุปเนื้อหารายวิชา

พันธุศาสตร์

อังกฤษ: genetics) เป็นสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์)

มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน

ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้

ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก

แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น

. การทดลองของเมนเดล

ขั้นแรกก่อนที่เมนเดลจะเริ่มทำการทดลอง เมนเดลได้เอาเมล็ดถั่วพันธุ์ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้ปลูกให้ผสมตัวเอง (self fertilization) แล้วเก็บเมล็ดมาปลูกใหม่ ทำอย่างนี้หลายรุ่น (generation) เพื่อให้แน่ใจว่าลักษณะต่างๆของถั่วแต่ละพันธุ์ที่คัดเลือกมาเป็นพันธุ์แท้ หรือให้มีคู่ของจีน (gene) ที่เหมือนกัน เช่น TT หรือ tt ลักษณะพันธุ์แท้ คือ พันธุ์ที่ออกลูกมากี่รุ่นก็ตาม ลูกที่ออกมาจะมีลักษณะ เหมือนกับต้นที่เป็นพ่อแม่เสมอ เช่นถั่วพันธุ์เตี้ย เมื่อปลูกดูลูกหลานหลายๆรุ่น ถ้าลูกที่ออกมามีลักษณะเตี้ยหมดเหมือนพ่อแม่ แสดงว่าเป็นพันธุ์แท้ เมื่อเมนเดลเห็นว่าลักษณะของถั่วที่ เมนเดลได้คัดเลือกพันธุ์ถั่ว ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันเด่นชัด สังเกตได้ง่าย 7 คู่ด้วยกัน คือ

คู่ที่ 1 ลักษณะรูปทรงของเมล็ด

เมล็ดกลม-ขรุขระ

คู่ที่ 2 ลักษณะสีของใบเลี้ยง

สีเหลือง-สีเขียว

คู่ที่ 3 ลักษณะสีของดอก

สีแดง-สีขาว

คู่ที่ 4 ลักษณะรูปทรงของฝัก

ฝักอวบ-ฝักคอด

คู่ที่ 5 ลักษณะสีของฝัก

สีเขียว-สีเหลือง

คู่ที่ 6 ตำแหน่งของดอก

ดอกออกข้างลำต้น-ดอกออกที่ยอด

คู่ที่ 7 ความสูงของลำต้น

สูง-เตี้ย

3.1 มอโนไฮบริดครอสส์ (monohybrid cross)

การผสมพิจารณาลักษณะเดียว หมายถึง การผสมพืชและสัตว์ ที่พิจารณาลักษณะที่แตกต่างกันลักษณะเดียว เช่น ลักษณะความสูงของลำต้น (สูงกับเตี้ย) ลักษณะรูปทรงของเมล็ด (กลมกับขรุขระ)

ในการทดลองครั้งแรกของเมนเดล ได้ทำการทดลองการผสมพิจารณาลักษณะเดียว เมนเดลได้ปลูกถั่วต่างๆที่มีลักษณะต่างๆกันเป็นคู่ๆ เช่น คู่ของถั่วมีรูปร่างของเมล็ดกลมกับเมล็ดขรุขระ ขนาดของลำต้นสูง กับลำต้นเตี้ย ลักษณะสีของฝักสีเขียวกับสีเหลือง เป็นต้น ในการผสมพันธุ์ที่เมนเดลทำการทดลองทั้ง 7 คู่นั้น เมนเดลได้ทำการผสมเป็นจำนวนมากพอในการทดลอง เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือได้ และในแต่ลักษณะที่ทำการทดลองได้ใช้พันธุ์พ่อพันธุ์แม่ (parents หรือ P.generation) เช่น การผสมลักษณะของเมล็ดกลมและขรุขระ ได้แยกการผสมเป็น 2 พวก พวกหนึ่งเอาเมล็ดกลม เป็นพันธุ์แม่ กับเมล็ดขรุขระเป็นพันธุ์พ่อ และอีกพวกหนึ่งเอาเมล็ดกลมเป็นพันธุ์พ่อ เมล็ดขรุขระเป็นพันธุ์แม่ การผสมในทุกลักษณะ เมนเดลได้ช่วยทำหน้าที่โดยการนำเอาเกสรตัวผู้ (stamen) ไปผสมกับเกสรตัวเมีย (pistil) ของต้นที่ต้องการ

จากผลการทดลองที่เมนเดลได้ทำการทดลอง โดยพิจารณาลักษณะเดียวเป็นจำนวนมาก พบว่าแต่ละคู่นั้นจะแสดงลักษณะหนึ่งลักษณะใดของแต่ละคู่ออกมาเพียงลักษณะเดียว ไม่ว่าเป็นลักษณะที่ได้จากพันธุ์พ่อ หรือพันธุ์แม่ ส่วนอีกลักษณะหนึ่งไม่ปรากฏออกมาเลย

เพื่อความสะดวกในการอ้างถึง เมนเดลได้เรียกพันธุ์พ่อ-แม่ว่า P.parents หรือ P.generation เรียกลูกผสมครั้งแรกว่า F1(first filial generation)เรียกลูกของ F1 ว่า F2 ลูกของ F2 ก็เรียก F3 ต่อไปตามลำดับ ลูกผสมที่เกิดจากพ่อแม่คนละจีโนไทป์ (genotype) ซึ่งจีโนไทป์เป็นลักษณะของจีน หรือหน่วยลักษณะทางพันธุ์กรรมภายในเซลล์ เป็นตัวที่จะใช้พิจารณาการแสดงออกของลักษณะของสิ่งมีชีวิต เช่น TT หรือ Tt หรือ tt

หลังจากการทดลองปลูกถั่วครั้งแรกแล้ว เมนเดลก็เอา F1 ที่ได้มาปลูกใหม่อีกแล้วปล่อยให้เกิดการผสมตัวเองโดยธรรมชาติ ลูกที่เกิดมาเรียก F2 เมนเดลก็ได้ศึกษาถึงลักษณะของรุ่น F2 หรือรุ่นหลาน หลังจากมนเดลได้พบมาแล้วในรุ่นลูก (F1) ว่าถ้าเอาพันธุ์พ่อหรือพันธุ์แม่ที่มีลักษณะต้นสูงผสมกับพันธุ์พ่อหรือแม่ที่มีต้นเตี้ย F1 ที่ได้ต้นสูงทั้งหมดเมื่อมาสังเกตใน F2 พบว่ามีทั้งสองลักษณะที่เป็นคู่กัน เมนเดลจึงให้เรียกลักษณะทางพันธุกรรมที่แสดงออกมาได้แม้จีนที่ควบคุมลักษณะนั้นเป็นคู่ของจีนที่ต่างกันว่าลักษณะเด่น (dominant) และเรียกลักษณะที่ไม่ปรากฏใน F1 ซึ่งเป็นสภาพด้อยของคู่จีน (allele) ที่ไม่มีโอกาสแสดงออกได้เลยถ้าถูกข่มอย่างสมบูรณ์ แต่จะแลดงออกได้ถ้าเป็นคู่ของจีนที่เหมือนกันว่าลักษณะด้อย (recessive)

คู่ของจีนที่ต่างกัน เช่น Tt, Rr เรียกกว่า เฮเทอโรไซกัสจีน (heterozygous gene) และเรียกสิ่งมีชีวิตที่มีตำแหน่งจีนบนโครโมโซมเป็นคู่จีนคนละชนิดว่าเฮเทอโรไซโกต (heterrozygote)

คู่ของจีนที่เหมือนกัน เช่น TT, RR, rr เรียกกว่า ฮอมอโรไซกัสจีน (homozygous gene) และเรียกสิ่งมีชีวิตที่มีจีโนไทป์เป็นแบบฮอมอไซกัส ซึ่งอาจจะเด่นทั้งคู่ หรือด้อยทั้งคู่ก็ได้ เช่น TT, tt, RR หรือ rr ฮอมอไซโกต (homozygote)

หลังจากเมนเดลตรวจนับ F2 แล้ว พบว่า F2 จะมีจำนวนลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อย เป็นอัตราส่วน 3:1 ยกตัวอย่าง เช่น ลักษณะพันธุ์พ่อแม่ สูง-เตี้ย (เป็นพันธุ์แท้ทั้งคู่) F1 ที่ได้มีลักษณะต้นสูงทั้งหมด เมื่อปล่อยให้ F1 ผสมตัวเอง F2 ที่ได้มีทั้งสูงและเตี้ยในอัตราส่วนสูง 3 ส่วน เตี้ย 1 ส่วน ซึ่งเมนเดลเรียกลักษณะสูงว่าเป็นลักษณะเด่นเรียกลักษณะเตี้ย ว่าลักษณะด้อย

จากนั้นเมนเดลก็ปล่อยให้ F2 ผสมตัวเองอีกได้ลูก คือ F3 หลังจากตรวจลักษณะของ F3 แล้ว ได้ผลดังนี้
ลูกของ F2 ที่มีลักษณะด้อย จะได้ลูก F3 เป็นลักษณะด้อยทั้งหมด ตัวอย่าง เช่น F2 เตี้ย ให้ลูก F3 เตี้ยทั้งหมด
ลูกของ F2 ที่ลักษณะเด่นนั้นแบ่งเป็น สองพวก คือ
– 1 ใน 3 จะให้ลูก F3 ที่มีลักษณะเด่นทั้งหมด
– 2 ใน 3 จะให้ลูก F3 ทั้งสองลักษณะเป็นเด่น 3 ส่วนด้อย 1 ส่วน